ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แรงงานไทย “หนี้” เต็มกระเป๋า 98.8% ชี้ "ค่าจ้างขั้นต่ำ" ไม่สอดคล้องยุคของแพง

เศรษฐกิจ
29 เม.ย. 68
15:24
167
Logo Thai PBS
 แรงงานไทย “หนี้” เต็มกระเป๋า 98.8% ชี้ "ค่าจ้างขั้นต่ำ" ไม่สอดคล้องยุคของแพง
อ่านให้ฟัง
07:03อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจ สถานภาพแรงงานไทย 98.8% มีหนี้สินมากกว่ารายได้ แรงงานร้องค่าจ้างไม่เหมาะสมยุคของแพง-หนี้ท่วม หันซบกู้นอกระบบพุ่ง 15.7% วันหยุดแรงงานคาดมีเงินสะพัด 2,117 ล้านบาท สูงสุดในรอบนับตั้งแต่เกิดโควิด-19

วันนี้ (29 เม.ย.2568) นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ในด้านสถานภาพแรงงานไทย ผลสำรวจจากผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท จำนวน 1,259 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 19-25 เม.ย. 2567 แบ่งเป็น อยู่นอกระบบประกันสังคม 57.4% อยู่ในระบบประกันสังคม 42.6% คิดเป็น 33.8% มีการเก็บออม 7.5% ของรายได้ ประมาณ 500-2,000 บาทต่อเดือน มีมูลค่าหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 344,522.22 บาท ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่อยู่ประมาณ 272,528.15 บาท เพิ่มขึ้น 26.4%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

โดยแรงงานปัจจุบันมองว่าค่าจ้างขั้นต่ำมีความเหมาะสมปานกลาง 38.2% เหมาะสมน้อยถึงน้อยมาก 40% สาเหตุเพราะของแพง 23.2% รายได้น้อย 20.6% มีภาระหนี้สูง 18.1% ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น 15.5%

ในกรณีที่ไม่สามารถเพิ่มรายได้อย่างที่ต้องการก็อยากให้เพิ่มรายได้เท่ากับค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น 65.3% เพิ่มเท่ากับค่าเดินทางที่สูงขึ้น 38.9% เพิ่มเท่ากับราคาอาหารที่สูงขึ้น 42.3% โดยผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จะส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 60.8% รับไม่ได้หากเป็นเช่นนั้น มีเพียง 39.2% เท่านั้นที่รับได้

โดยอยากให้ช่วยเหลือเรื่องช่วยเหลือค่าครองชีพกลุ่มเปราะบาง กระตุ้นเศรษฐกิจแรงงานจะได้มีรายได้เพิ่ม ให้นายจ้างช่วยค่าอาหาร ช่วยเหลือให้เงินอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค มีสวัสดิการค่าเดินทางให้กับแรงงานรายได้น้อย

สำหรับ สถานภาพหนี้ของแรงงาน พบว่า 98.8% มีหนี้ และเพียง 1.2%เท่านั้นที่เป็นกลุ่มที่ไม่มีหนี้ ซึ่ง วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ แบ่งเป็น 17.5% เป็นหนี้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจากระดับ 14.5% เทียบกับปี 2566 ,ใช้หนี้เงินกู้ 11% เพิ่มขึ้นจาก 10.7% ,หนี้ที่อยู่อาศัย 10.9% เพิ่มขึ้นจาก 9.2% ,หมุนเวียนในธุรกิจ 10.6% เพิ่มขึ้นจาก 8.6%

แต่อย่างไรก็ตามหาก พิจารณาเฉพาะหนี้ส่วนบุคคลหรือหนี้บัตรเครดิต พบว่าส่วนใหญ่ใช้จ่ายในเรื่องการอุปโภคและบริโภค ที่อยู่อาศัย และการใช้หนี้เดิม ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา 45.7% เคยประสบปัญหาผิดนัดการผ่อนชำระหนี้ ไม่เคย 54.3% สาเหตุเพราะรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย 34.5% คนในครอบครัวตกงาน/เกษียณอายุ 10.5% มีเหตุฉุกเฉินทำให้เงินขาดมือ 0.7%

สำหรับสาเหตุของรายได้ไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายเป็นเพราะราคาสินค้าแพงขึ้น 29.9% ภาระหนี้มากขึ้น 26.5% รายได้ไม่เพิ่มแต่ราคาของเพิ่ม 22.3% ดอกเบี้ยสูงขึ้น 13.3% โดยการแก้ปัญหารายได้ไม่พอจ่ายจะเลือกกู้ยืมเงินในระบบ 30.9% หาอาชีพเสริม 17% ขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง 16.6% กู้ยืมเงินนอกระบบ 15.7% ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงขึ้นกว่าปี 2566 ที่อยู่ประมาณ 9.7% ด้วย

สำหรับในวันหยุดแรงงานนี้คาดว่าจะทำให้มีเงินสะพัดประมาณ 2,117 ล้านบาท ขยายตัว 2.4% เทียบกับปี 2566 ที่อยู่ประมาณ 2,067 ล้านบาท ถือเป็นการใช้จ่ายสูงสุดในรอบนับตั้งแต่เกิดโควิด-19 หรือช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยแบ่งการทำกิจกรรม ได้แก่ ไปซื้อของ 46.4% น้อยกว่าปี 2566 ที่อยู่ 49.2% พักผ่อนอยู่บ้าน 40.2% มากขึ้นจาก 25.9% ทานอาหารนอกบ้าน 27.3% ลดลงจาก 29% ท่องเที่ยว 13.9% ลดลงจาก 34.2% สังสรรค์ 13% ลดลงจาก 25% โดยพบว่ามูลค่าการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดแรงงานใกล้เคียงเดิม เฉลี่ยที่ 2,655 บาทต่อคน

อ่านข่าว:

 เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว สวนทางสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ คลี่คลาย

 รู้ไว้เงินไม่หาย! ลูกจ้างทำงาน "วันแรงงาน" โอทีสูงสุด 3 เท่า

โอกาสทอง “แรงงาน”ไทย TPQI จัดแนะแนวอาชีพรองรับตลาดแรงงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง