วันนี้ (23 ม.ค.2568) สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ยินดีที่ประเทศไทยบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งให้การรับรองอย่างเท่าเทียมต่อการแต่งงานระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน และปูทางไปสู่ความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมที่มากขึ้น ที่ซึ่งทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการแต่งงาน ไม่ว่าจะมีอัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศวิถีใด
- ฝันที่เป็นจริง "พอร์ช-อาม" คู่รักคนดังจูงมือจดทะเบียนสมรส
- คู่รักตำรวจจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ก่อนเข้าประตูวิวาห์
- "มาริษ" เผยต่างชาติชื่นชมไทย ผ่านกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม"
กฎหมายฉบับใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 23 ม.ค.2568 นี้ ทำให้คู่รักทุกคู่ ไม่ว่าจะมีอัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศวิถีแบบใด สามารถเข้าถึงการแต่งงานและการได้รับรองทางกฎหมาย รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในบริบทของการได้รับการดูแลทางการแพทย์ ทรัพย์สิน การรับมรดก การเก็บภาษี และการรับบุตรบุญธรรม นอกเหนือจากข้ออื่น ๆ
คาเทีย ชิริซซี รักษาการแทนผู้แทนสำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQ+)หลังจากการรณรงค์มากกว่าทศวรรษและความพยายามอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยของนักกิจกรรม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และองค์กรภาคประชาสังคม ที่สนับสนุนสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
เพื่อสร้างสรรสังคมที่มีส่วนร่วมและเท่าเทียมยิ่งขึ้นในประเทศไทย ที่ซึ่งทุกคนสามารถแต่งงานกับคนที่เขารัก ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ใด นับเป็นตัวอย่างที่ดีของความเป็นผู้นำในอาเซียนและภูมิภาคโดยรวม
อ่านข่าว : ราชกิจจาฯ ประกาศกฎกระทรวงระเบียบจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม
แม้ว่ากฎหมายฉบับใหม่นี้จะถือเป็นก้าวสำคัญ ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยยังคงเผชิญกับการเลือกปฏิบัติและการตีตราทางสังคมในหลายเรื่อง รวมถึงการจ้างงาน การศึกษา และการบริการสุขภาพ คู่รักเพศเดียวกันยังคงเผชิญอุปสรรค ทั้งในบริบทของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ครองบุตร ด้วยเหตุนี้ การผลักดันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมอย่างแท้จริงในทางปฏิบัติจึงมีความสำคัญอย่างมาก
เราขอให้รัฐบาลไทยบังคับใช้กฎหมายใหม่นี้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลักดันความเท่าเทียมทางเพศและการมีส่วนร่วมยิ่งขึ้นไป ด้วยการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายต่อการเลือกปฏิบัติ รวมถึงการผ่านร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติ และ พ.ร.บ.การรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ
คาเทีย ยังกล่าวว่า ขั้นตอนเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญในการเสริมสร้างสังคมที่ยกย่องความหลากหลาย และคนทุกคนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ปราศจากการเลือกปฏิบัติ
กฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ยังได้ปรับเพิ่มอายุที่สามารถแต่งงานได้อย่างถูกกฎหมายเป็น 18 ปีจากเดิม 17 ปี ซึ่งเป็นไปตามอายุขั้นต่ำสำหรับการสมรสที่ได้ระบุไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นรัฐภาคีตั้งแต่ปี 2535
อ่านข่าว : สิทธิ-เสรีภาพ ของครอบครัวในยุคสมรสเท่าเทียม
ราชกิจจาฯ ประกาศกฎกระทรวงระเบียบจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม
ก้าวสำคัญ "สมรสเท่าเทียม" ก้าวต่อไปความท้าทายแก้กฎหมายเพิ่ม