ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สงครามกลางเมืองเมียนมา การต่อสู้เพื่อ "อำนาจ" ที่ไม่เคยสงบ

ต่างประเทศ
12 ธ.ค. 67
14:52
123
Logo Thai PBS
สงครามกลางเมืองเมียนมา การต่อสู้เพื่อ "อำนาจ" ที่ไม่เคยสงบ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"เมียนมา" ดินแดนแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ที่ถูกฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ ด้วยสงครามกลางเมือง การรัฐประหารในปี 2564 จุดชนวนให้ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลทหารและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปะทุอยู่แล้วลุกโชนขึ้นอีก ส่งผลให้ ปชช.เผชิญกับความสูญเสียอย่างหนัก

รากเหง้าความขัดแย้ง

ประวัติศาสตร์ของรัฐบาลทหารเมียนมาสามารถย้อนกลับไปได้ถึงปี ค.ศ. 1962 เมื่อ พล.อ.เนวิน ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน และเริ่มต้นการปกครองโดยทหารที่ยืดเยื้อ ประเทศถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน การปราบปรามผู้เห็นต่าง และการควบคุมเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด

แม้ในช่วงต้นปี 2010 รัฐบาลทหารจะเปิดทางให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยบางส่วน แต่การยึดอำนาจครั้งล่าสุดในปี 2021 ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงทางการเมืองและการกลับสู่ยุคเผด็จการอีกครั้ง

กลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมามีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองและสังคมของประเทศ เมียนมาเป็นประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยมากกว่า 135 กลุ่ม โดยกลุ่มใหญ่ ๆ เช่น ชาวกะเหรี่ยง ชาวยะไข่ ชาวฉาน และชาวมอญ ต่างมีวัฒนธรรมและภาษาเป็นเอกลักษณ์ ความไม่เท่าเทียมและการกีดกันชนกลุ่มน้อยในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อในเมียนมา หลายกลุ่มได้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธเพื่อต่อสู้กับรัฐบาล โดยมีเป้าหมายเพื่อความเป็นอิสระหรือการปกครองตนเอง

ในบริบทของการเรียกร้องประชาธิปไตย การรวมตัวของกลุ่มชาติพันธุ์และประชาชนทั่วไปในการต่อสู้กับรัฐบาลทหารเป็นภาพที่เห็นได้ชัดในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2021 การลุกฮือของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรมถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรงจากรัฐบาลทหาร การใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงและการจับกุมผู้นำทางการเมือง เช่น นางอองซานซูจี สร้างความตกตะลึงและความโกรธแค้นในระดับนานาชาติ

ย้อนรอยรัฐประหาร สงครามกลางเมียนมา

รัฐบาลทหารและกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมา ถือเป็นประเด็นที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ประวัติศาสตร์การทำรัฐประหารของกองทัพนายพลเนวิน เมื่อปี 1962 ทำให้เมียนมาถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ จนในปี 1988 เกิดการลุกฮือครั้งใหญ่ของประชาชนที่เรียกว่าการปฏิวัติ 8888 (8 ส.ค.1988) ประชาชนออกมาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยรัฐบาลทหาร ส่งผลให้ พล.อ.ซอหม่อง เข้ามาปกครองประเทศ

จากนั้นในปี 1990 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษถูกจัดขึ้น และพรรค NLD (พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย) ของนางอองซานซูจีชนะอย่างถล่มทลาย แต่ผลการเลือกตั้งไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลทหาร

ต้นปี 2010 รัฐบาลทหารเริ่มดำเนินการเปลี่ยนผ่านบางส่วน มีการจัดตั้งรัฐธรรมนูญใหม่และจัดการเลือกตั้งในปี 2015 ซึ่งพรรค NLD ก็ชนะอีกครั้ง นางอองซานซูจีขึ้นมามีบทบาทสำคัญในรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 1 ก.พ.2021 กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารอีกครั้ง โดยอ้างว่าการเลือกตั้งในปี 2020 มีการทุจริต และจับกุมผู้นำทางการเมืองรวมถึงนางอองซานซูจี ส่งผลให้ประเทศกลับสู่การปกครองโดยทหารอีกครั้ง

ความเหลื่อมล้ำของรัฐบาลทหาร-กลุ่มชาติพันธุ์

ความขัดแย้งกับชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในเมียนมา เป็นปัญหาอีกประเด็นที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เมียนมามีชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 135 กลุ่ม เช่น ชาวกะเหรี่ยง ชาวยะไข่ ชาวฉาน และชาวมอญ ที่มีความไม่พอใจต่อการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมจากรัฐบาลกลาง โดยเฉพาะในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม หลายกลุ่มได้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลทหาร โดยมีเป้าหมายเพื่อความเป็นอิสระหรือการปกครองตนเอง

ตัวอย่างที่เด่นชัดของความขัดแย้งคือการสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกองกำลังกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต่อสู้มาอย่างยาวนานอีกกลุ่มหนึ่งในโลก ปมขัดแย้งมาจากการเรียกร้องสิทธิทางชาติพันธุ์และอัตลักษณ์ รวมถึงความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐาน เช่น การศึกษาและสาธารณสุข

อีกกรณีหนึ่งคือวิกฤตโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ซึ่งเริ่มรุนแรงขึ้นในปี 2017 เมื่อชาวโรฮิงญาหลายแสนคนต้องลี้ภัยไปยังบังกลาเทศ ทำให้รัฐบาลเมียนมาถูกกล่าวหาว่ากระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และถูกกดดันจากนานาชาติอย่างหนัก

ชาติพันธุ์-ประชาชน เรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา

ในบริบทของการเรียกร้องประชาธิปไตย การรวมตัวของกลุ่มชาติพันธุ์และประชาชนเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลทหาร เราจะเห็นภาพชัด ๆ คือช่วงหลังการรัฐประหารปี 2021 การลุกฮือของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรมถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรงจากรัฐบาลทหาร การใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงและการจับกุมผู้นำทางการเมือง เช่น นางอองซานซูจี สร้างความตกตะลึงและความโกรธแค้นในระดับนานาชาติ

ความพยายามในการสร้างสันติภาพในเมียนมามีมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 2010 เมื่อรัฐบาลเริ่มเจรจากับกลุ่มชาติพันธุ์และลงนามในข้อตกลงหยุดยิง อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นที่มีไม่มากพอต่อกัน ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงการแทรกแซงของรัฐบาลทหาร ทำให้ความพยายามเหล่านี้ไม่สามารถนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืนได้

นอกจากนี้ ปัจจัยระหว่างประเทศยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของเมียนมา ประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและไทยมีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์กับรัฐบาลเมียนมา ขณะที่ชาติตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรเพื่อกดดันรัฐบาลทหาร การสนับสนุนประชาธิปไตยในเมียนมายังคงเป็นเรื่องท้าทาย เนื่องจากการแบ่งขั้วทางภูมิรัฐศาสตร์และผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันของประเทศต่าง ๆ

"ไทย" เดอะแบกผู้ลี้ภัยเมียนมา

สถานการณ์ปัจจุบันของเมียนมา ยังคงมีความไม่สงบและความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ผู้ลี้ภัยหลายแสนคนจากเมียนมาต้องอพยพออกนอกประเทศไปยังเขตชายแดนของไทย บังคลาเทศ และ อินเดีย ขณะที่ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDPs) มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนอาหาร น้ำสะอาด และยารักษาโรค 

ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น มักสะท้อนความทุกข์ยากที่เกิดจากการสูญเสียบ้านและวิถีชีวิต หลายคนแสดงความโกรธแค้นต่อรัฐบาลทหารที่ไม่ยอมรับฟังความต้องการของประชาชน

เพราะไทยวางตัวเป็นกลาง ไม่สนับสนุนทั้งคอมมิวนิสต์ หรือ ประชาธิปไตย แบบ 100% 

ผู้ลี้ภัยคนหนึ่งให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอสออนไลน์ กล่าวถึงความหวังในการได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติ เพื่อสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลทหารยุติการใช้ความรุนแรงและกลับเข้าสู่เส้นทางของประชาธิปไตย

ทางตะวันตกของเมียนมา มี 2 รัฐที่ติดกับชายแดน รัฐที่ 1 เป็นสนับสนุนจีน มีแนวคิดไปทางคอมมิวนิสต์ พวกเขาจึงปิดพรมแดนไม่ให้ชาวเมียนมาลี้ภัยหนีสงคราม ส่วนอีกรัฐหนึ่งก็เปิดให้ชาวเมียนมาอพยพหนีสงครามได้บ้าง ส่วนทางตอนเหนือของเมียนมา แทบไม่มีความหวังเพราะติดกับประเทศจีน พรมแดนปิดตายไม่มีวันเปิดรับ

ทางเลือกที่ชาวเมียนมาเหลืออยู่คือ "ประเทศไทย" ด้วยภูมิศาสตร์ที่มีชายแดนต่อเนื่องกันยาวถึง 2,000 กว่ากิโลเมตร สำหรับผู้ลี้ภัยเมียนมา ไทยจึงเสมือนเป็นที่พึ่งทั้งให้ที่พัก การศึกษา งาน และเป็นสถานที่ที่สามารถเรียกร้องประชาธิปไตย 

ขณะที่ประชาชนที่หลบหนีจากสงครามในเมียนมา สะท้อนความสิ้นหวังจากการสู้รบและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในบ้านเกิด หลายคนเรียกร้องให้องค์กรระหว่างประเทศเพิ่มความช่วยเหลือและกดดันรัฐบาลทหารมากขึ้น ผู้ลี้ภัยในพื้นที่ชายแดนยังคงพึ่งพาการสนับสนุนจากชุมชนท้องถิ่นและองค์กรไม่แสวงหากำไร เนื่องจากการสนับสนุนจากรัฐยังมีข้อจำกัด​

ความช่วยเหลือที่เข้าไม่ถึง

แม้ว่าองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ จะพยายามเข้ามาช่วยแก้ไขวิกฤตในเมียนมา แต่ความพยายามเหล่านี้ยังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก ทั้งความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจ ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเองภายในอาเซียน และการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงของรัฐบาลทหาร ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ขัดขวางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน สถานการณ์ในเมียนมา

เสียงเรียกร้องที่ถูกขัดขวาง

"องค์การสหประชาชาติ หรือ UN" ได้แสดงบทบาทในการกดดันรัฐบาลทหารเมียนมา ผ่านการประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงและเปิดเจรจา แต่ UN เองก็ยังไม่สามารถแก้ไขความแตกแยกภายในได้เลย โดยเฉพาะการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและรัสเซียต่อรัฐบาลทหาร มาตรการที่ UN พอทำได้ เช่น การคว่ำบาตร หรือการส่งกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปในพื้นที่ แต่ก็จะถูกขัดขวาง ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่

แผนฉันทามติที่ยังไม่บรรลุผล

"อาเซียน" ในฐานะองค์กรภูมิภาค พยายามแก้ไขวิกฤตเมียนมาผ่าน "แผนฉันทามติ 5 ข้อ" เน้นการหยุดยิงและการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แต่ก็ประสบปัญหาในการดำเนินการ เพราะรัฐบาลทหารเมียนมายังคงปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญไม่ได้ เช่น การเจรจากับฝ่ายตรงข้ามและองค์กรชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ความแตกต่างภายในอาเซียนเองก็เป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินนโยบายที่เป็นเอกภาพ

เสียงเรียกร้องที่ไม่หยุดนิ่ง

องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เช่น Amnesty International และ Human Rights Watch มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงและประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมา รายงานต่าง ๆ ขององค์กรเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อประชาชน การละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์ และสถานการณ์ของผู้ลี้ภัย นอกจากนี้ องค์กรเหล่านี้ยังได้เรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรรัฐบาลทหาร และสนับสนุนการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดต่อกฎหมายมนุษยธรรม

โอลิเวีย หมอและสมาชิกของกลุ่ม Civil Disobedience Movement (CDM) ระบุว่าเธอหวังให้มีรัฐบาลที่มีมนุษยธรรมในทั้งเมียนมาและประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น ไทย ให้ความสำคัญของการสนับสนุนผู้ลี้ภัย เคารพสิทธิมนุษยชนของ

มีมี่ วิน เบิร์ด อดีตเจ้าหน้าที่กองทัพเมียนมา แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ชี้ให้เห็นว่ากองทัพรัฐบาลทหารกำลังเผชิญวิกฤตทั้งในแง่กำลังพลและประสิทธิภาพ เธอเน้นว่าการบังคับเกณฑ์ทหารยิ่งทำให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบ ขณะที่ประชาชนจำนวนมากเริ่มแปรพักตร์และสนับสนุนการต่อต้านรัฐบาลทหารมากขึ้น

อ่านข่าวอื่น :

จำคุกครูปรีชา-เจ๊บ้าบิ่น-เจ๊พัชคนละ 2 ปีเบิกความเท็จหวย 30 ล้าน

ผบ.ตร.สั่งเอาผิดทุกคนทุกข้อหาคดี"สจ.โต้ง" เพิ่มข้อหาอั้งยี่ซ่องโจร

นายกฯ แถลงผลงาน 90 วัน ยันปี 68 โอกาสของคนไทยลุยเงินดิจิทัล

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง