ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ง่าย รวดเร็ว จองคิวออนไลน์" อัปเดตขั้นตอนทำพาสปอร์ตไทย 2568

ไลฟ์สไตล์
18 ก.พ. 68
08:00
664
Logo Thai PBS
"ง่าย รวดเร็ว จองคิวออนไลน์" อัปเดตขั้นตอนทำพาสปอร์ตไทย 2568
อ่านให้ฟัง
14:12อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การทำพาสปอร์ตยุคนี้สะดวกสบายมากขึ้น แค่เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน นัดหมายวันเวลากับสำนักงานที่ใกล้บ้าน คุณก็สามารถมีพาสปอร์ตเล่มใหม่ไว้สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศได้แล้ว สามารถเลือกทำได้ทั้งแบบปกติหรือเร่งด่วน และรับเล่มได้ด้วยตนเองหรือให้จัดทางไปรษณีย์

หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ โดยออกให้แก่บุคคลสัญชาติไทย กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการออกพาสปอร์ต

โดยปัจจุบันมีการพัฒนาระบบให้สะดวกขึ้น สามารถจองคิวออนไลน์และรับเล่มภายในเวลาไม่กี่วัน ศูนย์ทำพาสปอร์ตตั้งอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ รองรับทั้งผู้ที่ทำพาสปอร์ตครั้งแรกและผู้ที่ต้องการต่ออายุ สำหรับปี 2568 ขั้นตอนการทำพาสปอร์ตได้รับการปรับปรุงให้รวดเร็วขึ้น และมีการเพิ่มจุดให้บริการในห้างสรรพสินค้าเพื่อลดความแออัด ผู้ที่ต้องการพาสปอร์ตสามารถเลือกใช้บริการแบบปกติหรือเร่งด่วน พร้อมมีตัวเลือกให้รับเล่มทางไปรษณีย์หรือรับด้วยตัวเองที่สำนักงาน

การเตรียมเอกสารและทำความเข้าใจขั้นตอนล่วงหน้าจะช่วยให้กระบวนการเป็นไปอย่างราบรื่น มาดูรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน สถานที่ ค่าธรรมเนียม และการทำใหม่ในกรณีที่พาสปอร์ตหาย

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ขั้นตอนการทำหนังสือเดินทางไทย

เตรียมเอกสาร

  • ผู้บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป) : บัตรประชาชน และ หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
  • ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุต่ำกว่า 20 ปี) กดเช็กลิสต์เอกสารที่ต้องนำมาทำหนังสือเดินทาง อายุต่ำกว่า 20 ปี
    • พ่อและแม่พาไป 
      • เอกสารพ่อและแม่ หรือ หนังสือเดินทางพ่อและแม่
      • เอกสารการรับบุตรบุญธรรม
      • เอกสารลูก สูติบัตร, บัตรประชาชน (อายุ 7 ปีขึ้นไป), หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
        ภาพประกอบข่าว

        ภาพประกอบข่าว

        ภาพประกอบข่าว

    • พ่อหรือแม่พามาคนเดียว
      • บัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง ผู้ที่พามา และ
        • พ่อหรือแม่ ไม่ว่างมา : หนังสือยินยอม, สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง ของคนที่ไม่มา
        • พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว (มีอำนาจปกครองบุตรคนเดียว) : ทะเบียนหย่า หรือ คำสั่งศาลถึงที่สุด หรือ หนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร (ป.ค.14) 
        • พ่อหรือแม่เสียชีวิต : ใบมรณบัตรของผู้ที่เสียชีวิต
          ภาพประกอบข่าว

          ภาพประกอบข่าว

          ภาพประกอบข่าว

    • สำหรับผู้มีอายุ 15-19 ปี มาทำหนังสือเดินทางคนเดียว ต้องมีหนังสือยินยอมจากพ่อหรือแม่ 
    • อายุต่ำกว่า 15 ปีและมีญาติพามา
      • เอกสารผู้ยื่น : สูติบัตร, บัตรประชาชน (อายุ 7 ปี ขึ้นไป), ทะเบียนบ้าน, หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
      • เอกสารญาติ : หนังสือยินยอมพ่อและแม่, สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางพ่อและแม่, หนังสือมอบอำนาจจากพ่อและแม่, บัตรประชาชนของญาติ
        และ
      • กรณีติดต่อพ่อได้ฝ่ายเดียว และ พ่อมีอำนาจปกครองบุตรคนเดียว : ทะเบียนหย่า หรือ คำสั่งศาลถึงที่สุด, สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางพ่อ, หนังสือยินยอมพ่อ
      • กรณีติดต่อแม่ได้ฝ่ายเดียว และ แม่มีอำนาจปกครองบุตรคนเดียว : ทะเบียนหย่า หรือ คำสั่งศาลถึงที่สุด, หนังสือปกครองอำนาจปกครองบุตร (ป.ค.14), สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางแม่, หนังสือยินยอมแม่
      • กรณีพ่อหรือแม่เสียชีวิต : ใบมรณบัตรของผู้เสียชีวิต
      • กรณีพ่อและแม่เสียชีวิตหรือติดต่อไม่ได้ : ต้องมี คำสั่งศาลถึงที่สุดให้ญาติมีอำนาจปกครองบุตร
        ภาพประกอบข่าว

        ภาพประกอบข่าว

        ภาพประกอบข่าว

  • พระภิกษุและสามเณร 
    • หนังสือสุทธิ, ใบตราตั้งสมณศักดิ์, ทะเบียนบ้านวัดที่มีชื่ออยู่ในปัจจุบัน, หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี), บัตรประชาชน (ที่ระบุสถานะปัจจุบัน)
    • หนังสือเดินทางราชการ มติมหาเถรสมาคม
    • หนังสือเดินทางบุคคลธรรมดา มติ ศ.ต.ภ. (หนังสือจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) 
    • หมายเหตุ : กรณีสามเณร ต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติและให้ความยินยอมจากเจ้าอาวาส ซึ่งประทับตราของวัด และสำเนาหนังสือสุทธิของเจ้าอาวาส, พระภิกษุสามเณร ทำหนังสือเดินทางได้เฉพาะเล่ม 5 ปี ตามมติมหาเถรสมาคม 
      ภาพประกอบข่าว

      ภาพประกอบข่าว

      ภาพประกอบข่าว

  • หนังสือเดินทางราชการ
    • บัตรประชาชน
    • บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    • หนังสือนำจากต้นสังกัดถึงปลัด กต.
    • สำเนาบันทึกอนุมัติให้เดินทางไปราชการในต่างประเทศ
    • หนังสือเดินทางราชการเล่มเดิม (หากมี)
    • เอกสารอื่น ๆ เช่น สัญญาจ้าง คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำหรับบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ
      ภาพประกอบข่าว

      ภาพประกอบข่าว

      ภาพประกอบข่าว

จองคิวล่วงหน้า

วิธีจองคิวออนไลน์

  1. เข้าเว็บไซต์ https://www.qpassport.in.th/#/landing
  2. กด จองคิว เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเริ่ม
  3. เลือกพื้นที่ที่ต้องการเข้าไปรับบริการ มี ประเทศไทย และ ต่างประเทศ
  4. กรอกข้อมูลสำหรับติดต่อ โดยให้กรอกข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * ให้ครบทุกช่อง หากไม่มีข้อมูล ให้ทำการกรอกเครื่องหมาย - จากนั้นกด "ยืนยันข้อมูล"
  5. เลือกสำนักงานที่ต้องการเข้ารับบริการ
  6. เลือกลักษณะการจองคิว แบบสำหรับตนเอง หรือ แบบกลุ่มซึ่งสามารถจองเพิ่มได้ 3 คนต่อ 1 การจองคิว 
  7. เลือก วัน-เวลา ที่ต้องการเข้าไปใช้บริการ และกด "ยืนยัน" 
  8. เลือกรับวิธีการรับเล่มหนังสือเดินทาง สามารถรับเอง หรือ ส่งไปรษณีย์ EMS และกด "ยืนยัน"
  9. หลังจากขั้นตอนสุดท้ายระบบจะแสดง ข้อมูลการลงทะเบียนขอทำหนังสือเดินทางล่วงหน้า หากต้องการเปลี่ยนแปลงสามารถกด "กลับสู่หน้าหลัก" เพื่อเข้าสู่เมนู "แก้ไขข้อมูลและเปลี่ยนแปลงคิว"
    ที่มา : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

    ที่มา : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

    ที่มา : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการทำหนังสือเดินทาง

  1. เข้าเว็บไซต์ https://www.qpassport.in.th/#/landing
  2. กด "ตรวจสอบสถานะการทำหนังสือเดินทาง" โดยสามารถเข้าใช้งานได้ 2 ช่องทาง
    • ระบุข้อมูลจากใบเสร็จรับเงิน และ สัญลักษณ Captcha เพื่อค้นหาตรวจสอบสถานะการผลิต
    • สามารถตรวจสอบสถานะคิวล่าสุดได้จาก เมนู "สถานะคิวล่าสุด" โดย "เลือกสำนักงาน" ที่เข้ารับบริการ ระบบจะแสดงหมายเลขคิวล่าสุดที่เรียก ที่ฟิลด์ "หมายเลขคิวล่าสุด"

ค่าธรรมเนียมพาสปอร์ต

แบบธรรมดา 

  • 1,000 บาท (เล่ม 5 ปี) และ 1,500 บาท (เล่ม 10 ปี)
  • ทำได้ทุกสำนักงาน
  • สถานที่รับ : กรุงเทพฯ และปริมณฑล จัดส่งไปรษณีย์ 2-3 วันทำการ, ต่างจังหวัด จัดส่งไปรษณีย์ 3-5 วันทำการ มีค่าธรรมเนียมเพิ่ม 40 บาท

ด่วนพิเศษ (รับเล่มในวันเดียวกัน)

  • 3,000 บาท (เล่ม 5 ปี), 3,500 บาท (เล่ม 10 ปี)
  • ทำได้ทุกสำนักงาน (ก่อน 11.00 น.)
  • สถานที่รับ : กรมการกงสุล
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

การรับเล่มหนังสือเดินทางด้วยตนเอง (เฉพาะที่กรมการกงสุล)

  • กรณีมารับเล่มหนังสือเดินทางด้วยตนเอง : ใช้เอกสารใบรับเล่มหนังสือเดินทางฉบับจริง และ บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง
  • กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับเล่มแทน : ใช้เอกสารใบรับเล่มหนังสือเดินทางฉบับจริง ซึ่งระบุการมอบอำนาจ, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจพร้อมลงนามรับรองเอกสาร, บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้รับมอบอำนาจ
  • กรณีจัดส่งหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ : ผู้ขอรับหนังสือเดินทางที่ชำระค่าส่งไปรษณีย์แล้วจะต้องมีผู้อยู่รอรับหนังสือเดินทาง ณ ที่อยู่ตามที่ระบุสำหรับการจัดส่งทางไปรษณีย์ มิฉะนั้น หากไปรษณีย์ตีกลับ ท่านจะต้องติดต่อขอรับด้วยตนเอง ณ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ หรือต้องชำระค่าบริการไปรษณีย์ใหม่เพื่อจัดส่งอีกครั้ง

หมายเหตุ 

- ไม่มีการคืนค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางใด ๆ ซึ่งได้ชำระแล้ว
- ไม่สามารถรับหนังสือเดินทางก่อนกำหนดที่ได้ระบุไว้ในใบรับเล่มได้
- ระยะเวลาการจัดส่งนับจากวันที่ยื่นคำร้อง
- กองหนังสือเดินทางขอสงวนสิทธิ์การทำลายหนังสือเดินทาง หากไม่ติดต่อหรือรับเล่มตามกำหนดภายใน 90 วัน

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

อัปเดตสถานที่ทำหนังสือเดินทาง 2568

กรุงเทพฯและปริมณฑล

  • กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
  • ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา แจ้งวัฒนะ
  • ศรีนครินทร์ ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์
  • สายใต้ใหม่ – ตลิ่งชัน
  • MRT คลองเตย
  • มีนบุรี ศูนย์การค้าบิ๊กซี สาขาสุวินทวงศ์
  • ปทุมวัน ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์
  • ธัญบุรี ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
  • บางใหญ่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เวสต์เกต

ภาคกลาง

  • พิษณุโลก ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก
  • นครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี
  • ประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์การค้าบลูพอร์ต หัวหิน

ภาคตะวันออก

  • สระแก้ว อาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารศูนย์การค้าอินโดจีน อรัญประเทศ
  • จันทบุรี ศูนย์การค้าเซ็นทรัล จันทบุรี
  • พัทยา ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พัทยา

ภาคเหนือ

  • เชียงราย ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย
  • เชียงใหม่ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • อุดรธานี ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานี
  • ขอนแก่น ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ขอนแก่น
  • นครราชสีมา ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา
  • อุบลราชธานี อาคารศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี
  • บุรีรัมย์ โครงการบุรีรัมย์ คาสเซิล
  • หนองคาย ศูนย์การค้า อัศวรรณ ช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์

ภาคใต้

  • สุราษฎร์ธานี ห้างสหไทย การ์เด้นพลาซา
  • นครศรีธรรมราช ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา
  • ภูเก็ต ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา
  • สงขลา โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 5 จว.ชายแดนภาคใต้
  • ยะลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)

ทุกสำนักงานสามารถทำการจองคิวทําหนังสือเดินทางออนไลน์ได้ ยกเว้น สาขา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา แจ้งวัฒนะ เนื่องจากที่นี่รับทำเฉพาะหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น

หนังสือเดินทางหาย ต้องทำอย่างไร ?

  • กรณีสูญหายภายในประเทศไทย แยกเป็น 2 กรณี

1.กรณีหนังสือเดินทางสูญหายและหมดอายุ สามารถทำฉบับใหม่และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหายได้โดยไม่ต้องดำเนินการแจ้งความ

2.กรณีหนังสือเดินทางสูญหายและยังมีอายุการใช้งานเหลืออยู่ หากคุณจำเลขที่หนังสือเดินทางเล่มเดิมที่สูญหายได้ หรือ มีเอกสารที่ได้สำเนาไว้ ให้แจ้งความและระบุเลขที่หนังสือเดินทางเล่มเดิมลงในหลักฐานการแจ้งความ จากนั้นนำใบแจ้งความไปยื่นทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่

  • กรณีสูญหายในต่างประเทศ

แจ้งความกับสถานีตำรวจในพื้นที่ที่หาย จากนั้น ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ เพื่อออกเอกสารการเดินทางไทยฉบับใหม่ ได้แก่ หนังสือสำคัญประจำตัว (C.I.) เพื่อใช้เดินทางกลับประเทศไทย หรือ หนังสือเดินทางชั่วคราว (กรณีต้องเดินทางผ่านประเทศอื่น ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย) 

รู้หรือไม่ : หนังสือเดินทางต้องมีเพียงตราประทับของราชการเท่านั้น การขีดเขียนหรือประทับเครื่องหมายอื่นใดในหนังสือเดินทาง ถือว่า"หนังสือเดินทางชำรุด" อาจถูกปฏิเสธเข้าประเทศต่าง ๆ หรือถูก blacklist ห้ามเข้าประเทศนั้นอีก

ที่มา : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

ที่มา : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

ที่มา : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง