เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2568 ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนจากห้องทำงานในทำเนียบขาว โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปว่า แม้จะมองว่าสหภาพยุโรปเป็นองค์กรที่ยอดเยี่ยม แต่ก็มีความเข้มงวดและไม่เป็นธรรมในการดำเนินนโยบายการค้ากับสหรัฐฯ โดยยืนยันว่าทางยุโรปไม่ได้ปฏิบัติต่อสหรัฐฯ อย่างเป็นธรรม
ท่าทีนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ทรัมป์ลงนามในแผนการจัดเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้กับทุกประเทศที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ แม้ว่ามาตรการนี้จะยังไม่มีผลบังคับใช้ในทันที แต่คาดว่าจะเริ่มมีผลภายในไม่กี่สัปดาห์
เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า มาตรการของทรัมป์จะกำหนดอัตราภาษีที่สูงกว่าที่ประเทศอื่น ๆ เรียกเก็บจากสหรัฐฯ และยังครอบคลุมอุปสรรคทางการค้าอื่น ๆ เช่น กฎระเบียบที่ซับซ้อน ภาษีมูลค่าเพิ่ม และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าสหรัฐฯ ในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ยืนยันว่าเขาพร้อมลดภาษีหากประเทศคู่ค้าลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เช่นกัน โดยชี้ให้เห็นว่าการไม่เก็บภาษีตอบโต้ก่อนหน้านี้ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง
นักเศรษฐศาสตร์หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า มาตรการภาษีของทรัมป์อาจขยายวงของสงครามการค้าระดับโลก และอาจส่งผลให้เงินเฟ้อในสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น แม้ทรัมป์จะยอมรับว่าอาจทำให้ราคาสินค้าภายในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ก็เชื่อมั่นว่าปัญหานี้จะคลี่คลายในระยะยาว
ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง ทรัมป์ได้ดำเนินมาตรการด้านภาษีหลายครั้ง โดยมุ่งเป้าไปที่ประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ ด้วยเหตุผลว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยแก้ไขการค้าที่ไม่เป็นธรรม และปรับสมดุลทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล และกดดันให้ประเทศต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนนโยบายการค้าที่ส่งผลเสียต่อสหรัฐฯ
การประกาศมาตรการภาษีนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่ทรัมป์จะพบกับ นายกฯ นเรนดรา โมดี ของอินเดีย ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยอินเดียได้เสนอการผ่อนปรนภาษีบางรายการก่อนการพบปะ ซึ่งรวมถึงการลดภาษีนำเข้ารถจักรยานยนต์หรู

นายกฯ อินเดีย - ปธน.สหรัฐฯ
นายกฯ อินเดีย - ปธน.สหรัฐฯ
"ทรัมป์" ยืนยัน "ยูเครน" ส่วนหนึ่งแผนเจรจายุติสงคราม
ทรัมป์ระบุว่ายูเครนจะต้องมีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพเพื่อยุติสงครามที่ดำเนินมานานกว่า 3 ปี พร้อมแสดงความมั่นใจว่า ปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ต้องการสันติภาพเช่นกัน
ท่าทีของทรัมป์มีขึ้นหลังจากเขาประกาศแผนการเจรจาสันติภาพ ซึ่งเกิดขึ้นเพียง 1 วันหลังจากการพูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินและ ปธน.โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน อย่างไรก็ตาม เซเลนสกียืนยันว่ายูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใด ๆ ที่จัดทำขึ้นโดยสหรัฐฯ และรัสเซีย โดยไม่มีส่วนร่วมของยูเครน และแสดงความไม่พอใจที่ทรัมป์ติดต่อปูตินก่อนโทรศัพท์มาหาตน
ในขณะเดียวกัน หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรปเตือนว่าการเจรจาต้องไม่เป็นไปในลักษณะของ "ข้อตกลงสกปรก" หรือข้อตกลงที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ของบางฝ่าย โดยย้ำว่ายุโรปและยูเครนต้องมีบทบาทในกระบวนการนี้ เพราะหากไม่มีส่วนร่วมของทั้ง 2 ฝ่าย ข้อตกลงใด ๆ ก็อาจไม่สามารถปฏิบัติได้จริง
ด้านรัสเซีย โฆษกทำเนียบเครมลิน ดมิทรี เปสคอฟ ให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นว่า ยูเครนจะต้องเข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพ "ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง"

ปธน.สหรัฐฯ - ยูเครน - รัสเซีย
ปธน.สหรัฐฯ - ยูเครน - รัสเซีย
อ่านข่าวอื่น :