ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ฝุ่น PM 2.5 กทม.วันนี้สีส้มเกือบทุกพื้นที่ หนักสุด "หนองจอก"

สังคม
16 ก.พ. 68
08:10
1,974
Logo Thai PBS
ฝุ่น PM 2.5 กทม.วันนี้สีส้มเกือบทุกพื้นที่ หนักสุด "หนองจอก"
อ่านให้ฟัง
04:15อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ฝุ่น PM 2.5 กทม.เกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่ อยู่ในระดับสีส้ม คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ วัดได้สูงสุดเขต "หนองจอก" 63.4 มคก./ลบ.ม.

วันนี้ (16 ก.พ.2568) เวลา 07.00 น. ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ใน กทม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 42.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยพบว่าหลายพื้นที่ยังมีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

12 อันดับ ของค่าฝุ่น PM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร

1 เขตหนองจอก 63.4 มคก./ลบ.ม.
2 เขตบึงกุ่ม 57.4 มคก./ลบ.ม.
3 เขตบางขุนเทียน 51.5 มคก./ลบ.ม.
4 เขตคลองสามวา 50.7 มคก./ลบ.ม.
5 เขตบางนา 49.1 มคก./ลบ.ม.
6 เขตบางกอกน้อย 49.1 มคก./ลบ.ม.
7 เขตมีนบุรี 49 มคก./ลบ.ม.
8 เขตหนองแขม 49 มคก./ลบ.ม.
9 เขตลาดกระบัง 48.9 มคก./ลบ.ม.
10 เขตสาทร 47 มคก./ลบ.ม.
11 เขตพญาไท 46.7 มคก./ลบ.ม.
12 เขตบางซื่อ 46.2 มคก./ลบ.ม.

กรุงเทพเหนือ 41.1 - 46.2 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม  อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพตะวันออก 36.5 - 63.4 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม  อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพกลาง 36.3 - 46.7 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพใต้ 38.5 - 49.1 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงธนเหนือ 39.6 - 49.1 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงธนใต้ 38.4 - 51.5 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาพรวม  คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 

ค่าเฉลี่ยฝุ่นในสวนสาธารณะกรุงเทพมหานคร

ข้อแนะนำสุขภาพ คุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

อ่านข่าว : หาคำตอบ บินโปรย "น้ำแข็งแห้ง" บรรเทาฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไร

แก่งกระจานอุดมสมบูรณ์! แม่เสือดำพาลูกเสือดาวสำรวจโลกกว้าง

สสส. เผยคู่รักวัยรุ่นไทยทะเลาะบ่อย ยาเสพติด-แอลกอฮอล์ทำรักพัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง