ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

29 พ.ย.โหวตเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟู "การบินไทย" จับตาการเมืองแทรกแซง

เศรษฐกิจ
27 พ.ย. 67
20:09
883
Logo Thai PBS
29 พ.ย.โหวตเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟู "การบินไทย" จับตาการเมืองแทรกแซง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ทำไมเรื่องราวของการบินไทย จึงกลับขึ้นมาร้อนแรงอีกครั้ง ทั้งที่ตั้งแต่โควิด-19 สถานะของการบินไทย ก็ค่อนข้างจะเงียบหายไป มาวันนี้ กลับมามีการแสดงพลังกันอีกครั้ง ทั้งฝั่งข้าราชการประจำที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นตัวแทนของฝากการเมืองที่เริ่มเข้ามามีบทบาท และฝ่ายบริหารเองที่อยู่ระหว่างการถ่วงสมดุล โดยวันที่ 29 พ.ย.นี้จะถึงเวลาที่ชี้ชะตา "การบินไทย"

กว่า 4 ปี ที่บริษัทการบินไทย อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ ตามคำสั่งศาลล้มละลาย พร้อมตั้งคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ 3 คน ทำงานร่วมกับพนักงาน จนวันนี้มีกำไร และกำลังก้าวสู่จุดสำคัญที่จะปลดล็อกออกจากแผนฟื้นฟู

คณะผู้บริหารแผน ประกอบด้วย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ , นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) คนปัจจุบัน และ นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะผู้แทนกระทรวงการคลัง ซึ่งถือหุ้นมากที่สุด มีหน้าที่สำคัญ คือ การรื้อโครงสร้างองค์กร ประคองธุรกิจ เพื่อให้บริษัท มีรายได้ และสะสางหนี้สิน ที่มีมากกว่า 20,000 ล้านบาท บริษัท ต้องเลิกจ้างพนักงานมากกว่าครึ่งหนึ่ง จาก 30,000 คน จนปัจจุบันเหลือ 17,000 คน ไม่นับรวมการขึ้นป้ายประกาศขายตึก ขายอุปกรณ์สำนักงานไปจนถึงทำปาท่องโก๋ขาย

วันนี้ การบินไทย กลับมา มีกำไร จากการดำเนินงาน ก่อนหักค่าเสื่อมราคา หรือ EBITDA กว่า 24,000 ล้านบาท เข้า 1 ใน 2 เงื่อนไข ที่จะปลดล็อกออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้แล้ว

ส่วนอีกเงื่อนไข คือ ต้องทำให้สัดส่วนทุนของผู้ถือหุ้น กลับมาเป็นบวก คณะผู้บริหารแผนฯ จึงต้องนัดประชุมเจ้าหนี้ เพื่อขอมติ ลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ หรือ Par Value เพื่อล้างผลขาดทุนสะสมหุ้น ที่มีประมาณ 60,000 ล้านบาท

แต่มีวาระแทรกขอเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ จำนวน 2 คน ได้แก่ นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และ นายพลจักร นิ่มวัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ ในการประชุมวันที่ 29 พ.ย.นี้

ส่งผลให้ ผู้บริหารแผนฟื้นฟู จาก 3 คน จะเป็น 5 คน ในจำนวนนี้ เป็น ข้าราชการประจำ 3 คน ซึ่งจะกลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ในคณะผู้บริหารแผนฯ มีสิทธิในการ ทบทวน ปรับปรุงแผนฟื้นฟู ตลอดจน ตั้งกรรมการบริษัทการบินไทยชุดใหม่ หลังออกจากแผนฟื้นฟู และกลับเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในกลางปีหน้า

แจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานการบินไทย ระบุว่าการครองเสียงส่วนใหญ่ ในคณะผู้บริหารแผนฯ ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคราชการ จึงเสมือนภาพสะท้อน ของนักการเมือง ที่ต้องการเข้ามามีบทบาทใน การบริหาร "การบินไทย" อีกครั้ง

“การที่รัฐบาล กระตือรือร้น ที่จะเอาคนของรัฐ เข้ามาเป็นผู้บริหารแผน จะทำให้ผู้บริหารแผนจากภาครัฐ ใช้เสียงข้างมากลากกันไป กำหนดแผน เปลี่ยนนโยบาย หาประโยชน์ อาจทำให้การบินไทยต้องล้มละลายได้อีก”

แจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานการบินไทย

แจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานการบินไทย

แจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานการบินไทย

8 พ.ย.ที่ประชุมเจ้าหนี้ เสียงส่วนใหญ่ จึงมีมติ ให้เลื่อนการประชุม เนื่องจาก วาระแทรกดังกล่าว โดยจะนัดประชุมใหม่ วันที่ 29 พ.ย.นี้

ในงานชี้แจงกระบวนการจัดสรรหุ้นสามัญ สำหรับพนักงานและผู้ถือหุ้นเดิม ของบริษัทการบินไทย นายพรชัย ฐีระเวช ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้แทนกระทรวงการคลัง ไม่สามารถชี้แจงประโยชน์ ที่บริษัทการบินไทยจะได้รับ หากเพิ่มผู้แทนภาครัฐเข้าไปในแผนฟื้นฟู โดยกล่าวเพียงว่า จะช่วยให้ การทำงานกับภาครัฐ ราบรื่นมากขึ้น

ส่วนความกังวลปัญหาการเมือง จะเข้าแทรกแซง และแสวงหาประโยชน์เหมือนอดีต ผู้แทนกระทรวงการคลัง ย้ำว่า การดำเนินการใดๆ ล้วนตัดสินในรูปคณะกรรมการ และต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ภายใต้กรอบกฎหมาย

พรชัย ฐีระเวช ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

พรชัย ฐีระเวช ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

พรชัย ฐีระเวช ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

การบินไทยในวันที่กำลังจะออกจากแผนฟื้นฟูฯ และกลับเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกครั้ง ดูเหมือนกลายเป็นผลไม้ที่หอมหวาน ดึงดูดฝูงแมลงให้เข้ามาดอมดม

พร้อมย้ำว่า กระทรวงการคลัง จะไม่เข้าถือหุ้นการบินไทย เกินกว่าร้อยละ 49.99 เพื่อให้กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจ

“การที่กรรมการ ภาครัฐ ในคณะผู้บริหารแผนฯ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทการบินไทย ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง มีสิทธิ์ตามสัดส่วนการถือหุ้น ในการเลือกกรรมการได้อยู่แล้ว และกรรมการ ที่เข้าไปทำหน้าที่ ก็ต้องทำงานภายใต้กรอบกฎหมาย หากสร้างความเสียหายต่อบริษัท ก็ระวางโทษทางแพ่ง ตามกฎหมายมหาชน” นายพรชัย  กล่าว

เพราะขณะนี้ ราคาหุ้นบริษัทการบินไทย ที่ถูกแช่แข็ง มาตลอด 4 ปี จะมีกลุ่มผู้ถือครองหุ้น ในราคาต่ำกว่าราคาพาร์มากๆ โดยผู้บริหาร มีต้นทุนหุ้นละ 2.5452 บาท ผู้ถือหุ้นเดิม 4.48 บาท ย่อมมีโอกาสได้ประโยชน์ จากส่วนต่างราคาที่เข้าซื้อขายในตลาดฯ คณะผู้บริหารแผนฯ จึงกำหนดเงื่อนไขให้ ผู้บริหารบริษัท ไม่สามารถขายในช่วง 1 ปี หลังเข้าตลาด และจะขายได้ 25% เมื่อเข้าตลาดไปแล้ว 6 เดือน

ชาย เอี่ยมสิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทการบินไทย

ชาย เอี่ยมสิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทการบินไทย

ชาย เอี่ยมสิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทการบินไทย

นอกจากนี้ บริษัท ยังมีแผนจัดซื้อและปรับปรุงฝูงบินใหม่ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท โดยชาย เอี่ยมสิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทการบินไทย บอกว่า ได้ปรับระบบการจัดซื้อให้โปร่งใส ปฏิเสธการเจรจาผ่านนายหน้า หากพบความพยายามล็อบบี้ ไม่ว่าระดับใด บริษัทจะยกเลิกการเจรจาทันที

“เราจะไม่คุยเป็นการส่วนตัวกับรายใด แต่ยื่นข้อเสนอทางเทคนิคให้ทุกบริษัทพิจารณา และยื่นข้อเสนอกลับมา หากเราพบว่า บริษัทผู้ผลิตรายใด พยายามล็อบบี้ผู้บริหาร ไม่ว่าระดับใดก็ตาม เราจะยกเลิกการเจรจากับท่านทันที” 

แต่ข้อจำกัดในอุตสาหกรรมการบินโลก มีผู้ผลิตเครื่องบิน แค่ 2 เจ้า ได้แก่ โบอิง และ แอร์บัส และผู้ผลิตเครื่องบิน ได้แก่ โรลรอยส์ เจเนรัล อิเล็คทริกส์ และ แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ รวม 5 บริษัทใหญ่ในอุตสาหกรรมดังนั้น ผลการจัดซื้อ จึงสามารถพลิกได้เสมอ ขึ้นอยู่กับ คณะกรรมการบริษัท

ปัจจุบัน การบินไทย มีฝูงบิน 79 ลำ ซึ่งลดลงจากช่วงก่อนฟื้นฟูกิจการ ที่มี 103 ลำ ความผิดพลาดในการบริหารโครงการจัดซื้อฝูงบินในอดีต ซึ่งมีเครื่องบิน หลากหลายรุ่น หลากหลายขนาด ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าบริหารจัดการของบริษัท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ การบินไทย แข่งขันไม่ได้

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัทการบินไทย ย้ำว่า หากผลประชุมเจ้าหนี้ ออกมาว่า มีผู้แทนภาครัฐ เพิ่มขึ้นอีก 2 คน อาจนำมาซึ่งความยุ่งยาก แม้ว่าจะไม่อยู่ในสถานะรัฐวิสาหกิจก็ตาม

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์

การประชุมเจ้าหนี้ บริษัทการบินไทย ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ จะกลายเป็นการประลองกำลัง ระหว่าง 2 กลุ่มหลัก ระหว่างกลุ่ม กลุ่มกระทรวงการคลัง และเครือข่าย และ เจ้าหนี้หุ้นกู้ในสหกรณ์

“ผมคิดว่า การเป็นหรือไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่ประเด็น แต่อยู่ที่ หากปล่อยให้ การเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงาน เป็นอันตรายมากกว่า”

โดยยอดหนี้ การบินไทยที่มีมากกว่า 200,000 ล้านบาท หนี้ส่วนใหญ่ อยู่กับหุ้นกู้ที่ต้องจ่ายคืนสหกรณ์ ประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาท หนี้ตามส่วนของกระทรวงการคลัง มีประมาณ 20,000 ล้านบาท ยังไม่รวมหนี้ที่อยู่กับแบงก์รัฐ ซึ่งกระทรวงการคลังกำกับ อีกประมาณ 20,000 ล้านบาท

บริษัทการบินไทย คำนวณสัดส่วนการถือหุ้นหลังขายหุ้นเพิ่มทุน จะทำให้ กระทรวงการคลัง ถือหุ้นร้อยละ 33.4 รัฐวิสาหกิจ หรือ เจ้าหนี้แบงก์รัฐ ร้อยละ 4.1 กองทุนวายุภักษ์ ร้อยละ 2.8 ขณะที่ กลุ่มใหญ่ ที่คัดค้านการเพิ่มสัดส่วนข้าราชการ ในผู้บริหารแผนฯ หรือ กลุ่มเจ้าหนี้สหกรณ์ คิดเป็นสัดส่วนน้อยละ 44.3 

หากดูตามสัดส่วนผู้ถือหุ้น อาจพอประเมินแนวโน้มการลงมติของเจ้าหนี้ได้ ว่า ผลออกมาค่อนข้างสูสี ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อชะตากรรมการบินไทย ในฐานะสายการบินแห่งชาติว่าจะกลับมาผงาดในอุตสาหกรรมการบินอีกครั้งหรือไม่

อ่านข่าว :

ศึกสิบทิศ “ข้าวไทย” 2568 “สต็อก” โลกล้น เขย่าธุรกิจวงการค้า

วิกฤตการเงิน คนรุ่นใหม่ “Generation Rent” เช่าบ้านดีกว่าซื้อ ?

ของขวัญปีใหม่! ลดค่าไฟเหลือ 4.15 บาทต่อหน่วย 4 งวดปี 68

ข่าวที่เกี่ยวข้อง