ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิด “กรมธรรม์” ประกันภัย ประชาชนอุ่นใจรับมือ "ภัยพิบัติ"

สังคม
1 เม.ย. 68
17:16
290
Logo Thai PBS
เปิด “กรมธรรม์” ประกันภัย  ประชาชนอุ่นใจรับมือ "ภัยพิบัติ"
อ่านให้ฟัง
09:36อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในประเทศเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มี.ค. สะเทือนมาถึงประเทศไทยในหลายจังหวัด โดยในกรุงเทพมหานครซึ่งมีตึกสูงหลายแห่งได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม บ้านเรือน หรือแม้แต่อาคารสำนักงานต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้บางแห่งรุนแรงถึงขั้นถล่ม เช่นอาคารสตง. คอนโดมิเนียมบางแห่งต้องปิดห้ามผู้พักอาศัยพัก

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวครั้งนี้ นอกจากสร้างแรงสั่นสะเทือนกับอาคารสำนักงานต่างๆแล้ว ยังสร้างความตื่นตระหนกตกใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในตึกสูงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

โดยเฉพาะวงการอสังหาริมทรัพย์ที่ปัจจุบันอยู่ในภาวะมีอสังหาฯล้นตลาดกำลังซื้อหดตัว ได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ จนเกิดคำถามว่า อาคารสูงอย่างคอนโดมิเนียนมีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ มีกรมธรรม์คุ้มครองเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดหรือไม่ จากคำถามเหล่านี้ กระแสการคืนใบจองซื้อที่อยู่อาศัยอาจจะรุนแรงขึ้น

แม้ว่าผู้ประกอบการจะออกมายืนยันว่ายังไม่เกิดเหตุการณ์ผู้บริโภคแห่คืนใบจองหรือยกเลิกการจองก็ตาม แต่ในเชิงจิตวิทยา ผู้บริโภคอาจจะเริ่มไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยที่อยู่อาศัยแนวสูง

นายสมพร นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินทั้งประเทศมีจำนวน 194,389 ฉบับ แบ่งเป็น กรุงเทพฯ และปริมณฑล 95,372 ฉบับ และจังหวัดอื่น ๆ 99,017 ฉบับ มีทุนประกันกว่า 200,000 ล้านบาท

ขณะที่การทำกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ปัจจุบันมีจำนวนทั่วประเทศ 5.37 ล้านฉบับ โดยในกรณีที่อยู่อาศัยที่ทำประกันอัคคีภัย ได้รับความคุ้มครองจากภัยแผ่นดินไหวไม่เกิน 20,000 บาทและหากผู้เอาประกันตกลงค่าสินไหมตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนดได้ จะต้องจ่ายภายใน 15 วัน

กรณีของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งที่พักอยู่อาศัยใน บ้าน และคอนโดมีเนียม ขอให้เร่งถ่ายรูปความเสียหายและรวบรวมที่นิติบุคคล ส่งให้บริษัทประกันภัย หรือแจ้งมาที่บริษัทประกันภัยได้โดยตรง หากประชาชนที่ที่พักเสียหายและเสี่ยงเกิดอันตราย สามารถซ่อมแซมเพื่อความปลอดภัยได้ก่อน โดยไม่ต้องรอการประเมินจากประกัน แต่ต้องมีการบันทึกภาพความเสียหาย ไว้ประกอบการขอชดเชย

นายกสมาคมฯยังอธิบายถึงกรมธรรม์ประเภทต่างๆ ดังนี้ กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นประเภทที่ประชาชนทั่วไปนิยมทำกันมากที่สุด โดยทั่วไปสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดให้กรมธรรม์กลุ่มนี้มีความคุ้มครองมาตรฐานสำหรับภัยพิบัติที่เป็นมหันตภัย ซึ่งรวมถึงภัยจากแผ่นดินไหวด้วย

มาตรฐานความคุ้มครองสำหรับภัยพิบัติในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมีวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติหลายประเภท ได้แก่ ลมพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว และภัยลูกเห็บ โดยทั้งหมดนี้รวมกันในวงเงิน 20,000 บาทต่อปีกรมธรรม์

โดยประชาชนสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะเพิ่มวงเงินความคุ้มครองให้สูงขึ้นตามที่ตกลงกับบริษัทประกันภัย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์และนโยบายของแต่ละบริษัทประกันภัย ซึ่งในประเทศไทยมีกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.4 ล้านฉบับ แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 2.2 ล้านฉบับ และในจังหวัดอื่นๆ ประมาณ 3.1 ล้านฉบับ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความคุ้มครองพื้นฐานสำหรับภัยแผ่นดินไหวอยู่แล้ว

ย้ำกับเจ้าของบ้านทุกท่านว่าไม่ต้องกังวลกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่มีอยู่ให้ความคุ้มครองในเรื่องนี้อยู่แล้ว และบริษัทประกันภัยทุกแห่งมีความพร้อมที่จะดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

ต่อไปเป็น ประกันภัยสำหรับอาคารชุด หรือคอนโดมิเนียม ปกติแล้วนิติบุคคลอาคารชุดจะเป็นผู้ทำประกันภัยความเสี่ยงทรัพย์สิน หรือที่เรียกว่า Industrial All Risk (IAR) ซึ่งจะให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายของตัวอาคารส่วนกลาง เช่น โครงสร้างอาคาร ลิฟต์ บันได ทางเดิน ล็อบบี้ สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ห้องประชุม และทรัพย์สินอื่นที่เป็นของส่วนกลาง

เจ้าของอาคารหรือผู้ประกอบการควรตรวจสอบกรมธรรม์ของตนเองว่าได้มีการขยายความคุ้มครองหรือเพิ่มความคุ้มครองจากมาตรฐานทั่วไปหรือไม่ เพราะกรมธรรม์แต่ละฉบับอาจมีเงื่อนไขแตกต่างกัน

ทั้งนี้กรมธรรม์ประเภทนี้ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 450,000 ฉบับ และในภูมิภาคต่างๆ ประมาณ 661,000 ฉบับ รวมทั้งประเทศประมาณ 1.1 ล้านฉบับ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความคุ้มครองพื้นฐานสำหรับภัยแผ่นดินไหว

ถัดประกันภัยความเสี่ยงทรัพย์สิน (Industrial All Risk)เป็นประกันภัยอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ เช่น ผู้ประกอบการร้านค้าทั่วไป สำนักงาน โรงแรม โรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งกรมธรรม์ประเภทนี้จะคุ้มครองความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างที่เอาประกันภัยจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่ไม่ได้ระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ โดยทั่วไปแล้ว กรมธรรม์ประเภทนี้ไม่ได้ยกเว้นเรื่องภัยแผ่นดินไหว ซึ่งหมายความว่าได้รับความคุ้มครอง

อาจมีการกำหนดวงเงินจำกัดความรับผิด (Sub-limit) สำหรับภัยแผ่นดินไหวไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยควรตรวจสอบเงื่อนไขในกรมธรรม์ของตนเองให้ชัดเจน

ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ความคุ้มครองดังนี้ ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ให้ความคุ้มครองในเรื่องภัยจากแผ่นดินไหว 100% ไม่มีข้อยกเว้น รวมถึงกรณีที่มีอาคารหรือสิ่งก่อสร้างพังทลายมาทับรถยนต์ หรือกรณีที่รถยนต์ได้รับความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2, 3 และ 5 (2+ หรือ 3+)

โดยมาตรฐานอาจไม่ได้รวมความคุ้มครองเรื่องแผ่นดินไหวไว้ แต่ผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทประกันภัย บางบริษัทรวมความคุ้มครองนี้ไว้ในกรมธรรม์เลย ในขณะที่บางบริษัทกำหนดให้เป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ต้องซื้อแยกต่างหาก

อย่างไรก็ตามผู้เอาประกันภัยควรตรวจสอบเงื่อนไขในกรมธรรม์ของตนเองให้ชัดเจน หากรถยนต์ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว เช่น มีกำแพงหรือป้ายโฆษณาล้มทับ หรือมีเศษวัสดุหล่นใส่รถ ก็สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย

ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่ารัฐบาลต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ และมาตรการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างอาคาร ทั้งสำนักงาน โรงงาน อาคารสูง และสิ่งปลูกสร้างในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงมาตรฐานผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ระบบควบคุมอาคารและการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ในทุกจังหวัด

โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ เพื่อเสริมความเชื่อมั่นต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ เร่งรัดมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประกอบการรายย่อย SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ รวมถึงการประสานผู้ประกอบการด้านก่อสร้างและวัสดุ เพื่อซ่อมแซมอาคารและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพ ราคาประหยัด อันจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน

อ่านข่าว:

 "ระบบเตือนภัย" ไม่ทันภัยพิบัติ ใช้ SMS รอ Cell Broadcast

20 ปี เตือนภัยพิบัติ SMS ไม่เวิร์ค เซล บรอดแคสท์ ยังไม่เกิด

“ซิน เคอ หยวน” สตีล บริษัทผลิตเหล็กก่อสร้าง “ทุนจีน-หุ้นไทย”

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง