รู้หรือไม่? ต่างชาติทำงานในไทยต้องจ่าย "ภาษี" เหมือนคนไทย

ไลฟ์สไตล์
12 ก.ย. 67
17:25
1,749
Logo Thai PBS
รู้หรือไม่? ต่างชาติทำงานในไทยต้องจ่าย "ภาษี" เหมือนคนไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
คนต่างชาติที่มีรายได้ในประเทศไทยจำเป็นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยวิธีการเสียภาษีและจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับสถานะผู้เสียภาษีและระยะเวลาที่พำนักอยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้น ๆ นอกจากภาษีแล้วยังมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่ต้องจ่ายเช่นกัน

ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีจำนวนทั้งสิ้น 3,346,665 คน (ข้อมูลสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน เดือน ส.ค.2567) คนต่างชาติที่มีรายได้ในประเทศไทย จำเป็นต้องเสีย "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" โดยวิธีการเสียภาษีและจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับสถานะผู้เสียภาษี และระยะเวลาที่พำนักอยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้น ๆ

เข้าใจให้ง่ายคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะขึ้นอยู่กับผู้ที่ได้รายได้จากงานในประเทศไทย หลักเกณฑ์ปฏิบัติไม่ต่างจากแรงงานไทย 

ถ้าเข้ามาทำงาน และอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาถึง 180 วัน และมีรายได้เกิดขึ้นก็ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

การเสียภาษีเงินได้ของคนต่างชาติในประเทศไทย

สถานะผู้เสียภาษี (Taxpayer Status)

  • ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (Resident) คนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันในปีภาษี จะถือว่าเป็น "ผู้มีถิ่นที่อยู่" และต้องเสียภาษีจากรายได้ทั้งหมดที่ได้รับทั้งในและนอกประเทศไทย
  • ผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (Non-resident) คนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันในปีภาษี จะถือว่าเป็น "ผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่" และต้องเสียภาษีเฉพาะรายได้ที่ได้รับจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทยเท่านั้น

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax Rates)

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยเป็นแบบอัตราก้าวหน้า โดยอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามจำนวนเงินได้สุทธิ (หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) ดังนี้

  • เงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาท เสียอัตราภาษี ยกเว้นภาษี (ไม่เสียแต่ต้องแจ้งกรมสรรพากร)
  • เงินได้สุทธิ 150,001 - 300,000 บาท เสียอัตราภาษีร้อยละ 5
  • เงินได้สุทธิ 300,001 - 500,000 บาท เสียอัตราภาษีร้อยละ 10
  • เงินได้สุทธิ 500,001 - 750,000 บาท เสียอัตราภาษีร้อยละ 15
  • เงินได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาท เสียอัตราภาษีร้อยละ 20
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 - 2,000,000 บาท เสียอัตราภาษีร้อยละ 25
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 - 5,000,000 บาท เสียอัตราภาษีร้อยละ 30
  • เงินได้สุทธิ 5,000,001 ขึ้นไป เสียอัตราภาษีร้อยละ 35
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

การหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน (Deductions and Allowances)

คนต่างชาติสามารถหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนบางประเภทได้ เช่นเดียวกับคนไทย ตัวอย่างเช่น

  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาท/ปี
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท (ถ้าแต่งงานและคู่สมรสไม่มีรายได้)
  • ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาท/บุตรหนึ่งคน (สูงสุด 3 คน)
  • ค่าลดหย่อนจากการลงทุน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และ ประกันชีวิต
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (Tax Filing)

คนต่างชาติที่มีรายได้ในประเทศไทยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด. 90/91) กับกรมสรรพากรไทย โดยที่แบบแสดงรายการภาษีจะต้องยื่นภายในวันที่ 31 มี.ค.ของปีถัดไป สำหรับรายได้ที่ได้รับในปีภาษีที่ผ่านมา

สนธิสัญญาภาษีซ้อน (Double Taxation Agreement)

ประเทศไทยมีการลงนามสนธิสัญญาภาษีซ้อนกับหลายประเทศ ซึ่งช่วยลดหรือยกเว้นภาษีบางส่วนให้กับคนต่างชาติที่มาจากประเทศที่มีสนธิสัญญานี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีซ้ำซ้อนในทั้ง 2 ประเทศ คนต่างชาติสามารถตรวจสอบสนธิสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศของตน เพื่อดูว่ามีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีบางส่วนหรือไม่

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

การหักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax)

คนต่างชาติอาจถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (เช่น ร้อยละ 5, ร้อยละ 10 หรือร้อยละ 15) สำหรับรายได้บางประเภทที่ได้รับในประเทศไทย เช่น ค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ โดยจะต้องนำยอดที่หักภาษี ณ ที่จ่ายนี้มาหักออกจากภาษีที่ต้องจ่ายในแบบแสดงรายการภาษีประจำปี

ต่างชาติมีรายได้ต้องจ่ายอะไรให้ประเทศไทยบ้าง

ไม่ใช่แค่ "ภาษีเงินได้" เท่านั้นที่คนต่างชาติต้องจ่ายให้กับประเทศไทย แต่ยังมีค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายจำเป็นที่คนต่างชาติต้องจัดการเพื่อให้สามารถมำงานได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย

ค่าธรรมเนียมวีซา (Visa Fee) คนต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศไทยต้องขอวีซาที่ถูกต้อง เช่น วีซ่าประเภท Non-Immigrant B (Business Visa) ค่าธรรมเนียมสำหรับวีซานี้จะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาของวีซาและประเทศต้นทาง แต่โดยทั่วไปค่าธรรมเนียมจะอยู่ระหว่าง 2,000-5,000 บาท หรือมากกว่านั้น

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน (Work Permit Fee) การทำงานในประเทศไทยจำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ซึ่งจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับกรมการจัดหางาน โดยค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องการใช้ใบอนุญาตทำงาน เช่น ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นประมาณ 750 บาท / 3 เดือน หรือมากกว่านั้นหากระยะเวลานานขึ้น

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ประกันสังคม (Social Security Contributions) หากบริษัทไทยจ้างคนต่างชาติทำงาน พวกเขาต้องสมัครเข้าระบบประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ซึ่งจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน ทั่วไปคือร้อยละ 5% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน) โดยนายจ้างและลูกจ้างจะแบ่งจ่ายกันคนละครึ่ง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากคนต่างชาติมีการประกอบธุรกิจในประเทศไทยที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และจัดเก็บ VAT ในอัตราร้อยละ 7 จากการขายสินค้าและบริการ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax) หากคนต่างชาติประกอบธุรกิจบางประเภท เช่น การให้บริการทางการเงิน การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม อาจต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายประเทศไทย

การปฏิบัติตามกฎหมาย ชำระภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนต่างชาติที่เข้ามาหารายได้ในประเทศไทย แต่หากพบการหลบเลี่ยง ก็มีบทลงโทษตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ตามมาตรา ดังนี้

มาตรา 51 คนต่างด้าวผู้ใดทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับตั้งแต่ 2,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่คนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในเวลาที่พนักงานสอบสวนกำหนดซึ่งต้องไม่ช้ากว่า 30 วัน พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับและดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้นเดินทางออกไปนอกราชจักรก็ได้

มาตรา 52 ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามมาตรา 9 มาตรา 13 มาตรา 14 หรือมาตรา 26 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

มาตรา 53 ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่แจ้งต่อนายทะเบียนตามมาตรา 22 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

มาตรา 54 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และถ้าคนต่างด้าวนั้นไม่มีใบอนุญาตทำงาน ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท/คนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน

มาตรา 55 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือสอบถามหรือหนังสือเรียก หรือไม่ยอมให้ข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสาร หรือหลักฐานแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 48 ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

อ่านข่าวอื่น :

คลิปเสียง “ลุงป้อม” โผล่ กับปมฝีมือใคร-หวังอะไร

"ชัยชนะ" โต้รัฐบาลข้ามขั้ว ปลื้มนายกฯ บรรจุ 3 นโยบาย ปชป.

เครนล้มทับรถจักรยานยนต์ย่านธนบุรี เจ็บ 1 คน คาดดินยุบตัว

ซ่อมต่อหรือขายทิ้ง ? วิธีดูแล "รถยนต์" หลังถูกน้ำท่วม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง