ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"กัญจนา" ควัก 1 ล้านตั้งกองทุนกันยาวิจัย "เฮอร์ปีส์ไวรัสช้าง"

Logo Thai PBS
"กัญจนา" ควัก 1 ล้านตั้งกองทุนกันยาวิจัย "เฮอร์ปีส์ไวรัสช้าง"
สัตวแพทย์ไขคำตอบ "โรคเฮอร์ปีส์ไวรัสช้าง" น่ากังวล หลังพรากลูกช้าง "พังกันยา" ยอมรับยังไม่มียารักษา พบแนวโน้มสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 8 เชือก"กัญจนา" ควัก 1 ล้านบาทตั้งกองทุนกันยาวิจัยโรค

กรณีลูกช้าง "พังกันยา" ช้างป่าพลัดหลงป่วยตายด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นโรคไวรัสที่มีความอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตในกลุ่มช้างอายุน้อยหรือลูกช้าง

เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2567 ควาญช้าง และสัตวแพทย์โรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง ทำพิธีตามความเชื่อหลังช้างพังกันยา อายุ 13 เดือน ที่ป่วยด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส หลังสัตวแพทย์ให้การรักษาด้วยการให้ยาและเลือด แต่อาการไม่ดีขึ้น และตายลงเมื่อคืนวานนี้ 

อ่านข่าว เฮอร์ปีส์ไวรัสพรากลูกช้างป่า "กันยา" กลับดาวช้าง

หลังจากนี้ สัตวแพทย์จะผ่าพิสูจน์สาเหตุ ตามระเบียบราชการ เพราะพังกันยาเป็นช้างของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ก่อนจะฝังซากภายในสุสานช้าง

นายธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสมาพันธ์ช้างไทย กล่าวว่า ทีมสัตวแพทย์ พยายามให้การรักษาพังกันยา อย่างเต็มที่ แต่เชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัสในตัวพังกันยาอยู่ในระดับไทด์ 4 ซึ่งมีความรุนแรง ทำให้เกล็ดเลือดลดลงรวดเร็ว ยากต่อการรักษา

นายธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสมาพันธ์ช้างไทย

นายธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสมาพันธ์ช้างไทย

นายธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสมาพันธ์ช้างไทย

หลังพังกันยาตาย ทางทีมงาน Patara Elephant Conservation ที่ดูแลพังกันยาใน จ.เชียงใหม่ เตรียมตรวจโรคลูกช้าง 2 ตัว ที่ใกล้ชิดพังกันยา รวมทั้งฆ่าเชื้อในคอกที่พังกันยาเคยอาศัยอยู่

มีการเพิ่มกระบวนการตรวจช้างให้ถี่ขึ้น ทั้งช่วงเช้า กลางคืนดูสภาพอาการช้างพฤติกรรม การกิน ความร่าเริง และคอกของกันยาต้องพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อป้องกันเชื้อ
นายสัตวแพทย์ ฉัตรโชติ ทิตาราม ผอ.ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

นายสัตวแพทย์ ฉัตรโชติ ทิตาราม ผอ.ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

นายสัตวแพทย์ ฉัตรโชติ ทิตาราม ผอ.ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

รู้จักวายร้ายโรคเฮอร์ปี่ไวรัสในช้าง

ด้านนายสัตวแพทย์ ฉัตรโชติ ทิตาราม ผอ.ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ กล่าวว่า โรคเฮอร์ปีส์ไวรัส ถือว่ามีความรุนแรง สำ หรับช้างเด็ก โดยเชื้อนี้ติดมากับช้างทุกตัว และมักแสดงอาการในช่วงเปลี่ยนฤดู

ในประเทศไทยมีช้างป่วยด้วยโรคนี้ปีละประมาณ 8 เชือก ยังไม่มียารักษาเฉพาะ แต่มีอัตราการรักษาหายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเจ้าของช้างและควาญควรดูแลช้างเด็กอายุแรกเกิดจนถึง 4 ปีอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นช่วงที่มีภูมิคุ้มกันน้อย

ลูกช้างที่ติดเฮอร์ปีส์ไวรัส จะมีอาการหน้าบวม ซึม และพฤติกรรมต่างผิดปกติ มีไข้สูง ที่ชัดเจนลิ้นจะกลายเป็นสีม่วง เนื่องจากมีเชื้อไวรัสเข้าร่างกาย และไปทั่วร่างกายทั้งหัวใจ ปอด ตับ ม้าม

ในประเทศไทยมีช้างป่วยด้วยโรคนี้ ปีละประมาณ 8 เชือก และยังไม่มียารักษาเฉพาะ แต่มีอัตราการรักษาหายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเจ้าของช้างและควาญควรดูแลช้างเด็กอายุแรกเกิดจนถึง 4 ปีอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นช่วงที่มีภูมิคุ้มกันน้อย

ตั้งแต่ปี 2498 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีช้างป่วยด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส 140 เชือก ตาย 89 เชือก และรักษาหาย 51 เชือก ขณะนี้มีบริษัทในต่างประเทศ 3 แห่ง กำลังพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อนี้ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการทดสอบกับช้าง

อ่านข่าว อาการวิกฤต "ลูกช้างกันยา" ป่วย EEHV ให้เลือดดูแลใกล้ชิด

"กัญจนา" ตั้งกองทุนกันยารำลึก 1 ล้าน

ขณะที่ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา หนึ่งในผู้ที่สนับ สนุนการดูแลพังกันยา หลังจากที่พบหลงจากแม่มาอย่างต่อเนื่อง โพสต์เฟซบุ๊ก NuNa Silpa-archa ระบุว่า เพื่อรำลึกถึงกันยาน้อย (ที่รักมาก) โดยคุยกับนายสัตวแพทย์ ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ (อ.อ.ป.) ว่า จะตั้ง "กองทุนกันยารำลึก” เพื่อสนับ สนุนให้คุณหมอทั้งหลาย ได้ทำการศึกษาวิจัยหาวิธีรับมือกับโรค EEHV ด้วยหวังว่าในอนาคตจะมีวิธีการรักษามีตัวยาที่จะช่วยชีวิตลูกช้างให้รอดชีวิตจากไวรัสร้ายนี้ได้

โดยจะเปิดบัญชีชื่อ “กองทุนกันยารำลึก” โดยจะใส่เงินให้ก่อน 1 ล้านบาท 
เมื่อหมอมีโครงการก็จะทำเรื่องเบิกขอใช้เงินกองทุนนี้ ส่วนที่ไม่ทำเป็นกองทุนในคชบาล เพราะระบบราชการจะไม่คล่องตัว ถ้าต่อไปเงินไม่พอก็จะเพิ่มให้อีก 

นอกจากนี้ เมื่อเปิดบัญชีแล้วจะบอกเลขบัญชีในเฟซบุ๊ก เผื่อว่าจะมีแม่ๆ อยากสมทบ และหากมีเงินสมทบจากท่านอื่น โดยจะแจงยอดรายรับ รายจ่ายให้ทราบทางเฟสอย่างชัดเจนสม่ำเสมอ

อ่านข่าวอื่นๆ

เฮอร์ปีส์ไวรัส ภัยร้ายที่คนเลี้ยงช้างต้องเฝ้าระวัง

อาลัย "พิทักษ์ป่า" ช็อกตายกลางป่าลึกทับลานลำเลียงศพ 5 ชม.

ทช.ทดลองวางแปลงผัก 4 ชนิดให้พะยูนที่หาดราไวย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง