ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เฮอร์ปีส์ไวรัสพรากลูกช้างป่า "กันยา" กลับดาวช้าง

สิ่งแวดล้อม
6 พ.ย. 67
06:43
1,603
Logo Thai PBS
เฮอร์ปีส์ไวรัสพรากลูกช้างป่า "กันยา" กลับดาวช้าง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ลูกช้างป่า "กันยา" ตายแล้วด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส หลังทีมสัตวแพทย์ รพ.ช้างลำปางและควาญพี่เลี้ยงระดมกำลังรักษาและช่วยเหลืออย่างเต็มที่

วันนี้ (6 พ.ย.2567) เวลา 01.13 น. เฟซบุ๊ก "โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC" แจ้งว่า ลูกช้าง "พังกันยา" ตายแล้วเมื่อเวลา 23.31 น. หลังเข้ารับการรักษาอาการป่วยด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นโรคไวรัสที่มีความอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตในกลุ่มช้างอายุน้อยหรือลูกช้าง 

ก่อนหน้านี้ ทีมสัตวแพทย์ได้นำเลือดของ "พังแม่ขอด" ที่อยู่ในสถาบันคชบาลแห่งชาติฯ จ.ลำปาง เติมให้กับลูกช้างกันยา ควบคู่กับการให้ยาต้านไวรัส

ลูกช้างกันยามีอาการซึม กินได้น้อยลง ไม่มีไข้ อึเป็นเมือกค่อนข้างเหลวและมีกลิ่นเหม็น ฉี่ได้ 1 ครั้ง และมีอาการของโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสชัดขึ้น หน้าบวมมากขึ้นและพบจุดเลือดออกที่ลิ้น

ทีมสัตวแพทย์พิจารณาให้เพิ่มการรักษาโดยใช้สเต็มเซลล์ ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือกเพิ่มเติมจากการรักษาหลัก โดยมีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบทั่วร่างกาย ต้านไวรัส รักษาสมดุลและเสริมสร้างเซลล์ใหม่ของหลอดเลือด ซึ่งเป็นอวัยวะหลักที่เกิดความเสียหายในโรคนี้

ขณะที่เฟซบุ๊ก "ร่มแดนช้าง Tusker Shelter" ระบุว่า ทำเต็มที่ที่สุดแล้ว พร้อมขอบคุณสถาบันคชบาลแห่งชาติที่ให้การดูแลและให้คำแนะนำในการอนุบาลเลี้ยงดูช้างน้อยกันยา จนถึงวันที่ลูกช้างมีอาการป่วย ทางโรงพยาบาลช้างได้ให้การรักษาอย่างเต็มที่

401 วันทุกนาทีที่มีแต่คนรัก #กันยา ลูกคือที่สุด

สำหรับพังกันยา เป็นลูกช้างป่าพลัดหลงโขลง ถูกพบบริเวณริมป่าใน อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ เมื่อเดือน ก.ย.2566 ในสภาพอ่อนเพลียและมีบาดแผลถลอก เจ้าหน้าที่จึงนำมาดูแลอย่างใกล้ชิด

ต่อมากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ส่งพังกันยาไปอนุบาลดูแลที่ปางช้างภัทร อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยมีสัตวแพทย์ประจำปางช้าง สัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) และทีมงานเจ้าหน้าที่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ดูแลร่วมกันเพื่อฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ โดยมีแม่ช้างรับคอยดูแลและป้อนนมลูกช้างเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง

อ่านข่าว

อาการวิกฤต "ลูกช้างกันยา" ป่วย EEHV ให้เลือดดูแลใกล้ชิด

เฮอร์ปีส์ไวรัส ภัยร้ายที่คนเลี้ยงช้างต้องเฝ้าระวัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง