ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดแนวทางเอาผิด OPPO-Realme ติดตั้งแอปฯ กู้เงิน

สังคม
14 ม.ค. 68
13:27
1,648
Logo Thai PBS
เปิดแนวทางเอาผิด OPPO-Realme ติดตั้งแอปฯ กู้เงิน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย PDPA ค่ายมือถือ OPPO และ Realme ติดตั้งแอปพลิเคชันกู้เงิน มี 4 กลุ่มต้องรับผิดกฎหมายPDPA - พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ชี้บริษัทสินเชื่อโทษหนักปรับ 1-3 ล้านบาทต่อหนึ่งข้อมูล

วันนี้ (14 ม.ค.2568) นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เปิดเผยถึงแนวทางการเอาผิดกับ 2 ค่ายมือถือ OPPO และ Realme และเจ้าของแอปพลิเคชันกู้เงินที่ไม่ได้ขออนุญาต โดยในกรณีที่เกิดขึ้น สามารถแยกการกระทำความผิดได้ 4 ส่วน

1 มีการนำเข้ามือถือ หรือขายมือถือ และมือถือมีการฝังตัวซอฟต์แวร์ที่ใช้ดึงข้อมูล ซึ่งบุลคลแรกที่เกี่ยวข้อง คือคนที่ขายมือถือทราบหรือไม่ว่ามีแอปพลิเคชันดังกล่าว
2.ผู้ที่คิดแอปพลิเคชันที่ใช้ดูดข้อมูลของประชาชน โดยที่ไม่ได้มีการขออนุญาต
3.บุคคลที่นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ในการทำสินเชื่อ ได้สิทธิทางกฎหมายอย่างไรบ้าง
4.โอเปอร์เรเตอร์มือถือที่ให้บริการมีส่วนแบ่งจากแอปพลิเคชันในการกู้สินเชื่อหรือไม่

อ่านข่าว : "ประเสริฐ" เตรียมเรียก "OPPO-Realme" ชี้แจงเพิ่ม ปมฝังแอปฯเงินกู้

ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ติดตั้งแอปฯมีความผิด PDPA-พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

เนื่องจากตัวเครื่องมือถือ เสมือนกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ถ้านำซอฟต์แวร์ใส่ไว้ ต้องมีการแจ้งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถ้าไม่ได้แจ้งเป็นเงื่อนไขไว้ จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ข้อมูลทางเทคนิคเมื่อกดแอปพลิเคชันจะดึงข้อมูลอะไรบ้าง ถ้าโดยหลักการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ดูดข้อมูลจะผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโทษทางอาญา ทั้งนี้ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะมีหลักการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการซื้อขายสินค้า ซึ่งมีโทษปรับค่อนข้างสูง

ซึ่งหลังจากนี้ สคส.จะเรียกบริษัทจำหน่ายโทรศัพท์มือถือเข้าชี้แจง ว่ามีการดำเนินการอย่างไร ถ้าซอฟต์แวร์เป็นลักษณะมัลแวร์ที่ดูดข้อมูลเองโดยที่เจ้าของไม่ทราบ ก็จะมีความผิดเพิ่มเติมอีก ซึ่งหากมีข้อมูลอ่อนไหวจะมีโทษทางอาญาด้วย

สำหรับข้อมูลที่เก็บไป เป็นข้อมูลพื้นฐาน เป็น ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ แต่รายละเอียดว่าจะเก็บขนาดไหนนั้นซึ่งปกติในทางเทคนิคการดูดข้อมูล สิ่งที่ต้องการนั้นเรียกว่าข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อ ทั้งนี้สามารถเช็กได้ว่าดึงข้อมูลอะไรบ้าง

นายไพบูลย์ ยังระบุว่าสิ่งที่น่ากลัวมากในปัจจุบันคือโซเชียลมีเดียว ซึ่งบางครั้งอาจจะดาวน์โหลดสติกเกอร์ฟรี บางครั้งได้มีการเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปให้ผู้ประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต

ข้อมูลดังกล่าวส่วนใหญ่อ้างว่ามีการเก็บในต่างประเทศ แต่ตาม พ.รบ.คอมพิวเตอร์ ต้องเก็บไว้ในประเทศไทย ซึ่งถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 500,000 บาท ถ้าไม่มีอาจจะต้องเรียกต่างประเทศมาชี้แจง และสามารถเอาผิดในต่างประเทศได้ เนื่องจากมีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย

บริษัทสินเชื่อมีโทษหนัก

ขณะที่มีคนใช้โทรศัพท์มือถือดังกล่าว และกดแอปพลิเคชันไปขอสินเชื่อ ที่มีดอกเบี้ยแพง นายไพบูลย์ระบุว่าต้องดูว่าบริษัทที่ติดตั้งรับทราบหรือไม่ บริษัทที่เก็บรวบรวมเบอร์โทรศัพท์มาต้องมีสิทธิตามกฎหมาย แต่บริษัทสินเชื่อปลายทางได้รับสิทธิมาอย่างไร ถ้าไม่มีมาตรการต้องมีโทษปรับ ขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูล 1-3 ล้านบาทต่อหนึ่งข้อมูล

ทั้งนี้หลายคนมีความกังวลโทรศัพท์มือถือยี่ห้ออื่นๆ มีแอปพลิเคชันเหล่านี้แฝงหรือไม่ หรือคนที่ใช้งานเองมีวิธีป้องกันนั้น ซึ่งมี 2 หน่วยงาน คือ สคส.มีหลักเกณฑ์ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ถ้ากรณีมีแอปพลิเคชันที่แฝงหรือเก็บไว้ในมือถือ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเศรษฐกิจเทคโนโลยีเข้าไปสอบสวนได้

นายไพบูลย์ยังกล่าวถึงการถอนแอปพลิเคชันนั้นทางผู้ประกอบการต้องรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งถ้าข้อเท็จจริงสอบสวนแล้วว่ามีความผิดจริง จะคูณจำนวนวันที่จะละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด

ตราบใดที่มีแอปพลิเคชันการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลก็ยังมีอยู่ 

ติดแอปกู้เงิน เป็นความจงใจหรือไม่?

ทั้งนี้ผู้แทนจำหน่าย OPPO และ realme เข้าชี้แจงต่อ กสทช. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลบุคคล และ สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเมื่อวานนั้น (13 ม.ค.2568) โดยคำตอบของผู้แทนจำหน่ายโทรศัพท์ ยังถูกมองต่อได้ว่า การเปิดให้ผู้ประกอบการธุรกิจปล่อยเงินกู้ ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลไปจนถึงขั้นดำเนินการทวงถามหนี้อย่างไม่เป็นธรรม ต้องได้รับการพิสูจน์ว่าข้อมูลถูกส่งต่อไปใช้ประโยชน์ทางใดบ้าง ถูกขาย ส่งต่อ หรือเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอื่นอีกหรือไม่ ทั้งที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ขณะเดียวกันการเปิดช่องทางให้มีแอปพลิเคชัน กู้เงินแอบแฝงมาต่อเนื่อง เป็นความจงใจทำผิดของผู้ผลิตและจำหน่ายสมาร์ทโฟนใช่หรือไม่

นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ชี้ว่าผู้เสียหายสามารถยื่นเรื่องให้สภาองค์กรของผู้บริโภคช่วยดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายได้ ทั้งการแจ้งผ่านสายด่วน 1502 และข้อร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ เพราะมีข้อมูลจากลูกหนี้ ที่ระบุว่า บริษัทกู้เงิน เรียกดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด หากพบว่าจ่ายเกินเงินต้นไปแล้วย่อมถือว่าเลิกแล้วต่อกัน เช่น ขอกู้ 10,000 บาท ได้รับเงินมา 6,000 บาท หักไว้ 4,000 บาทเป็นดอกเบี้ย หากผู้กู้จ่ายเกิน 6,000 บาทไปแล้ว ถือว่าจ่ายต้นครบแล้ว ก็จบกันได้ ไม่ต้องชำระเพิ่มอีก

บางแอปพลิเคชัน ทำตัวเป็นประตูเปิดไปสู่การกู้เงินอีกหลายบริษัทจนพัวพันเป็นหนี้ก่อนใหญ่ ส่วนผู้ที่ถูกเรียกเงินสูงเกินไป ก็มีโอกาสเอาผิดแอปพลิเคชัน เถื่อน แต่สิ่งสำคัญคือต้องหาให้ได้ก่อนว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ใครเป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริง จึงจะดำเนินการทางกฎหมายได้

หรือเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอื่นอีกหรือไม่ ทั้งที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ขณะเดียวกันการเปิดช่องทางให้มีแอปพลิเคชัน กู้เงินแอบแฝงมาต่อเนื่อง เป็นความจงใจทำผิดของผู้ผลิตและจำหน่ายสมาร์ทโฟนใช่หรือไม่

กรณีนี้จะเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับทุกฝ่าย ทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน และหน่วยงานกำกับดูแล ผู้บริโภคควรตระหนักถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัว และตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลของแอปพลิเคชันต่างๆ อย่างละเอียด ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนควรมีความรับผิดชอบในการติดตั้งแอปพลิเคชัน และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ส่วนหน่วยงานกำกับดูแลควรพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม

อ่านข่าว :

OPPO ระงับใช้แอปพลิเคชัน Fineasy สคบ.เรียก 2 บ.มือถือแจง

กสทช.ขีดเส้น OPPO-Realme ลบแอปฯ กู้เงิน 16 ม.ค.นี้

"OPPO - RealMe" ยอมรับติดตั้งแอปฯ เงินกู้จากโรงงาน-ไม่ได้ขอ ธปท.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง