ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เบื้องหลังไทยชนะเลือกตั้ง "สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน" UN

ต่างประเทศ
17 ต.ค. 67
18:20
636
Logo Thai PBS
เบื้องหลังไทยชนะเลือกตั้ง "สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน" UN
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ไม่ใช่เรื่องฟลุคแต่อย่างใด ไทยชนะการเลือกตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nation Hurman Rights Council) วาระปี 2025 ถึง 2027

ในวันที่มีการลงคะแนนเสียง 9 ตุลาคม 2024 ภาคประชาสังคมในไทยมีการรณรงค์และพยายามชี้ให้เห็นว่า ไทยมีสิ่งท้าทายต้อง ปรับปรุงเรื่องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ข่าวนี้ออกทั่วโลกเพื่อกระตุ้นสมาชิกที่จะโหวตให้ไทยได้ไตร่ตรองดู

ประเด็นนี้ น่าสนใจมาก คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับและเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับท่าทีและบทบาทไทยในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะบทบาทส่งเสริมกิจกรรมสากลที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งถ้าไทยไม่มีทุนเดิมด้านนี้ ไทยจะไม่ได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น

ข่าวสิทธิมนุษยชนในไทยเรามักได้ยินมาจากภาคประชาสังคมและข่าวต่างประ เทศผ่านสื่อทุกแพลตฟอร์ม มีการนำไปผูกเข้ากับการเมืองภายในไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งล้วนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแทบทั้งสิ้น โดยกลุ่มภาคประชาสังคมได้ตอกย้ำมาตลอด

การเลือกตั้งเป็นสมาชิก คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนครั้งนี้ ไทยได้คะแนนเสียงมากถึง 177คะแนน สูงที่สุดในประวัติการเลือกตั้งสมาชิก โดยไทยเคยพลาดในการเลือกตั้งครั้งที่แล้วในวาระปี 2015หลังการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ ไทยเข้านั่งที่คณะมนตรีนี้ครั้งแรกในปี 2012

เบื้องหลังชัยชนะครั้งนี้มีหลายปัจจัยช่วยไทย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ภายในไทยมีการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งส่งผลดีต่อการที่สมาชิกองค์การสหประชาชาติให้การสนับสนุน ยกตัวอย่าง ไทย ได้ลงมติ เห็นชอบ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การตราพ.ร.บ.กำหนดระยะเวลา ดำเนินการในขบวนการ ยุติธรรม 2022 และการขยายผล ของนโยบายเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเพิ่มการเข้าถึง และการขยาย การครอบคลุม ของบริการ สำหรับประชาชน ตามนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ พ.ร.บ.คู่ชีวิตเท่าเทียม

อีกประเด็นที่สำคัญคือ การเข้าเป็นภาคี อนุสัญญา ระหว่างประเทศ ว่าด้วย การคุ้มครอง บุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ โดยถูกบังคับ(International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance) พูดสั้นๆ คือการอุ้มฆ่านั่นเอง ในเดือนกันยายนปีที่แล้วและมิถุนายนที่ผ่านมาไทยยังได้ถอนคำแถลงตีความของไทย สำหรับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการ ปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีหลายขัอ

แต่ที่สำคัญและโดนใจสมาชิกที่เลือกไทยคือ ไทยได้ถอนข้อสงวนต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองเด็กที่ร้องขอสถานะเป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมาย หรือขบวนการภายใน ในเดือนสิงหาที่ผ่านมา ไม่กี่อาทิตย์ก่อนการลงคะแนน

ที่น่าศึกษา คือ ความท้าทายของการเมืองภายในประเทศจะมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ ตัวอย่าง เช่น การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคก้าวไกล และตัดสินให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งนั้นมีผลกระทบคะแนนหรือไม่ ดูผลโหวตที่ได้มา อาจจะสรุปได้ว่าไม่ได้ส่งผลกระทบกระเทือน ต่อการเลือกตั้งในองค์รวม เพราะคะแนนเลือกตั้ง จากสมาชิกองค์การสหประชา ชาตินั้น มีปัจจัยต้องนำพิจารณามากมาย

การรณรงค์หาเสียงแต่เนิ่น ๆที่ผ่านมาสองปีกว่าของไทย รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีผลต่อเนื่อง ในเวทีองค์การสหประชาชาตินั้นมีข้อปฏิบัติหนึ่งนักการทูตชอบทำกันคือการแลกเสียง พอประกาศสมัครรับเลือกตั้ง ก็จะเริ่มมีการเจรจาและแลกเสียงกับประเทศต่างๆ ปัจจัยสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คือ ความสำคัญทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ ซึ่งสำคัญมาก ๆ เพราะไทยมีความสัมพันธ์อันดี กับทุก ๆ ประเทศ และก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกัน ไม่รบราฆ่าฟันกับใครประเทศเหล่านี้ไม่ว่าจะอยู่ ไหน ฝั่งโลกตะวันตกหรือโลกตะวันออก ต่างให้การสนับสนุนไทย

นอกเหนือกว่านั้น มีการวางแผนและวิธีการดำเนินการที่ชัดเจนอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง มีการกำหนด แบรนด์ดิ้งไทยที่ชัดเจน ในประเด็นแรก ไทยเสนอตัวการเป็น สะพานเชื่อม และผสานความแตกต่าง ท่าทีของประเทศสมาชิก ช่วยแสวง หาทางออกและฉันทามติ โดยอาศัยจุดแข็งของไทยที่มีมุมมองในหลายเรื่องที่ก้าวหน้าคล้ายกับประเทศพัฒนาแล้ว

ไทยยังมีความเข้าใจในบริบททางสังคมศาสนา และวัฒนธรรม ของประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนั้นไทยยังสามารถส่งเสริมความร่วมมือ มุ่งลดความขัดแย้ง และสร้างพลวัตของความร่วมมือที่ดี และต้องการผลักดันให้ คณะมนตรีความมนตรีสิทธิมนุษยชน มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ กับประชาชน ในพื้นที่จริง และตอบสนอง ต่อความท้าทายต่างๆ

ต้องยอมรับว่า แบรนด์ดินของไทย สอดคล้องกับบริบทการเมือง ระหว่างประ เทศ และแล้วโน้มภูมิรัฐศาสตร์การแบ่งขั้ว ทำให้ไทยเข้าได้ทุกขั้ว ไทยยังมีประเด็นสนทนาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและภูมิภาค เช่น สำหรับประเทศขนาดกลางและขนาดเล็ก ไทยให้ความสำคัญกับการเป็นประเทศกลางที่สนับสนุน ให้ประเทศ กลางและเล็ก ให้มีส่วนร่วมและมีเสียงมากขึ้นในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชในนเวที สหประชาชาติ

สำหรับประเทศเล็ก ๆในหมู่เกาะต่าง ๆ ไทยให้ความสำคัญกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อสิทธิมนุษยชน ในขณะที่ประเทศแอฟริกา ไทยเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐานสิทธิในการพัฒนา ความร่วมมือด้านสาธารณสุข และการไม่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ

ต้องยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์จากภาคประชาสังคมไทยและนอกอยู่เป็นประจำ ทำให้ไทยไม่ประมาทหาเสียงเนิ่น ๆแม้นกับประเทศที่มีทัศนะคติลบต่อไทยเช่นสหรัฐอเมริกาหรือสวีเดน ไทยก็เข้าหาเพื่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น พบปะบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องพร้อมที่จะเปลี่ยนท่าที ของรัฐบาลเหล่านั้น

ประเด็นสุดท้าย คือ การใช้อดีตข้าราชการที่มีประสบการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชน มาช่วยกันรณรงค์ หาเสียง กระทรวงต่างประเทศได้ส่งอดีตรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ไปช่วยในงานนี้ที่นครนิวยอร์ค มีเน็ตเวิร์กเครือข่ายและประสบการ์ณการรณรงค์ในเวทียูเอ็น ทั้งยังเคยเป็นประธานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนที่นครเจนีวามาก่อน ไทยที่ได้รับเลือกตั้งในครั้งแรกวาระปี 2012

ดังนั้น คนไทยทุกภาคส่วนต้องติดตามและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องได้ทำตามสัญญาที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้กับประชาคมโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง