ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ธปท.ยัน "เมธี" นั่งบอร์ดค่าจ้างได้แม้เกษียณ

เศรษฐกิจ
23 ก.ย. 67
21:13
850
Logo Thai PBS
ธปท.ยัน "เมธี" นั่งบอร์ดค่าจ้างได้แม้เกษียณ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รมว.แรงงาน เผยยังไม่ได้รับคำตอบจาก ธปท.ปมไม่รับรองกรรมการค่าจ้าง เป็นเหตุให้การประชุมพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเลื่อนไม่มีกำหนด ขณะที่ ธปท. ชี้แจง "เมธี" ไม่มาประชุมไตรภาคี ระบุสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้จนครบวาระแม้เกษียณอายุราชการไปแล้ว

วันนี้ (23 ก.ย.2567) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง การปรับขึ้นค่าจ้างขั่นต่ำ รอบที่ 3 ของปี 400 บาท ต้องเลื่อนประชุมอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (24 ก.ย.) ออกไปโดยไม่มีกำหนด โดยมีสาเหตุมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่รับรองคุณสมบัติของนายเมธี สุภาพงษ์ กรรมการค่าจ้าง ฝ่ายภาครัฐ ที่เกษียณอายุจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาแล้วเกือบ 1 ปี

เบื้องต้น นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้ทำหนังสือทวงถามไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับข้อสรุปของปัญหานี้ เพื่อให้การประชุมคณะกรรมการค่าจ้างสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยนายพิพัฒน์ มองว่า คณะกรรมการค่าจ้างต้อง ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรัฐ ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายละ 5 คน รวม 15 คน ซึ่งภาครัฐประกอบด้วย กระทรวงแรงงาน 2 คน และหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ สภาพัฒน์ฯ และธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งการโหวตให้ชนะจะต้องใช้มติเสียงทุกภาคส่วนที่ 2 ใน 3

ซึ่งเข้าใจว่าฝ่ายนายจ้างต้องรักษาผลประโยชน์ของตนเองที่ต้องได้รับผลกระทบแน่นอน แต่ลูกจ้างก็เกิดการเรียกร้องที่ 492 บาท มาตั้งแต่รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังไม่เคยประสบผลสำเร็จ โดยที่ผ่านมา 12 ปีแล้ว หลังมีการประกาศปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ถึง 100 บาท หรือเฉลี่ยปีละ 8 บาท ซึ่งตนเองอยากให้ฝ่ายนายจ้างเข้าใจค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกๆ ปี แต่ค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ได้ขึ้นเร็วเท่าค่าครองชีพ ทำให้แรงงานต้องทำงานล่วงเวลา เพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว

ซึ่งที่ผ่านมาตนเองพยายามที่จะทำให้เกิดการประชุมพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบ 3 ของปีให้ได้ แต่ก็ไม่สามารถทำตามที่หารือกันไว้ได้ เพราะมีบางคนไม่พร้อมที่จะมาประชุม ตนเองจึงขอโทษที่ไม่สามารถจัดประชุมได้ในวันพรุ่งนี้ เนื่องจากต้องรอคำตอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจจะไม่ทันที่ปลัดคนปัจจุบันและกรรมการค่าจ้าง ฝ่ายภาครัฐที่มาจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะได้ทำหน้าที่ต่อ เนื่องจากเกษียณอายุสิ้นเดือนนี้ จึงจำเป็นต้องรอคนที่จะมาดำรงตำแหน่งใหม่ พร้อมขอโทษที่ไม่สามารถปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบ 3 ของปี ได้ทันตามที่สัญญา 1 ตุลาคมนี้

"ถ้าวันพรุ่งนี้ เราไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ การที่ผมเคยประกาศว่าจะขึ้นค่าแรงในวันที่ 1 ต.ค.ตัวผมเองก็ต้องขออภัย แต่ยังไงพวกเราก็ต้องเดินหน้า ถึงแม้รัฐบาลจะไม่ได้ประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาล แพรทองธาร ชินวัตร"

นายพิพัฒน์ ยังเปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานจะต้องหาสมดุลระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยเฉพาะเรื่องค่าแรง ที่ต้องปรับไม่ให้กระทบนายจ้าง และลูกจ้างสามารถอยู่ได้ ซึ่งตนเองรู้สึกลำบากใจมากๆ เพราะภาครัฐต้องอยู่ตรงกลาง อยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายเดินหน้า ซึ่งเชื่อว่าหากทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ก็จะเดินหน้าต่อไปได้

อ่านข่าว : ขึ้นค่าแรง 400 บาทไม่ทัน 1 ต.ค.67 เลื่อนประชุมบอร์ดไม่มีกำหนด

ธปท. ชี้แจง "เมธี" ไม่มาประชุมไตรภาคี

รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นายเมธี สุภาพงษ์ อดีตรองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ คณะกรรมการไตรภาคี โดยนามบุคคล สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป จนครบวาระ แม้เกษียณอายุราชการไปแล้ว

ทั้งนี้ แบงก์ชาติ ไม่เคยออกหนังสือว่า ไม่รับรอง นายเมธี ตามที่ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวอ้าง ส่วนการไม่มาประชุมคณะกรรมการไตรภาคี ในวันที่ 20 ก.ย.2567 เนื่องจาก ติดภารกิจส่วนตัวที่ต้องพบแพทย์ โดยได้แจ้งลาทางวาจา เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2567 และส่งหนังสือลา ในวันที่ 18 ก.ย.2567 จึงไม่ได้มีเจตนาให้การประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามที่ถูกกล่าวหา

ทั้งนี้ แบงก์ชาติ จะออกแถลงการณ์องค์กร หรือ statement นายเมธี ต่อประธานคณะกรรมการฯ ในวันพรุ่งนี้ (24 ก.ย.) เพื่อแสดงการสนับสนุน นายเมธี ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวต่อไป 

ขณะที่ นายเมธี ปฏิเสธ ที่จะแสดงความเห็นใดๆ ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

อ่านข่าว :

ล่มอีกรอบ! องค์ประชุมขึ้นค่าจ้าง 400 บาทไม่ครบเลื่อนถก 24 ก.ย.

"นายจ้าง" มองมุมต่าง ปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 กระทบต้นทุนธุรกิจ

สำรวจตัวเลข "ค่าแรงขั้นต่ำ" ใน-นอก กลุ่มประเทศอาเซียน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง