ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"อนุทิน" สั่ง "กรมโยธาฯ" ศึกษาผลกระทบ ปมเวนคืนที่ดินริมแม่น้ำสาย จ.เชียงราย

ภูมิภาค
29 ต.ค. 67
14:56
210
Logo Thai PBS
"อนุทิน" สั่ง "กรมโยธาฯ" ศึกษาผลกระทบ ปมเวนคืนที่ดินริมแม่น้ำสาย จ.เชียงราย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"อนุทิน" สั่ง "กรมโยธาฯ" ศึกษาผลกระทบเพิ่มเติมเวนคืนที่ดินริมแม่น้ำสาย จ.เชียงราย ลั่น คนบุกรุกไม่ได้เยียวยา มอง คุ้มค่าใช้งบ 3,000 กว่าล้านแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาวได้

วันนี้ (29 ต.ค.2567) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงความชัดเจนหลังมีกระแสข่าว รัฐบาลจะเวนคืนพื้นที่ 40 ม.บริเวณริมแม่น้ำสาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ว่า เรื่องนี้จะพิจารณาเรื่องของการบุกรุกพื้นที่มากกว่าว่าจะแก้ไขอย่างไร

ขณะนี้อยู่ระหว่างกรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังวางแนวอยู่ โดยการเวนคืนครั้งนี้ไม่ได้ไปมองถึงเรื่องของการบุกรุกที่ดินเพียงอย่างเดียว แต่กรมโยธาธิการฯ กำลังไปศึกษาการวางแผนงานทำเขื่อนกันน้ำกันดิน ซึ่งจะทำพาดผ่านตามแนว อ.แม่สาย ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท 

หากศึกษาดี ๆ โครงการนี้จะคุ้มค่า หากเสีย 3,000 กว่าล้านบาทแต่สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีทีเดียว เพราะทุกวันนี้หากปล่อยเป็นเช่นนี้รัฐบาลเสียเงินมากกว่า 3,000 กว่าล้านบาทอีก และได้แต่เยียวยา ซึ่งปีหน้าก็อาจจะต้องเสียงบประมาณอีก

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ต้องไปจัดการเรื่องการรุกล้ำพื้นที่ที่ผิดกฎหมายและมีเรื่องการเวนคืนที่ดินด้วยซึ่งต้องไปสำรวจให้เรียบร้อยก่อน เมื่อถามว่าการรุกล้ำและการเวนคืนจะมีการเยียวยาหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า การรุกล้ำไม่มีการเยียวยา แต่ต้องแนะนำให้บุคคลเหล่านั้นไปหาที่อยู่ใหม่

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย

ส่วนเรื่องการเวนคืนต้องไปดูว่าหากสามารถแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ รัฐบาลก็มีความจำเป็นที่ต้องเยียวยา ซึ่งเมื่อวานนี้ (28 ต.ค.67) ทางกรมโยธาธิการฯเพิ่งมารายงานผลการศึกษา แต่ตนให้ไปศึกษาเพิ่มเติมว่าจะมีกี่ครัวเรือน จำนวนเท่าใด ประกอบธุรกิจอะไรบ้าง เพราะบริเวณนั้นมีตลาดสายลมจอยอยู่

นายอนุทินยังกล่าวว่า เชื่อว่าจะใช้เวลาศึกษาไม่นาน แต่ในขั้นของการของบประมาณอาจต้องใช้เวลาเนื่องจากต้องนำเข้าที่ประชุม ครม. เนื่องจากเรื่องนี้ใช้งบกลางไม่ได้ เพราะเกิน 1 ปี จึงต้องผลักดันให้ใช้งบประมาณปกติ ซึ่งต้องไปพูดคุยกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ด้วย อย่างไรก็ตาม ตนได้เร่งรัดเรื่องนี้ เพราะถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขในระยะยาว

อ่านข่าว : เร่งฟื้นฟูน้ำท่วมเชียงราย-เชียงใหม่ หวั่นกระทบท่องเที่ยวปลายปี

“อ.เฉลิมชัย” ชวนชมนิทรรศการ “มหาอุทกภัยเชียงราย 2567” 

ปิดภารกิจ 1 เดือนฟื้นฟูแม่สายน้ำท่วม-กู้บ้านจมโคลน   

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง