ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หอการค้าชี้ “ลอยกระทง” อินเทรนด์ เงินสะพัดหมื่นล้าน สูงสุดรอบ 9 ปี

เศรษฐกิจ
6 พ.ย. 67
16:56
3,201
Logo Thai PBS
หอการค้าชี้ “ลอยกระทง” อินเทรนด์ เงินสะพัดหมื่นล้าน สูงสุดรอบ 9 ปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
คนไทย "อินเทรนด์" ลอยกระทง หอการค้าไทย เผย เงินสะพัด 10,000 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 9 ปี นับชี้ ภาคใต้คึกคักสุด รองลงมาเป็นภาคเหนือ สะท้อนชัดเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว

วันนี้ ( 6 พ.ย.2567) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงวันลอยกระทงปี 2567 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,250 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ 50.7% ยังคงวางแผนไปลอยกระทงและทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย เช่น ทานอาหารนอกบ้าน เที่ยวชมสถานที่จัดงาน ไปซื้อของหรือทำบุญ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

โดยให้เหตุผลว่าเพื่อไปขอพรมากที่สุด รองลงมา เป็นประเพณี ผ่อนคลายความ เครียด และพาลูกหรือครอบครัวไปเที่ยว ส่วนกลุ่มไม่ลอยและอยู่บ้านอยู่ที่ 26.6% เนื่องจากมีหนี้มาก ต้องการพักผ่อน ไม่ชอบคนเยอะ ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และรายได้ไม่แน่นอน

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 2,449.18 บาทต่อคน มากกว่าปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 2,075.58 บาทต่อคน คิดเป็นมูลค่าใช่จ่ายเฉลี่ยรวม 10,355.18 ล้านบาท ขยายตัว 3.5% มากกว่าปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 10,005 ล้านบาท ขยายตัว 3.3% ซึ่งเป็นมูลค่าใช้จ่ายที่ดีสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ การใช้จ่ายต่อหัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ของแพงขึ้น ประชาชนก็ใช้จ่ายไปตามนั้น โดยมูลค่าการใช้จ่ายที่โต 3.5% ในปีนี้ สะท้อนถึงเศรษฐกิจมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หลังจากมีอาการซึมตัวหลังโควิดระบาด ก่อนจะไต่อันดับขึ้นในช่วงปี 2565-2566 ที่ผ่านมา

โดยการใช้จ่ายช่วงวันลอยกระทง ยังคงใช้เงินสดมากที่สุด แต่ก็มีการใช้จ่ายผ่านการโอนจ่าย บัตรเดบิต-บัตรเครดิต และอีวอลเล็ตร่วมด้วย แม้มองว่ามูลค่าการใช้จ่ายปีนี้เพิ่มขึ้น 34.7% ทั้งราคาสินค้า มีกิจกรรมที่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้น หรือเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงเลือกซื้อสินค้าเท่าเดิม

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ส่วนปัจจัยในการเลือกซื้อกระทงส่วนใหญ่ตอบว่า ย่อยสลายง่าย มาเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ หาซื้อง่าย สวยงาม และราคาถูก แสดงถึงมุมมองการเลือกกระทงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการลดจำนวนกระทง 1 ครอบครัว 1 กระทงด้วย พร้อมมองว่าบรรยากาศลอยกระทงเทียบปี 2566 มองว่าคึกคักมากกว่า 20.9%

เพราะเป็นช่วงเทศกาล 40.4% มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 20.8% มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น 15.% มีสถานที่จัดงานเยอะ 14.4% คึกคักเหมือนเดิม 61.3% คึกคักน้อยกว่า 12.5% เพราะค่าครองชีพ 51.3% และไม่มีเงินไปเที่ยว 37.4% เงียบเหงา 5.3% ภาคใต้ มองว่าคึกคักมากที่สุด ตามด้วยภาคเหนือ ภาคกลางรวม กทม.ปริมณฑล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ

อ่านข่าว:

“ทองคำ” บวก 400 บาท ผันผวน 25 ครั้ง รับเลือกตั้งปธน.สหรัฐฯ

นักท่องเที่ยวพบปัญหา "แอ่วเหนือคนละครึ่ง" สแกนรับสิทธิ์ไม่ได้

"แอ่วเหนือคนละครึ่ง” ไม่คึกคัก นักวิชาการ ชี้ ไม่กระตุ้นท่องเที่ยวไฮซีซั่น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง