ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"วิโรจน์" แนะรัฐบาลแก้ 3 ปม แก้ไขปัญหายาเสพติดมีประสิทธิภาพ

การเมือง
12 ก.ย. 67
12:33
402
Logo Thai PBS
"วิโรจน์" แนะรัฐบาลแก้ 3 ปม แก้ไขปัญหายาเสพติดมีประสิทธิภาพ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"วิโรจน์" แนะรัฐบาลแก้ 3 ปมสำคัญ ช่วยแก้ปัญหายาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นจับผู้ค้ารายใหญ่ - สนับสนุนการฟื้นฟูยาเสพติด และยึดอายัดทรัพย์ตัดวงการยาเสพติด

วันนี้ (12 ก.ย.2567) ในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิสร กล่าวอภิปรายถึงการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยระบุว่า การแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยระบุว่า ยังไม่เห็นความชัดเจนทั้งการจัดสรรงบประมาณและการปฏิบัติงานทั้งรัฐบาลชุดก่อนและชุดปัจจุบัน 

หากรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลต้องคลาย 3 ปมสำคัญ คือ ได้แก่ปมที่ 1 คือ การจับต้องจับผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่และยึดทรัพย์ให้มากว่าการจับรายเล็ก ต้องขยายผลไปจับรายใหญ่ให้ได้ รวมถึงการแก้ไขกฎกระทรวงที่ลดการครอบครองจากยาบ้า 5 เม็ดเป็น 1 เม็ด ก็เกรงว่าจะเป็นการจับผู้เสพมากขึ้น และข้อมูลในเรือนจำมีแนวโน้มว่าจับผู้เสพมากขึ้น และปล่อยผู้จำหน่ายรายใหญ่ลอยนวล รวมถึงเมื่อผู้เสพถูกจับดำเนินคดีก็จะมีประวัติติดตัว ก็ยากที่จะหางานและประกอบอาชีพในอนาคต

นายวิโรจน์กล่าวว่า การที่เคยเป็นผู้ต้องขังจะทำให้รู้จักเครือข่ายยาเสพติด ระบบแบบนี้ทำให้ผู้ต้องขังคดียาเสพติดหวนกลับไปเกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดกว่าร้อยละ 76.9 การจับเป็นฉากหน้าที่ไร้ประสิทธิภาพและเป็นการป้อนแรงงานให้ธุรกิจยาเสพติด

เรือนจำจะกลายเป็น Co- Working Sapce ที่เป็นศูนย์ Up Skill - Re Skill ให้กับเอเยนต์ค้ายาเสพติด จากเด็กเดินยาก็จะเป็นอายุน้อย 100 เม็ดทันที 

รวมถึง คดียาเสพติด มีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการจับตัวเล็กตัวน้อยอาจมีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 9 หมื่นล้านบาท - 1 แสนล้านบาท

มาตรการที่รัฐบาลควรจะมุ่งเน้นไปที่การจัดสรรงบประมาณ  ในการทำงานร่วมกับชุมชน ภาคีเครือข่ายนำผู้เสพไปฟื้นฟูแบบสมัครใจ จึงจะเป็นการแก้ปัญหายาเสพติดย่างมีประสิทธิภาพ

ปมที่ 2 คือ การบำบัดฟื้นฟู ปัจจุบันยังไม่มีการส่งเสริมให้บำบัดโดยสมัครใจอย่างจริงจัง ขณะนี้ในระดับประเทศมีผู้ติดยาเสพติด 2 ล้านคน แต่เข้ารับการบำบัดเพียง 143,573 คน สะท้อนว่ารัฐบาลขาดการจูงใจผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดอย่างที่ควรจะเป็น

นอกจากนี้คอขวดที่เป็นอุปสรรคมากที่สุด สถานฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดและหอผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด ที่รองรับการบำบัดระยะยาว 2-4 เดือนซึ่งมีประสิทธิผลสูงมาก มีไม่เพียงพอ โดยกรุงเทพมี 1 แห่ง คือ บ้านพิชิตใจ บำบัดปีละ 300คนต่อปี และนอกสังกัด กทม.มี 2 แห่ง

รวมถึง ผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวช นั้นก็ยังขาดแคลน และขาดงบประมาณสนับสนุน โดยใน กทม.มีเพียง 30 เตียง เท่านั้น รวมถึงการส่งตัวผู้เสพเพื่อรับการบำบัดระยะยาวไม่สามารถทำได้ทันที โดยต้องรอคิวในการเข้ารับการบำบัด ควรปรับให้เข้ารับการบำบัดได้ทันที 

ขณะที่งบการบำบัดรักษา แม้จะมีการเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้สัดส่วน งบประมาณปี 68 อยู่ที่ราว 1,541 ล้านบาท เพิ่มจากปี 67 แต่ น้อยกว่าปี 64 ซึ่งงบประมาณอยู่ที่ 1,577 ล้านบาท 

3.ปมสุดท้าย รัฐบาลต้องใส่ใจการยึดอายัดทรัพย์ของผู้ค้ารายใหญ่ให้มากขึ้น สิ่งที่พ่อค้ายาเสพติดกลัวที่สุดไม่ใช่การติดคุกแต่คือ การถูกยึดทรัพย์ จากสถิติของกลางจากการจับของทหารบริเวณชายแดนตั้งแต่ปี 57-67 จาก 21 ล้านเม็ด และในปี 66 อยู่ที่เป็นกว่า 246 ล้านเม็ด โดยสถิติการจับยาเสพติดของ ตำรวจ ปส.อยู่ที่ ในปี 57 อยู่ที่ 96 ล้านเม็ด ปี 66 อยู่ที่ 532 ล้านเม็ด และปี 67 อยู่ที่ 810 ล้านเม็ด ยืนยันว่า การตัดอุปทานคือจับพ่อค้ารายใหญ่

สิ่งที่พ่อค้ารายใหญ่กลัวมากที่สุด คือการยึดทรัพย์ ความมั่งคั่งจากการสะสมเงินสกปรกก็จะมลายหายไป ลูกสมุนก็จะหายไป และไม่มีทุนกลับมาค้ายาเสพติดต่อไป

แม้ที่ผ่านมาจะยึดทรัพย์ได้มากโดยในปี 57 โดยอยู่ที่ 2,780 ล้านบาท การยึดทรัพย์ราว 2,000 ล้านบาท และยึดจริงจังปี 64 ยึดได้ 7,300 ล้านบาท และปี 66 อยู่ที่ 15,000 ล้านบาท และหากตัดคดีตู้ห่าวไป 5,000 ล้านบาท ปี 67 ยึด 8,800 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะยึดทรัพย์ได้ต่ำกว่าปี 66

แม้การยึดทรัพย์จะเพิ่มแต่มูลค่าการยึดทรัพย์ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างได้สัดส่วน และควรพัฒนาระบบสืบทรัพย์ให้ดีขึ้น มูลค่าการยึดอายัดทรัพย์ควรจะอยู่ที่ราว 2 - 3 หมื่นล้านบาทได้ ซึ่งจะทำให้เงินในกองทุนป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดมีเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถนำไปสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติดในด้านต่าง ๆ ได้

อ่านข่าว : ถ่ายทอดสด "ครม.แพทองธาร" แถลงนโยบายต่อรัฐสภา วันแรก 12 ก.ย.  

"เท้ง ณัฐพงษ์" ตั้งฉายารัฐบาล 3 นาย "นายใหญ่ นายทุน นายหน้า" 

เปิดคำแถลงนโยบาย "รัฐบาลแพทองธาร" ต่อรัฐสภา ฉบับเต็ม 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง