ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"สว.พิสิษฐ์" ปัดยื้อแก้รัฐธรรมนูญ ปมใช้เกณฑ์ Double Majority

การเมือง
30 ก.ย. 67
11:42
305
Logo Thai PBS
"สว.พิสิษฐ์" ปัดยื้อแก้รัฐธรรมนูญ ปมใช้เกณฑ์ Double Majority
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จับตา "วุฒิสภา" ถกวาระพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับที่สภาฯ ให้ความ เห็นชอบ หลัง "สว.พิสิษฐ์" เสนอให้ใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้นแก้รัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณา

วันนี้ (30 ก.ย.2567) การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ของวุฒิสภา ซึ่งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแล้วเสร็จในวันนี้ มีแนวโน้มเป็นไปได้สูงที่วุฒิสภา จะเห็นชอบตามที่กรรมาธิการวิสามัญเสนอ

โดยให้กำหนดเสียงการออกประชามติเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเสียงข้างมาก 2 ชั้นหรือ Double Majority หมายถึงการออกเสียงนั้น ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงต้องออกมาใช้สิทธิมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิทั้งหมด และผลลัพธ์จะต้องเป็นเสียงข้างมากของผู้ออกมาใช้สิทธิ

นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้แปรญัตติเพิ่ม ซึ่งกรรมาธิการเห็นด้วยและแก้ไขตาม แม้ว่ากรรมาธิการในสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎรจะสงวนความเห็นตามร่างที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ

ยืนยันไม่ได้เป็นการยื้อการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะหากจะมีผู้เสนอทำประชามติก็สามารถทำได้

โดยใช้กฎหมายประชามติฉบับปัจจุบัน ซึ่งตามหลักการก็ผ่านการทำประชามติมาแล้ว 2 ครั้ง คือรัฐธรรมนูญปี 2550 และปี 2560 ก็ไม่ได้เป็นปัญหาเรื่องเสียงข้างมาก 2 ชั้น เพราะการทำประชามติปี 2550 ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 45 ล้านคน ก็มีผู้ออกมาใช้สิทธิมากถึง 29 ล้านคน

ส่วนปี 2559 ผู้ ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 50 ล้านคน ก็มีคนที่ออกมาใช้สิทธิ์มากถึง 31 ล้านคน ดังนั้นเห็นว่าเสียงข้างมากสองชั้นไม่ได้เป็นปัญหา แต่เป็นหลักที่ชอบธรรม

นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้แปรญัตติเพิ่ม

นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้แปรญัตติเพิ่ม

นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้แปรญัตติเพิ่ม

สำหรับการออกเสียงประชามติร่างกฎหมายฉบับนี้ นอกจากการปรับให้มีการใช้เสียงผ่านประชามติข้างมาก 2 ชั้นตามเดิมแล้ว ยังมีการปรับแก้มาตรา 3 แก้ มาตรา 10 ให้ทำประชามติอยู่ในวันเดียวกับวันเลือกตั้งทั่วไป หรือวันเดียวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น กรณีครบวาระ

ส่วนมาตรา 4 กำหนดให้ผู้เข้าชื่อเสนอการทำประชามติไม่น้อยกว่า 50,000 คนสามารถชวนผู้มีสิทธิ์ ร่วมเข้าชื่อผ่านอิเล็กทรอนิกส์ได้

ขณะเดียวกัน มาตรา 6 กำหนดให้การทำประชามติผ่านทางไปรษณีย์ เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยมีวิธีป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชนเข้าถึงได้สะดวก โดยมาตรา 8 กำหนดให้การทำข้อมูลเผยแพร่นั้นต้องมุ่งหมายให้ประชาชนมีความเข้าใจเท่านั้นห้ามชี้นำให้มีการออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ

ด้านนายนิกร จำนง กรรมาธิการฯ สัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร  กล่าว่า หากวุฒิสภา เห็นชอบตามร่างกรรมาธิการก็จะต้องส่งเรื่องกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาคาดว่าจะเป็นวันที่ 9 ต.ค.นี้ ว่า สภาจะเห็นชอบตามร่างของวุฒิสภา หรือจะยืนยันตามร่างของสภาผู้แทนราษฎร

หากยืนยันตามร่างของสภาก็จะต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วมกันขึ้นมาพิจารณาศึกษาฝ่ายละ 10 คน คือวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร ภายใต้กรอบพิจารณาไม่เกิน 45 วันนับจากวันที่ตั้งกรรมาธิการ

อ่านข่าวอื่นๆ

ผลตรวจทอง "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" ต่ำกว่ามาตรฐาน-จ่อออกหมายจับ

เช็กช่องทางรับแลก "ธนบัตรชำรุด" เหตุน้ำท่วม

“ทองคำ” ร่วง 200 บาท “รูปพรรณ” ขายออก 39,825 บาท 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง