วันนี้ (6 เม.ย.2568) ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย ยังคงเดินหน้าเปิดตัวโครงการตามแผนเดิม หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวผู้บริหารบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์บางราย ระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยในแนวสูง แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว ที่พบว่ายังมีความต้องการสูง โดยเฉพาะโซนกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
นายสุนทร สถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สถาพร เอสเตท และนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ประเมินว่า เหตุการณ์แผ่นดินที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ต้องการที่อยู่อาศัยชะลอซื้อ เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายลงก็จะกลับมา โดยเฉพาะเมื่อมีการผ่อนคลายเกณฑ์ LTVซึ่งจะให้สินเชื่อได้เต็ม 100% ทุกสัญญา และการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนอง โดยประเมินว่าจะทำให้ ตลาดที่อยู่อาศัยในแนวราบขยายตัวได้ร้อยละ 5
ส่วนเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น ไม่ได้ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีการปรับเปลี่ยนจากที่อยู่แนวสูงมาแนวราบอย่างมีนัยสำคัญเหมือนเหตุการณ์น้ำท่วมปี
สอดคล้องกับเลขาธิการสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ประเมินว่าผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในระยะสั้น ซึ่งรัฐและผู้ประกอบการจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น
นายภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์ส ประเทศไทย ประเมินว่า แนวโน้มการโอนกรรมสิทธิ์ ที่อยู่อาศัยไทยปี 2568 จะได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ทั้งเศรษฐกิจที่ยังคงเผชิญความไม่แน่นอน เหตุแผ่นดินไหว และที่การประกาศขึ้นภาษีสินค้าจาก ปธน.ทรัมป์ ที่อาจกระทบต่อการโอนกรรมสิทธ์ คาดการณ์ว่ามูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ จะมีแนวโน้มลดลงประมาณ -3% ถึง -5% เมื่อเทียบกับปี 2567
ก่อนหน้านี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์, ธนาคารอาคารสงเคราะห์คาดการณ์ปริมาณอสังหาริมทรัพย์เหลือขายทั้งระบบจากปี 2567 ประมาณ 230,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.45 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการบ้านจัดสรรประมาณ 130,000 หน่วย และอาคารชุดเหลือขายประมาณ 97,000 หน่วย
อ่านข่าวเพิ่ม :