ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อดีตผู้ต้องขังร้องตรวจสอบ "ขบวนการมาเฟีย" ในเรือนจำ ทำเสียทรัพย์สินนับ 100 ล้าน

อาชญากรรม
3 ธ.ค. 67
19:48
325
Logo Thai PBS
อดีตผู้ต้องขังร้องตรวจสอบ "ขบวนการมาเฟีย" ในเรือนจำ ทำเสียทรัพย์สินนับ 100 ล้าน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมราชทัณฑ์ อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง หลัง อดีตผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ยื่นเรื่องร้องเรียน อ้างว่า ถูกขบวนการที่มีทั้งคนในและคนนอก รวมถึง จนท.รัฐหลอกลวง จะช่วยเหลือคืนความยุติธรรม ทำให้เสียทรัพย์สินไปนับ 100 ล้านบาท ยื่นฟ้องแล้วแต่คดีไม่คืบ

วันนี้ (3 ธ.ค.2567) นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ประธานชมรมสันติประชาธรรม นำนายปัญญา กาลเศรษฐี อดีตผู้ต้องขังในคดีอาญา เข้ายื่นเรื่องถึงประธานรัฐสภา ผ่านนายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาส่งเรื่องให้กรรมาธิการฯ พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง เหตุถูกหลอกลวงว่าจะช่วยเหลือ คืนความยุติธรรม โดยระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ มีกลุ่มบุคคล ที่นำโดยนาย "ท." ลวงว่าจะช่วย ทั้งที่บอกจะดำเนินการให้ไปอยู่โรงพยาบาลและพักโทษ และบอกว่าจะเร่งรัด เพื่อให้หลุดพ้นคดี เรียกค่าดำเนินการ 5 ล้านบาท เพียงแค่เขียนที่อยู่-เบอร์โทรศัพท์ญาติ เพื่อประสานงาน

หลังพ้นโทษ นายปัญญา ระบุว่า ได้เข้ายื่นหนังสือต่อกระทรวงยุติธรรม กระทรวงดิจิทัลฯ ป.ป.ช. และ ปปง.รวมถึงแจ้งความดำเนินคดีอาญาไว้ที่ สน.ประชาชื่น และทราบว่า ล่าสุดนี้เรื่องอยู่ในความรับผิดชอบของ พล.ต.ท.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)แต่ถึงเวลานี้ ร่วม 2 ปีแล้ว คดียังไม่มีความคืบหน้า

ขณะที่นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยอมรับว่า ทราบเรื่องแล้ว และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยอธิบายว่า กรณีนี้ เกิดขึ้นเมื่อช่วงปี 2560 - 2563 และเมื่อเดือน พ.ค.2567 มีผู้มาร้องเรียนผ่านกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมาถึงกรมราชทัณฑ์ โดยล่าสุด ได้เชิญผู้ร้องและผู้เกี่ยวข้อง เข้าให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ยังไม่ได้รับความร่วมมือ และยังคงสอบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเส้นทางการเงิน และยืนยันจะเร่งตรวจสอบ แม้ไม่สามารถระบุเวลาแล้วเสร็จได้ชัดเจน

ส่วนข้อสังเกตกรณี ผู้ต้องขังชั้นดี เดินข้ามแดน ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ จนเกิดเป็นช่องว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เน้นย้ำว่า เรือนจำยังคงจำเป็นต้องใช้วิธีปฏิบัตินี้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ไม่พอเพียงในการควบคุม-ดูแลผู้ต้องขังที่มีจำนวนมากกว่าผู้ควบคุม ไม่ได้มองเป็นช่องว่าง แสวงหาผลประโยชน์ แต่หากตรวจพบ จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด

อ่านข่าว : "ราชทัณฑ์" สั่งสอบปม นช.แทงกันเสียชีวิต ย้ายผู้ก่อเหตุไปเรือนจำอื่น 

"ทนาย" ปัด ตร.เรียกเงิน 9 ล้านบอสพอลในเรือนจำ 

DSI เข้าเรือนจำ สอบปากคำ 11 บอสชายดิไอคอน

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง