ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"แมงเม่าติดดอย" บทเรียนเก็งกำไร "หุ้นรถไฟ" เมืองผู้ดี กลางศตวรรษที่ 19

เศรษฐกิจ
18 ก.พ. 68
16:50
193
Logo Thai PBS
"แมงเม่าติดดอย" บทเรียนเก็งกำไร "หุ้นรถไฟ" เมืองผู้ดี กลางศตวรรษที่ 19
อ่านให้ฟัง
11:58อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ร่วงกราวรูด "หุ้นไทย" กำลังอยู่ในช่วงขาลงอย่างหนัก เห็นได้จจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET ปรับลดลงร้อยละ 34.77 ในรอบ 2 ปี (2023-2025) ส่งผลให้กูรู และบรรดาเซียนหุ้น ต่างออก มววิเคราะห์สาเหตุว่าเกิดจากตัวแปรใด แต่สิ่งที่นักลงทุนต่างเฝ้าจับจ้องคือ สงครามการค้ารูปแบบใหม่ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาออกมาตราการกีดกันทางการค้า

ความไม่แน่นอนดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และมีจำนวนไม่น้อย ที่กำลังเช้าสู่ภาวะที่เรียกว่า "ติดดอย" กล่าวคือ การเข้าซื้อหุ้นในราคาหนึ่ง แต่หุ้นร่วงยาว ไม่กลับมาจุดเดิม ทำให้ขาดทุนมหาศาล

ดังนั้นตลาดหุ้นไทยจึงต้องรอลุ้นในระยะยาวว่าจะมีหุ้นตัวใดที่มีการเปลี่ยนแปลงจากขาลงไปเป็นขาขึ้นในช่วงสั้นน ที่เรียกว่า "รีบาวนด์ (Rebound)" หลังจาก SET กำลังปรับตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 3.5 ช่วงก่อนเบรกตลาด จึงมีการคาดการณ์ว่า อาจเป็นโอกาสดีที่จะหันกลับมา "ช้อน" อีกครั้ง เพื่อคาดหวังให้ดัชนี้ปรับขึ้นอีกระลอก และกระโดดจากดอยได้สำเร็จ

ตลาดหุ้นอยู่ได้ด้วย 2 เงื่อนไข คือ "ความเชื่อมั่น (Trust)" และ "การวัดดวง (Speculative)" ในอนาคต เพื่อหวัง "เก็งกำไร" ที่จะตามมาอย่างเป็นกอบเป็นกำ ทั้งนี้ อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน หลายต่อหลายครั้ง บทเรียนของตลาดหุ้น มีมากมายที่ทำให้เห็นว่า เมื่อเข้าสู่ลูปการติดดอย พลันแต่จะ "ขาลง" ต่อไปเรื่อย ๆ เสียจน "สิ้นเนื้อประดาตัว"

ดังกรณีศึกษา "Railway Mania" หรือ "การเห่อเก็งกำไรหุ้นรถไฟ" ที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร ช่วงปี 1830-1850

คมนาคมทางราง "เติบโต" หุ้นรถไฟ "กำไรงาม"

สหราชอาณาจักร ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 กำลังเริ่มต้น "ปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)" โรงงานผลิตสินค้าและบริการผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด อุตสาหกรรมหนักประเภทเหล็กกล้าและโลหะ ทำกำไร สร้างงานสร้างอาชีพ ยกระดับรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP ) สูจุดพีคสูงสุด สถิติของ Our World in Data ระบุว่า ในช่วงนี้ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหราชอาณาจักร เติบโตได้ "ชัน" มากที่สุด

ที่มา: Our World Data

ที่มา: Our World Data

ที่มา: Our World Data

แต่เหนือสิ่งอื่นใด ภาคส่วนที่ทำให้อุตสาหกรรมบริเตนใหญ่เติบโตได้มาก คือ "รถไฟ (Railway)" โดยเริ่มต้นจาก รัฐบาลสร้างเส้นทางเดินรถไฟ "ลิเวอร์พูล - แมนเชสเตอร์ (Liverpool and Manchester Railway: L&R)" ที่ไว้ใช้ขนส่งสินค้าไปมาระหว่างเมืองท่าลิเวอร์พูล มายังเมืองอุตสาหกรรมแมนเชสเตอร์ ทั้งยังใช้เพื่อการขนส่งสาธารณะอีกด้วย

เมื่อรัฐบาลเล็งเห็นว่า กิจการรถไฟกำลังรุ่ง แต่ด้วยความไม่คล่องตัวของระบบราชการ จึงไม่สามารถสร้างเส้นทางได้ตรงใจประชาชน ที่มีอุปสงค์ต่อการใช้งานรถไฟ ทั้งการขนส่งและการขนสินค้า จึงได้ดำเนินนโยบาย "Laissez-faire" หมายถึง ปล่อยให้เอกชนเข้ามาซื้อสัมปทาน (Bill) เพื่อขยายเส้นทางออกไปเรื่อย ๆ ไม่เป็นภาระรัฐบาลในการออกค่าใช้จ่าย

การยื่นซื้อสัมปทานเส้นทางรถไฟ มีมากกว่า 1,263 โปรเจกต์ ในปี 1845 เส้นทางได้ขายไปทั่วเกาะบริเตนใหญ่ ส่งผลให้ "ดัชนีหุ้นของบริษัทรถไฟ" ทะลุ 1,984 จุด ในช่วงส.ค. 1845 ก่อนจะทรงตัวอยู่ประมาณ 2 เดือน ด้วยการพุ่งทะยานของดัชนี ทำให้นักลงทุน ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ ต่างร่วมทุ่มเงินให้ตลาดเก็งกำไรนี้

ที่มา: Wikimedia

ที่มา: Wikimedia

ที่มา: Wikimedia

บทความวิจัย Dispelling the Myth of the Naive Investor during the British Railway Mania, 1845—1846 เขียนโดย Gareth Campbell และ John D. Turner ชี้ว่า บรรดา "ชนชั้นกลาง (Middle Class)" ที่เติบโตขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในสหราชอาณาจักร เป็นผู้ลงทุนในตลาดหุ้นรถไฟมากที่สุด พวกเขาได้รับเงินเป็นกอบเป็นกำ "ครั้งแรกในชีวิต" ส่งผลให้ยกระดับสถานะขึ้นมามีกินมีใช้ และคาดหวังว่า ชีวิตจะดีกว่านี้ได้ด้วยการนำเงินไปลงทุนที่ได้ผลตอบแทนงาม ๆ

ขณะที่ชนชั้นกลาง (ใหม่) ไม่ได้ "คิดให้รอบคอบ" ว่า เส้นทางรถไฟที่เอกชนดำเนินการสร้าง กำไรขึ้นอยู่กับ "จำนวนการใช้บริการ" เป็นหลัก หมายความว่า ระบบขนส่งทางรางที่พวกเขาริเริ่ม ไม่ได้ "ผูกขาด" แบบที่รัฐบาลออกเงินให้สร้าง ไม่มีเงินทุน "อุดหนุน (Subsidised)" จากส่วนอื่น ๆ นอกจาก "ผลประกอบการ" ของบริษัท เท่ากับว่า รถไฟเอกชน "ขาดความยั่งยืน" มาตั้งแต่ต้น

ประกอบกับ ผู้ลงทุนในหุ้นรถไฟ เป็นลักษณะ นอมินี ค่อนข้างมาก หมายความว่า เป็นตัวแทนจากบริษัทกิจการรถไฟเอกชน เข้ามา ปั่นหุ้น ไม่มีตัวตน ตามตัวไม่ได้ ส่งผลให้หุ้นรถไฟมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่ ผู้เล่นในตลาดมีไม่กี่คน 

ผลที่ตามมา คือ "ความหวาดวิตก (Anxiety)" ของบรรดาผู้ถือหุ้นบริษัทรถไฟ ทำให้เกิดการแห่แหนกัน "ออกจากตลาด" แน่นอน ใครออกได้เร็ว ย่อมรอดตัวไป โดยเฉพาะ "วาฬ" หมายถึง ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดที่ลงทุนมหาศาล จะเทขายหุ้น ซึ่งบรรดาวาฬที่กล่าวถึง ไม่ใช่ใครอื่น เป็น "ชนชั้นนำ (Elite)" ของอังกฤษ ที่ได้รับชัยชนะจากกำไร ภายหลังจากเทขายหุ้นอย่างมหาศาล

ที่มา: Collective hallucinations and inefficient markets- The British Railway Mania of the 1840s

ที่มา: Collective hallucinations and inefficient markets- The British Railway Mania of the 1840s

ที่มา: Collective hallucinations and inefficient markets- The British Railway Mania of the 1840s

อ่านข่าว: บทเรียน "นิวตัน" อัจฉริยะดาราศาสตร์ "ติดดอย" แมงเม่าตลาดหุ้น

ส่วนผู้ที่รับเคราะห์ คือ ชนชั้นกลาง ที่เป็น "แมงเม่า" เข้าตลาดไปเพื่อหวังกำไรอย่างฉาบฉวย ที่ออกจากตลาดไม่ทัน และกลายเป็นติดดอยขนานหนัก และยังมีความหวังเล็ก ๆ ว่า หุ้นรถไฟที่ร่วงลงมานั้น จะ "รีบาวน์" ขึ้นมาอยู่ในระดับสูงขึ้น เพราะระบบการขนส่งโดยรถไฟ อย่างไรก็ยังจำเป็นในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม

แต่คาดการณ์ผิดคาด ต้องไม่ลืมว่า การขยายเส้นทางรถไฟ ดำเนินการโดยพลการ ไม่สำรวจตลาดและระดับอุปสงค์ เป็นไปไม่ได้ ในเกาะบริเตนใหญ่ มีนิคมอุตสาหกรรมอยู่เพียงบางแห่ง และมีความเป็นเมือง ที่กำลังซื้อมหาศาลอยู่บางที่ ทำให้หลายเส้นทางเดินรถไฟ "ขาดทุน" อย่างหนัก

เช่น การสร้างเส้นทางไปยัง "มิดแลนด์ (Midland Railway)" นอกเหนือจาก เบอร์มิงแฮม (Birmingham) และ วูล์ฟแฮมป์ตัน (Wolverhampton) ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและถ่านหินขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ฉายา "ดินแดนมืด (Black Country)" เมืองอื่น ๆ เป็นป่ารกชัฏ และชนบททั้งนั้น โดยเฉพาะเมือง "น็อตติงแฮม (Nottingham)" ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องนั้งรถไฟ หรือขนสินค้าผ่านทางรถไฟแต่อย่างใด

ที่มา: Dispelling the Myth of the Naive Investor during the British Railway Mania, 1845–46

ที่มา: Dispelling the Myth of the Naive Investor during the British Railway Mania, 1845–46

ที่มา: Dispelling the Myth of the Naive Investor during the British Railway Mania, 1845–46

อ่านข่าว: "น็อตติงแฮม ฟอเรสต์" จากแฟนบอลส่ายหน้า สู่ "เจ้าป่า" สุดน่ากลัว

ตลาดหุ้น "ผันผวนสูง" เตือนระวัง "หลอนรวมหมู่"

ดังจะเห็นว่า การเก็งกำไรหุ้นรถไฟ ส่งผลกระทบต่อชนชั้นกลางขนานหนัก เนื่องจาก การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ชนชั้นล่าง หลายเป็นมีกินมีใช้ ได้จับเงินถุงเงินถังครั้งแรก ย่อมเกิด "ความโลภ" ที่จะอยากพัฒนา "สถานภาพ" ของตนเองต่อเนื่อง จึงลงทุนในตลาดหุ้นที่คิดว่าจะเติบโตยาวนาน

ถือเป็นความคิดที่ผิดพลาด เพราะกิจการรถไฟ ในฐานะ ขนส่งสาธารณะ เป็นของเอกชนล้วน ๆ หากไม่มีเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเท่ากับขาดความยั่งยืน รวมถึงการปั่นหุ้น ของบริษัทเดินรถไฟเอง ที่ทำให้เกิดความหวาดวิตก ผู้ลงทุนรายใหญ่ชักเงินหนี้ ปล่อยให้ชนชั้นกลางรับภาระติดดอยกันเสียยกใหญ่

อ่านข่าว: "ตลาดหุ้น" ขาดทุน-กำไร "มายาคติ" นักวิเคราะห์หลักทรัพย์

วิทยานิพนธ์ Collective Hallucinations and Inefficient Markets: The British Railway Mania of the 1840s เขียนโดย Andrew Odlyzko เสนอว่า ปรากฏการณ์ Railway Mania นี้ เรียกว่า ชาวสหราชอาณาจักรนั้น "หลอนรวมหมู่ (Collective Delusions)" หมายถึง ผู้ลงทุนมักจะ "ประเมินกำไรสูงกว่าสิ่งที่เป็น" และเมื่อไม่ได้กำไรอย่างที่หวัง มักคิดปลอบใจตนเองว่า "มีขึ้นต้องมีลง มีลงต้องมีขึ้น"

แต่ในความเป็นจริง หุ้นตกเพียงเล็กน้อย ก็พากัน "ฝ่อ" ไปเสียหมด ด้วยอาการฝ่อนี้ ทำให้ออกจากการเก็งกำไร "เร็วเกินควร" ผลลัพธ์ที่ออกมา จึงกลายเป็นแมงเม่าไปทั้งหมด และทำให้ตลาดหุ้นที่กำลังมาดี ๆ เสียหายไปด้วย ซึ่งผลกระทบ ก็ย้อนเข้าสู่ตนเอง เพราะไม่ได้เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่มีเงินทุนมหาศาล

ที่มา: The railway mania of the 1860s and financial innovation

ที่มา: The railway mania of the 1860s and financial innovation

ที่มา: The railway mania of the 1860s and financial innovation

หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์พังพินาศได้ มาจาก การขาดสติปัญญา ของผู้ลงทุนในระดับย่อย อยู่ไม่น้อย ชี้ให้เห็นว่า บางที ความผิดพลาดจากความรู้ที่น้อยนิดของปัจเจก แต่ไม่รู้ศักยภาพตนเอง ก็ทำให้เกิด หายนะ ได้เช่นกัน

ซึ่งการติดดอยที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเงินโลก ไม่เคยให้บทเรียนหรืออุทาหรณ์สอนใจนักลงทุนรายย่อยใด ๆ เลย มึแต่จะทวีความรุนแรงของ "ฟองสบู่" ทาง Market Sector เพิ่มขึ้น เห็นได้จาก การติดดอยในช่วงหลังจากหุ้นรถไฟ ได้แก่ "Radio Boom" ในช่วงปี 1920 "Television Boom" ในช่วงปี 1940 "Transister Boom" ในช่วงปี 1970 หรือ "Dot-com Bubble" ในช่วงปี 2000

ทั้งหมดนี้ ล้วนมีผลมาจาก "ความเห่อ" ของนักลงทุนหน้าใหม่รายย่อยทั้งสิ้น

แหล่งอ้างอิง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง