กรณีเครื่องบิน Jeju Air ออกบินจากสุวรรณภูมิ-มูอัน ประเทศเกาหลีใต้ ไถลรันเวย์เสียชีวิตเบื้องต้น 62 คนยังไม่ทราบสัญชาติจากผู้โดยสาร และลูกเรือ 181 คน
- ด่วน! เครื่องบิน Jeju Air ไถลรันเวย์ตายเบื้องต้น 28 คน
- กต.ยืนยันมี 2 คนไทย บนเครื่องบิน Jeju Air ยังไม่ทราบชะตากรรม
นายสนอง มิ่งเจริญ กัปตันและอดีตนายกสมาคมนักบินไทย ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสว่า เหตุการณ์ เครื่องบิน Jeju Air ไถลรันเวย์ที่เกิดขึ้น อาจยังต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมจากเกาหลีใต้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แต่โดยปกติเครื่องบินรุ่นนี้ จะมีระบบสำรองที่นักบินสามารถกางล้อได้ด้วยตัวเอง กรณีที่ไฮดรอลิกไม่ทำงาน
เบื้องต้นสิ่งที่สามารถยืนยันได้คือ “แทบจะไม่มีโอกาส” ที่นักบินจะลงจอดโดยไม่ทราบว่าล้อไม่กาง เพราะเมื่อเครื่องบินลดระดับลงมาที่ความสูงแล้ว จะมีระบบแจ้งเตือนว่ายังไม่ได้กางล้อ หรือหากระบบไม่เตือน ก็ยังมีการเช็กลิสต์ที่นักบินจะต้องตรวจสอบก่อนลงจอด จึงอาจเป็นไปได้ว่าอาจขัดข้องทั้งระบบไฮดรอลิก และกางฐานล้อด้วยตัวนักบินเองไม่ได้
อ่านข่าว นักท่องเที่ยวทะลัก "ภูเรือ-ผามออีแดง" ชมทะเลหมอกรถติดทางขึ้น
อัปเดตเครื่องบิน Jeju Air ไถลออกรันเวย์ เสียชีวิตแล้ว 75 รอด 2 คน
ส่วนการลงจอดในกรณีฉุกเฉินโดยไม่มีฐานล้อ ก็มีขั้นตอนปฏิบัติที่ชัดเจน เช่นนักบินต้องประสานกับสนามบินที่จะลงจอดถึงสถานการณ์ หากมีเวลาจะทำการบินผ่านสนามบินในระดับต่ำเพื่อให้หอบังคับการบินยืนยันว่าฐานล้อไม่ได้กางออกจริง
ต้องทำให้เครื่องบินมีน้ำหนักเบาที่สุด เช่น บินวน เพื่อลดปริมาณน้ำมันบนเครื่อง เนื่องจากการลงจอดโดยไม่มีล้อ จะส่งผลต่อระบบเบรกและระยะในการหยุดเครื่อง
นอกจากนี้ยังต้องเลือกทางวิ่งที่ยาวที่สุด รวมทั้งประเมินทิศทางลมที่เหมาะสม รวมทั้งจะมีการแจ้งเตือนลูกเรือ และผู้โดยสาร เพื่อให้อยู่ในท่านั่งที่เหมาะสม เตรียมรับแรงกระแทก ในกรณีการลงจอดฉุกเฉิน
ถ้าเป็นเครื่องรุ่นใหม่ ๆ แบบรุ่นนี้ เวลาบินเข้าหาสนามบิน และลดมาที่ความสูงระดับหนึ่ง ถ้าไม่กางฐานล้อ เครื่องจะเตือนนักบิน
ในกรณีนี้ค่อนข้างมั่นใจว่าจะมีการเตือนนักบิน ถ้าหากลืมจริง ๆ แต่โดยปกติถ้าได้รับการฝึกในการปฏิบัติการบิน นักบินแทบจะไม่มีโอกาสลืมกางฐานล้อ
เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบอุบัติเหตุเครื่องบินไถลนอกรันเวย์ที่เกาหลีใต้
Belly Landing เมื่อเครื่องบินต้องลงจอดไม่ใช้ล้อ
หากวิเคราะห์เหตุการณ์ดังกล่าว มีความเป็นไปได้ว่า เมื่อเครื่องบินไม่สามารถกางชุดล้อได้ การลงจอดแบบ Belly Landing หรือการลงจอดด้วยท้องเครื่องบินจึงเป็นทางที่ต้องเลือกในกรณีฉุกเฉิน การลงจอดแบบนี้มักเกิดจากความผิดพลาดของระบบหรือความผิดพลาดของนักบิน และเป็นเหตุการณ์ที่ต้องการทักษะเฉพาะทาง
Belly Landing คือการลงจอดของเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้ชุดล้อ (landing gear) ในการแตะพื้น แต่ใช้ส่วนท้องของเครื่องบิน (ส่วนใต้เครื่อง) เป็นพื้นที่รองรับการลงจอดแทน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินไม่สามารถกางชุดล้อได้ เพราะอาจเกิดจากระบบทางกลไกเสียหาย หรือกรณีที่นักบินลืมกางล้อก่อนลงจอด
การลงจอดแบบนี้ มักเกิดจากเหตุการณ์ที่ชุดล้อไม่สามารถยืดออกได้ เช่น ปัญหาของระบบไฮดรอลิกที่ใช้ในการเปิดล้อ หรือบางครั้งอาจเกิดจากความผิดพลาดของนักบินที่ลืมกางล้อขณะเตรียมลงจอด
1 ใน 2 ผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบิน Jeju Air ไถลออกรันเวย์
ความเสี่ยงของ Belly Landing
การลงจอดแบบ Belly Landing มีความเสี่ยงสูง เพราะท้องเครื่องบินต้องรับแรงกระแทกจากการแตะพื้น แทนที่ล้อที่ช่วยลดแรงกระแทก เมื่อเครื่องบินลงจอดด้วยความเร็ว หรือแรงกระแทกที่สูงเกินไป เครื่องบินอาจเสียหาย หรือเกิดไฟไหม้ได้ นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่เครื่องบินอาจพลิกคว่ำหรือแตกหักหากลงจอดไม่ตรงหรือในที่ที่ไม่เหมาะสม
แม้ว่า Belly Landing จะเป็นเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง แต่หากนักบินสามารถควบคุมเครื่องบินได้ดีและลงจอดด้วยความระมัดระวัง ความเสียหายจะสามารถลดลงได้ เครื่องบินบางรุ่นยังมีระบบเตือนภัยที่ช่วยแจ้งให้นักบินทราบเมื่อชุดล้อไม่ได้กางออก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์นี้
อ่านข่าว
นักท่องเที่ยวทะลัก "ภูเรือ-ผามออีแดง" ชมทะเลหมอกรถติดทางขึ้น