น้ำท่วม-โคลนถล่มตายสะสม 16 คน รพ.หนองคายปรับรับผู้ป่วย ER

ภัยพิบัติ
14 ก.ย. 67
16:14
1,348
Logo Thai PBS
น้ำท่วม-โคลนถล่มตายสะสม 16 คน รพ.หนองคายปรับรับผู้ป่วย ER
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สธ.สรุปน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม “เชียงใหม่-เชียงราย” ยอดเสียชีวิตสะสม 16 คน บาดเจ็บ 136 คน ส่วนหนองคาย รพ.2 แห่งปรับบริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินหลังน้ำโขงล้นตลิ่ง ทางหลวงอัปเดตเส้นทางสัญจร

วันนี้ (14 ก.ย.2567) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์อุทกภัยและดินโคลนถล่มในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 ระหว่างวันที่ 8-13 ก.ย.ที่ผ่านในพื้นที่ จ.เชียงใหม่และเชียงราย

โดยในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ครอบคลุม อ.แม่อาย และ อ.ฝาง ผู้ได้รับผลกระทบสะสม 2,978 ครัวเรือน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 109 คน ผู้บาดเจ็บสะสม 3 คน เสียชีวิตสะสม 6 คน รพ.สต.ได้รับผลกระทบ 1 แห่ง คือ รพ.สต.บ้านท่ามะแกง ยังปิดให้บริการ มีการเปิดศูนย์พักพิง 7 แห่ง (แม่อาย 6 แห่ง ฝาง 1 แห่ง) 

อ่านข่าว ระดมล้างโคลนกู้เมือง "แม่สาย" ของบ 100 ล้านเยียวยา

2 จังหวัดเสียชีวิต 16 คน

ส่วน จ.เชียงราย ได้แก่ อ.แม่สาย อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.เมือง ผู้ได้รับผลกระทบ 24,925 ครัวเรือน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 308 คน ผู้บาดเจ็บสะสม 133 คน เสียชีวิตสะสม 10 คน รพ.สต.ได้รับผลกระทบ 5 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.แม่สาย รพ.สต.โป่งผา รพ.สต.สามัคคีใหม่ รพ.สต.ป่ายาง และ รพ.สต.รอบเวียง แต่ยังสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ มีการเปิดศูนย์พักพิง 22 แห่ง (เมือง 12 แห่ง แม่สาย 7 แห่ง แม่จัน เวียงชัย และแม่ฟ้าหลวง อำเภอละ 1 แห่ง)

ภาพรวม 2 จังหวัดมีผู้เสียชีวิตสะสม 16 คน สาเหตุมาจากดินถล่ม พลัดตกน้ำ จมน้ำ และถูกกระแสน้ำพัด ผู้บาดเจ็บสะสม 136 คน

น้ำท่วมกระทบโรงพยาบาล 6 แห่ง

ปลัด สธ.กล่าวอีกว่า สถานบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบรวม 6 แห่ง บุคลากรทางการแพทย์ได้รับผลกระทบรวม 417 คน เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) แล้วทั้ง 2 จังหวัด นอกจากนี้ยังสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ ชุดตรวจโรคฉี่หนู รองเท้าบูท ยากันยุง  9,000 ชุด 

นพ.โอภาส กล่าวว่า ส่วนการดูแลสุขภาพประชาชน มีการจัดทีมปฏิบัติการฉุก เฉินทางการแพทย์ ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ระดับอำเภอ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทีมสุขภาพจิตทีมอนามัยสิ่งแวดล้อม หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว และทีมกู้ชีพกู้ภัย รวม 167 ทีม แบ่งเป็น เชียงใหม่ 52 ทีม และเชียงราย 115 ทีม ให้การเยี่ยมบ้าน 192 ราย ตรวจรักษา 1,662 คน ให้สุขศึกษา 2,443 คน สุขภาพจิต 784 คน ส่งต่อผู้ป่วย 30 คน

อ่านข่าว น้ำโขงขึ้นสูง เขื่อนไซยะบุรีปล่อยน้ำ ชาวบ้านทิ้งข้าวของ-เร่งอพยพ

น้ำกัดเท้า-กล้ามเนื้อ-เฝ้าระวังโรคระบาด

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ส่วนโรคและภัยสุขภาพที่พบส่วนใหญ่เป็นน้ำกัดเท้า รองลงมาเป็นอาการทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อจากไวรัส แต่ยังไม่พบการระบาดของโรคที่เกี่ยวข้องกับอุทกภัย

โดยในส่วนจังหวัดเชียงราย สถานการณ์น้ำเริ่มลดลง ได้ให้เร่งดำเนินการตามแผนฟื้นฟูหลังน้ำลด ดูแลสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและเฝ้าระวังปัญหาโรคระบาด

อ่านข่าว เลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก ศึกศักดิ์ศรีวัดเรตติ้ง เพื่อไทย-ประชาชน

จากการคาดการณ์ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และกรมอุตุนิยมวิทยา วันที่ 13-18 ก.ย.นี้ จะมีปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้น และตกหนักมากบางพื้นที่ อ.จอมทอง และ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง ได้กำชับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์

2 รพ.หนองคายปรับแผนรับผู้ป่วยฉุกเฉิน 

ส่วนที่จ.หนองคาย ระดับน้ำยังสูงขึ้น ล่าสุดได้รับรายงานสถานบริการได้รับผลกระทบ 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลหนองคาย และโรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ ตัองปรับการให้บริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนและบริหารจัดการทรัพยากรทางการแพทย์ไว้รองรับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

"คมนาคม" ส่งรถเรือช่วย

ด้านนางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม กล่าวว่า ได้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเรือท้องแบนพระราชทาน และยานพาหนะต่าง ๆ ช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือพร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะที่นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท อัปเดตสถานการณ์น้ำท่วม มีโครงข่ายทางหลวงชนบทที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย 9 สายทาง ดังนี้

  • ถนนสาย ชร.1023 บริเวณทางลอดหน้าท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง น้ำท่วมสูง 4.50 เมตร สัญจรไม่ได้
  • ถนนสาย ชร.1041  น้ำท่วมสูง 20 ซม.สัญจรได้
  • ถนนสาย ชร.4010 น้ำท่วมสูง 40 ซม.น้ำกัดเซาะคอสะพานขาดสัญจรไม่ได้
  • ถนนสาย ชร.1063 สะพานโยนกนาคนคร 3 น้ำท่วมสูง 30 ซม. สัญจรได้ และ(กม.ที่ 38+200 ถึง 39+200) สะพานโยนกนาคนคร 1 น้ำท่วมสูง 40 ซม. สัญจรไม่ได้
  • ถนนสาย ชร.5054 น้ำท่วมสูง 40 ซม.ไม่สัญจรได้
  • ถนนสาย ชร.4060 น้ำท่วมสูง 0.30 เมตร สัญจรได้

สำหรับผลกระทบจากน้ำท่วมบนถนนเชิงลาดสะพาน (สะพานชุมชน) จำนวน 3 แห่ง ดังนี้

  • สาย ชร.007 พ่อขุนเม็งรายมหาราช น้ำกัดเซาะคอสะพานขาด ไม่สามารถสัญจรได้
  • สาย ชร.022 ประชาร่วมใจ น้ำท่วมสูง 0.60 เมตร สัญจรไม่ได้
  • สาย ชร.016 สะพานแม่น้ำกก น้ำกัดเซาะสะพานขาด สัญจรไม่ได้

อ่านข่าว

จัดคิวรอบละ 5 นาทีส่อง "หมูเด้ง" เตรียมไลฟ์ 24 ชม.

มทบ.37 เร่งฟื้นฟูพื้นที่ "แม่สาย" บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง