ย้อนอดีต-มองอนาคต การเมือง-ปกครอง “เมียนมา”ตอน 2

ภูมิภาค
8 ก.ย. 67
18:00
217
Logo Thai PBS
ย้อนอดีต-มองอนาคต การเมือง-ปกครอง “เมียนมา”ตอน 2
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ควรจะเป็นในรูปแบบสหพันธรัฐ เพราะแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีพหุวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เช่น ความเชื่อ วิถีชีวิต โดยรวมกันแบบหลวม ๆ และมีรัฐบาลกลางคอยดูแลในการบริหารภาพใหญ่ แต่อาจใช้เวลานาน กว่าเมียนมาจะเดินไปถึงจุดนี้ เนื่องจากมีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่

นี่คือความเห็นส่วนหนึ่งของ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และการเมือง ในแวดวงการศึกษาและทางการเมืองในประเทศไทย รวมถึงผู้ผลักดันเชียงใหม่จัดการตนเอง เกี่ยวกับความขัดแย้งและทางออกประเทศเมียนมา

ไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ จะนำความคิดเห็นทั้งหมดของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และการเมือง ท่านนี้มาสุรปเป็นประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของเมียนมาดังนี้

ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และการเมือง

ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และการเมือง

ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และการเมือง

และจากการติดตามข่าว พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง กับผู้แทนพิเศษของจีน ที่เยือนเมียนมา ปรากฏสีหน้าและท่าทางของพลเอกอาวุโส มิน อ่อง ก็ไม่ค่อยสู้ดีนัก

ที่ผ่านมาเคยวิเคราะห์ไว้หลายครั้งว่า สถานการณ์ของ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หลาย น่าจะออกมา 2 รูปแบบ คือ หากไม่โดนคณะทหารด้วยกันยึดอำนาจ ก็จะพ่ายแพ้ต่อกลุ่มกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ ที่กำลังต่อสู้กันขณะนี้

พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หลาย

พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หลาย

พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หลาย

เมียนมาคิดว่าตนเองมีความสำคัญ ในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากที่นำโดยนายพล อองซาน ก่อนที่จะถูกฆาตกรรม ทำให้กองทัพเมียนมาหรือชนชาติเมียนมา คิดว่าเมียนมาเป็นปึกแผ่นและได้เอกราชเพราะเป็นฝีมือของรัฐบาลในขณะนั้น ดังนั้นจึงแสดงและมีอำนาจในการควบคุมปกป้องประเทศมาอย่างยาวนาน

นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และการเมือง ท่านี้กล่าวต่อว่า แน่นอนว่าชนเผ่าในเมียนมา ที่มีเยอะมาก และมีอิสระ มีประวัติ มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้จึงมีความภูมิใจในชาติกำเนิดตนเอง จึงไม่อยากอยู่ภายใต้อำนาจของคนเมียนมา

ตอนทำสนธิสัญญาปางโหลง รัฐบาลเมียนมาให้สัญญาว่า 10 ปีหลังจากประกาศเอกราช จะให้รัฐที่พร้อมแยกไปปกครองตนเองภายในกรอบของสหพันธรัฐเมียนมา ก่อนจะโดนฉีกสัญญาทิ้ง ทำให้เกิดความขัดแย้งในประเทศเมียนมาขึ้นจนถึงทุกวันนี้

แนวโน้มจะเป็นไปในทิศทางไหน

ตนมองว่า อย่างไร พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย จะพ่ายแพ้ต่อฝ่ายต่อต้าน หรือ ไม่ก็จะโดนล้มอำนาจโดยทหาร ซึ่งแน้วโน้มน่าจะเป็นอย่างแรกมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามหากฝ่ายต่อต้านชนะก็จะยังคงมีปัญหาตามมา เนื่องจากมีหลากหลายชาติพันธ์ รวมถึงแต่ละฝ่ายไม่ได้มีความเป็นปึกแผ่นเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงก็แตกแยกหลากหลายกลุ่ม ชาติพันธ์ไทใหญ่ ก็แยกเป็นกองทัพรัฐฉานเหนือ กองทัพรัฐฉาน ซึ่งจะมีปัญหาใหญ่คือเรื่องของเขตแดนและผลประโยชน์ เว้นเสียแต่ว่าถ้าผ่านการเจรจาตกลงกัน โดยอาจจะจัดไปในรูปแบบสหพันธรัฐ แต่มองว่าจะเป็นไปได้ยากที่จะเป็นในรูปแบบสหพันธรัฐ และน่าจะยังอีกยาวไกล

โดยหลักแล้วสถานการณ์ในขณะนี้ถือว่าเป็นรัฐเดี่ยว ระบบราชการก็จะเป็นแบบระบบเดี่ยว และต้องขึ้นกับส่วนกลางที่เนปิดอร์ หากฝ่ายต่อต้านยังไม่สามารถโจมตีให้ฝ่ายรัฐบาลทหารเมียนมาแพ้ไปได้ ก็พวกเขาก็จะยังคงส่งเจ้าหน้าที่เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เข้ามาประจำการในส่วนภูมิภาคที่ยึดได้อยู่ดี แต่มองว่าได้ว่าอำนาจอธิปไตยของรัฐบาลเมียนมาไม่สมบูรณ์ 100 %

หาก NUG หรือ รัฐบาลเงา เข้ามาบริหารประเทศแทน มิน อ่อง หล่าย จะทำให้เมียนมา กลับเข้าสู่ภาวะปกติได้หรือไม่ ?

ถ้า NUG ขึ้นมาปกครองประเทศ ก็ต้องขึ้นชั่วคราวไม่นาน เพื่อจะนำไปสู่การเลือกตั้ง และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยออกแบบจากประชาชนอย่างแท้จริง แต่หากเป็นลักษณะนี้มองว่า จะเกิดคนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะคิดว่าน่าจะมีคนลุกฮือทั่วประเทศ และมองว่าเป็นสูตรสำเร็จ เพราะที่ผ่านมา หลังการปฏิวัติใหญ่จะตามมาด้วยความขัดแย้ง และตามด้วยเผด็จการเสมอ เพราะการปฏิวัติที่มาจากประชาชนไม่ว่าที่ไหน มักจะเกิดความขัดแย้ง แม้ว่าจะดึงกลุ่มชาติพันธ์เข้ามาเป็นส่วนร่วม แต่ก็ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีกว่าปัจจุบันที่เป็นอยู่

การต่อสู้ขณะนี้ สิทธิพลเมืองของประชาชนในเมียนมายังคงมีอยู่หรือไม่ ?
สิทธิตามกฏหมาย หรือตามรัฐธรรมนูญก็ยังคงมีอยู่เพราะมีเขียนไว้ แต่ในแง่ปฏิบัติจริงกลับมีสิทธิน้อย

ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้ถูกบังคับเกณฑ์ทหาร ทั้งชายและหญิงทุกคนที่อายุถึงเกณฑ์ หากใครไม่อยากเป็นก็จ่ายใต้โต๊ะ ดังเช่นที่เห็นข่าวในปัจจุบันว่า ชาวเมียนมา มักหนีเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ผ่านทางช่องทางธรรมชาติ ส่วนคนที่มีเงินก็จะมาซื้อคอนโดอยู่ในประเทศไทย แต่ก็ถูกควบคุมเรื่องการเงินข้ามประเทศอย่างเข้มงวด นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งว่า เรื่องสิทธิในเมียนมามีอยู่หรือไม่

มองว่า กฏหมายในเมียนมา คาดว่าควรจะต้องเปลี่ยน ซึ่งจะต้องถามคนในพื้นที่และออกแบบจากประชาชน ว่าต้องการอย่างไร ให้ประชาชนในประเทศมีส่วนร่วม และต้องตอบสนองต่อประชาชน ต้องมีสิทธิเสมอภาคกันให้มากที่สุด

ในฐานะนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และการเมืองมองว่า ควรจะเป็นในรูปแบบสหพันธรัฐ เพราะแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีพหุวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เช่นความเชื่อ วิถีชีวิต โดยรวมกันแบบหลวม ๆ และมีรัฐบาลกลางคอยดูแลในการบริหารภาพใหญ่ แต่อาจจะต้องใช้เวลานาน กว่าเมียนมาจะเดินไปถึงจุดนี้ เนื่องจากมีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ ซึ่งหากเป็นไปได้ประเทศเมียนมาจะเป็นประเทศที่กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง เนื่องจากเมียนมา มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ที่มีคนพร้อมจะเข้าไปลงทุนและ มีประชากรเยอะซึ่งตอบโจทย์ในการลงทุน

รายงาน:ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง