วันนี้ (22 พ.ย.2567) ศาลรัฐธรรมนูญ นัดประชุมหารือนัดพิเศษ กรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องขอให้สั่งนายทักษิณ ชินวัตร ยุติการกระทำและสั่งยุบพรรคเพื่อไทย เหตุกระทำการเข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญติดภารกิจต่อเนื่อง และรอคำชี้แจงจากอัยการสูงสุด
สำหรับนายธีรยุทธ ไปยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุด อ้างอิงรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไปทำลายระบอบการปกครองไม่ได้, ผู้ที่ทราบว่ามีการกระทำดังกล่าวมีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้บุคคลเลิกการกระทำ, การร้องต้องทำผ่านอัยการสูงสุดก่อน หากอัยการสูงสุดปฏิเสธไม่รับดำเนินการหรือไม่ดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องจึงจะมีสิทธิไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง, การร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำการดังกล่าวในศาลยุติธรรม
ทั้งนี้ นายธีรยุทธ ได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามความในมาตรา 49 โดยตรง โดยสาระสำคัญกล่าวหา 6 พฤติการณ์-พฤติกรรมของนายทักษิณว่าครอบงำ-ชี้นำพรรคเพื่อไทย แต่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ทำหนังสือแจ้งให้ส่งคำชี้แจงความคืบหน้าในการพิจารณาคำร้องของนายธีรยุทธ ผ่านกรอบเวลา 15 วัน มีรายงานว่าอัยการฯ เรียกผู้ร้องและผู้ถูกร้อง เข้าชี้แจงเมื่อวันที่ 5 พ.ย. และสรุปความส่งศาลฯ วันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา
ความโดยสรุปที่อัยการฯ ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ คือ บันทึกสอบถ้อยคำของทั้ง 2 ฝ่าย คือนายธีรยุทธ ผู้ร้อง และนายชูศักดิ์ ศิรินิล ผู้ถูกร้อง พร้อมอ้างตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ ชี้ว่า การกระทำตามข้อกล่าวหาในคำร้อง ไม่เข้าหลักเกณฑ์ว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง เป็นเหตุให้อัยการสูงสุด มีคำสั่ง "ไม่รับคำร้อง"
เท่ากับว่าอัยการสูงสุด จะมีมติไม่รับคำร้อง หมดหน้าที่ตามวรรค 2 ในมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ ด้วยบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ ที่อยู่ในวรรคท้ายของมาตรานี้ ดังนั้นจะ "รับ..หรือไม่รับ" คำร้องนายธีรยุทธ ขึ้นอยู่กับการพิจารณา-วินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
นายธีรยุทธ ยอมรับว่า ขณะที่เขียนคำร้อง ก็เชื่อว่าอัยการสูงสุดจะไม่รับคำร้องเหมือนกับตอนที่เคยยื่นคำร้องยุบพรรคก้าวไกล ดังนั้นการที่อัยการสูงสุดไม่รับคำร้องครั้งนี้ ก็เป็นความปกติ จากนี้ก็มั่นใจว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้ โดยเฉพาะ 1 ใน 6 ข้อกล่าว บ่งชี้ได้ว่าเป็นอำนาจของศาลฯ โดยตรง
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าในวันนี้ ศาลฯ จะมีคำสั่งออกมา 3 แนวทาง คือ ไม่รับคำร้อง, รับคำร้อง แต่มีเงื่อนไขว่ารับเฉพาะประเด็นที่อยู่ในขอบข่ายหน้าที่, ไม่รับคำร้อง
ขณะที่นักเคลื่อนไหวทางการเมือง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ชี้ว่า หากความเห็นของอัยการสูงสุดเป็นจริง ก็ไม่สามารถหักล้างข้อกล่าวหาตามคำร้องได้ และไม่ได้ผูกพันกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญ มีความอิสระต่ออัยการสูงสุด โดยคาดว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะลงมติรับคำร้อง 9 ต่อ 0
ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ฝ่ายกฎหมายรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ฝ่ายกฎหมาย
วิเคราะห์โดย : เสาวลักษณ์ วัฒนศิลป์ บรรณาธิการข่าวการเมือง ไทยพีบีเอส
อ่านข่าว : "ทักษิณ" ตอบปม 6 พรรคร่วมเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า-ไม่กังวลถูกยื่นยุบเพื่อไทย
ขีดเส้น 15 วัน ศาล รธน.แจ้ง อสส.แจงปมธีรยุทธร้อง "ทักษิณ-เพื่อไทย"
"ชูศักดิ์" มั่นใจ "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง