ความคืบหน้ากรณี โทรศัพท์มือถือ 2 ยี่ห้อ ดังมีแอปพลิเคชันเงินกู้ แฝงอยู่ในเครื่องตั้งแต่โรงงาน และล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) สั่งให้หยุดขายโทรศัพท์มือถือ ที่มีการติดตั้งแอปฯ นี้ทันที แต่กรณีดังกล่าวยังคงมีความกังวลต่อประชาชนที่ใช้โทรศัพท์ 2 ยี่ห้อดังกล่าว ดังนี้
ล่าสุด วันนี้ (14 ม.ค.2568) พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) นายโกเมน พิบูลย์โรจน์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และ นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโส กล่าวในรายการ รายการสถานีประชาชน ทางไทยพีบีเอสออนไลน์ ถึงการป้องกันและดูแลความปลอดภัยจากกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า

พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)
พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)
พล.อ.ต.อมร ชมเชย กล่าวว่า จากการให้ข้อมูลของ 2 บริษัท พบว่า แอปพลิเคชัน "Fineasy" ดังกล่าว ถูกติดตั้งภายในโทรศัพท์มาตั้งแต่ต้น และเมื่อมีการอัพเดตแอปฯ ดังกล่าวก็จะยังคงอยู่
ทั้งนี้ เชื่อว่า กรณีนี้เชื่อว่า เป็นแนวทางการทำตลาดอีกทางหนึ่งเพราะผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือมีฐานลูกค้าอยู่และเชื่อว่า บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์อาจมีความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการแอปฯ Finesy เพื่อทำการตลาด แต่ยังไม่แน่ใจในรายละเอียด กรณีซื้อมือถือและแถมแอปฯดังกล่าวมาด้วย
สิ่งที่ห่วงคือ การถามว่า อนุญาตให้เก็บข้อมูล หากเป็นก่อนหน้านี้ หากอนุญาตจะเป็นเฉพาะการใช้งานมือถือ แต่กรณีนี้เป็นคำถามว่า เมื่อเปิดใช้งานเครื่องจะครอบคลุมแอปฯนี้หรือไม่ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ เมื่อแอปฯอยู่ในเครื่อง จะมีโฆษณาปรากฏมาเพื่อให้เข้าถึง ซึ่งทั้งเป็นเรื่องของความรำคาญ และอีกส่วนคือการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้
อย่างไรก็ตาม โดยปกติแอปฯ ต่าง ๆ หากจะทำงานได้ดีต้องขออนุญาตในการเข้าถึงกล้องหรือไมโครโฟน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่กรณีนี้อาจไม่แน่ใจว่า การให้อนุญาตตั้งแต่ตอนนั้นเพราะอาจจะเป็นการอนุญาตเกินกว่าความจำเป็น
ขณะที่ กรณี แอปฯ Fineasy ยังมี Feature ในการ NFC ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ เช่น การ์ดบัตรเครดิต หรือคีย์การ์ดการเข้าอาคาร ซึ่งจะเป็นการเก็บข้อมูลการ์ดลักษณะนี้โดยใช้โทรศัพท์มือถือแตะแทนการ์ด หรือ ความพยายามในการเข้ากล้องอาจจะทำเพื่อสแกนบัตรเก็บข้อมูลรวมไว้ในที่เดียวกัน
นอกจากนี้ ปกติทุกแอปฯ จะขอเข้าถึงข้อมูลเสมออยู่แล้ว ซึ่งจากกนี้ไปผู้ใช้ควรตรวจสอบแอปฯที่ดาวน์โหลดมาเอง ว่ามีการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวใดบ้าง หรือจะขอเข้าถึงข้อมูลไปเพื่ออะไร ขณะที่กรณี Fineasy เบื้องต้นแนะนำให้ปิดการใช้แอปฯก่อน หรือปรับลดการเข้าถึงข้อมูล และในขณะนี้ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือยี่ห้อนี้หรือรอการอัพเดตให้มีการปิดใช้แอปฯดังกล่าว ส่วนในอนาคตต่อไปจะใช้โทรศัพท์มือถือค่ายนี้ต่อหรือไม่หรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริโภค
แนะ "สคบ. - กสทช." ตรวจสอบเข้มงวด
ขณะที่ นายโกเมน ระบุว่า กรณีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 2 ยี่ห้อดังกล่าว และมีแอปฯกู้เงินดังกล่าวติดตั้งอยู่นั้น จะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1.กลุ่มคนที่เข้าไปกู้เงินผ่านแอปฯ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะถูกเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวเนื่องจากข้อมูลจะถูกเก็บเป็นหลักฐานตามปกติของการทำธุรกิจ
2.ผู้ที่ใช้โทรศัพท์ 2 ยี่ห้อดังกล่าวแต่ไม่ได้เข้าใช้งานแอปฯ ทั้ง 2 กลุ่มถูกเข้าถึงข้อมูลมากแต่ไหน เพราะตัวแอปฯ ถูกติตั้งมาจากโรงงาน และเมื่ออัพเดตก็จะกลับมา ดังนั้นเมื่อติดมากับเครื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การเข้าถึงระบบปฏิบัติการ และการอนุญาตให้เข้าถึงก็สามารถเข้าถึงได้ทุกอย่าง เพราะได้อนุญาตให้เข้าได้ทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทสามารถเห็นได้ทั้งหมดแต่ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้หรือไม่
หากโทรศัพท์เป็นเหมือนโต๊ะ แอปฯนี้ถูกวางไว้บนโต๊ะ เมื่อใช้งานเครื่องเราได้อนุญาตให้สามารถเห็นว่าบนโต๊ะได้วางอะไรไว้ หรือกรณีที่เราไม่ต้องการให้เห็นของบนโต๊ะก็ปิดใช้งานแอปฯ แต่เมื่ออัพเดตก็จะถูกเห็นสิ่งนั้นอยู่ดี ซึ่งการถอนการติดตั้งนั้นสามารถทำได้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่ออัพเดตก็จะกลับมาใหม่ ดังนั้นการจะถอนแอปฯถาวร ต้องถามไปยังบริษัท
นายโกเมน ยังกล่าวว่า กสทช. และ สคบ.ต้องไปดูรายละเอียดในแอปฯ ในกรณีที่นำเข้าโทรศัพท์จากต่างประเทศ ขณะที่ กรณีของไทย ซึ่งโอปอเรเตอร์บางรายที่จำหน่ายโทรศัพท์นั้น กรณีที่มีแอปฯพ่วงจะต้องไปขออนุญาต กสทช.หรือกรณีแอปฯเกี่ยวกับการเงินต้องขออนญาต ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงยังต้องระวังการสั่งซื้อโทรศัพท์จากต่างประเทศ ซึ่งจมีช่องว่างในการตรจสอบ และอาจทำให้มีแอปฯเถื่อนแฝงมาด้วย
แอปฯกู้เงิน ไม่ขออนุญาต ธปท.ผิดกฎหมาย
ด้านนายปรเมศวร์ ระบุว่า กรณีแอปฯกู้เงินนี้ ซึ่งเป็นการติดตั้งมาในเครื่องโทรศัพท์ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจกู้เงินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ขณะที่กรณีการกู้เงินและได้ไม่ครบตามจำนวนถือว่าไม่ถูกต้องแต่แรก เช่น มีผู้กู้เงินผ่านแอปฯจำนวน 5,000 บ.แต่ได้เงินเพียง 2,500 บ.ถือว่าสัญญากู้เป็นโมฆะ ดังนั้น ผู้กู้จะต้องจ่ายเงินคืนเพียง 2500 บ.เท่านั้น และหากมีการประจานผู้กู้ ก็สามารถแจ้งความกับตำรวจได้เพราะถือว่าเป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.ทวงถามหนี้สิน พ.ศ.2558
เรื่องนี้ต้องกลับไปที่ สคบ.ว่าโทรศัพท์ที่เข้ามาในไทยว่า โทรศัพท์เครื่องใดที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ เพราะ ผู้ซื้อย่อมไม่ทราบ และมองว่า ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและผู้พัฒนาแอปฯ นั้น สมรู้ร่วมคิดกันหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณากันต่อไป แต่เบื้องต้นคือ ต้องระงับหรือลบแอปฯเหล่านี้ให้ได้ก่อน
อ่านข่าว : เปิดแนวทางเอาผิด OPPO-Realme ติดตั้งแอปฯ กู้เงิน
"ประเสริฐ" เตรียมเรียก "OPPO-Realme" ชี้แจงเพิ่ม ปมฝังแอปฯเงินกู้
OPPO ระงับใช้แอปพลิเคชัน Fineasy สคบ.เรียก 2 บ.มือถือแจง