ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"มารีญา" กับแนวคิดสีเขียว One Health เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

Logo Thai PBS
"มารีญา" กับแนวคิดสีเขียว One Health เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใคร ๆ ก็พูดได้ แต่จะลงมือทำจริง รณรงค์ สืบหาข้อมูล และชักชวนให้คนทั้งประเทศสนใจ ปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมได้มากน้อยแค่ไหน เป็นอีกเรื่องหนึ่ง "มารีญา พูลเลิศลาภ" ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันแนวคิดที่อธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน มองทุกชีวิตรวมเป็นสุขภาพอันหนึ่งอันเดียว หรือที่เรียกว่า "One Health" จะมาไขคำตอบใน "รายการคุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น" ที่ผ่านมา เธอทำอะไรบ้าง เพื่อทำให้คนไทยได้เห็นว่า นับจากนี้จะช้าไม่ได้อีกแล้ว เพื่อกระทำการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะมนุษย์มีโลกนี้ ใบเดียวเท่านั้น

"มารีญา" อธิบายความหมายของ "One Health" ว่า ทุกอย่างบนโลกใบนี้มีความเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะสุขภาพของมนุษย์ สุขภาพของสัตว์ทุกชนิด …เมื่อเข้าใจ.. จึงทำให้ตระหนักมากขึ้นกับกิจกรรมกับสิ่งที่ทำ รวมถึงวิธีการใช้ชีวิตในทุกวันในทุกมิติ

"ทุกคนมีโอกาสสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ดังนั้นจึงต้องเริ่มกับตัวเองก่อน คิดว่าสิ่งแวดล้อมของเรามีผลกระทบต่อสุขภาพเรา มันส่งผลกระทบไปถึงคนที่เรารัก ยิ่งทำให้อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง พอเรายิ่งเห็นว่ามันมีผลกระทบต่อสังคม เลยเริ่มเข้าใจว่ามันเกี่ยวข้องกันหมด"

โลกกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต

..ถามว่า.. เรารู้ได้อย่างไรว่าโลกกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต ? การแปรปรวนภูมิอากาศ "Climate change" ได้มีการก้าวขีดความจำกัดความปลอดภัยโลกมาหลายอย่าง ข้อมูลจากปี 2020 – 2022 โลกของเราได้เกิดปรากฏการณ์ลานีญา 3 ปีซ้อน แต่ในปี 2022 กลับเป็นปีที่ร้อนที่สุด เป็นอันดับ 5 ที่เคยถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ทั้งที่การเกิด "ลานีญา" ที่ส่งผลให้ฝนตกมากกว่าปกติแต่กลับสวนทางด้วยอากาศที่ร้อนขึ้น …ไม่ว่าจะเป็นการเผา รถยนต์ปล่อยควันดำ ภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ กลายเป็นตัวเพิ่มอุณหภูมิของโลก

ในขณะที่แม่น้ำของเราได้กักเก็บอุณภูมิไว้ 95% เพื่อช่วยสร้างสมดุล แต่กลายเป็นว่าอุณหภูมิน้ำทะเลกลับเพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ใต้ท้องทะเล เช่นพื้นที่ป่าแอมะซอนที่เคยเป็นผืนป่าบนโลกที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด ประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมดของป่าแอมะซอนได้กลายเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในปริมาณสุทธิมากกว่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว รวมถึงในประเทศอย่าง สวีเดน เยอรมนี ฟินแลนด์ ที่ในอดีตเคยเป็นประเทศที่มีอากาศบริสุทธิ์ก็กลายเป็นแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์ แปลว่า โลกของเราที่เคยสร้างสมดุลเพื่อที่ช่วยเรา ตอนนี้ช่วยไม่ได้แล้ว เพราะมันเลยจุดเกินอันตรายมาแล้ว ไม่สามารถกลับไปจุดสมดุลในเรื่อง Climate Change ได้

ผู้เชี่ยวชาญ ได้มีการคำนวณอุณหภูมิบนโลกใบนี้ ปกติจะมีการขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด แต่จะไม่เคยเกิน 2 องศาเซลเซียส แต่ในปีนี้ผ่านมาแค่ครึ่งปีคาดว่าจะถึง 1.5 องศาเซลเซียส หมายความว่าอาจจะเกิดจุดพลิกผัน ที่ทำให้เกิดน้ำแข็งละลายในกรีนแลนด์ และเกิดปะการังฟอกขาวใต้ท้องทะเลหนักกว่าเดิม จากที่ปัจจุบันในประเทศไทยมีปะการังฟอกขาวมากกว่า 90% ดังนั้น หากอุณภูมิเพิ่มขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส ปะการังอาจจะฟอกขาวทั้งหมด นั่นหมายถึงความหลากหลายทางชีวภาพใต้ท้องทะเลก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนไป

"...ถามว่ามันจะกลับมาไหม.. ตอบได้ว่ามันเป็นอะไรที่ยากมาก เพราะพอเราถึงจุดพลิกผันขีดสุด มันจะเหมือนผลกระทบแบบโดมิโน เปรียบเสมือนร่างกายคน ถ้าเรามีไข้ 40 องศา ถ้าอุณหภูมิร่างกายเราเพิ่มขึ้นเป็น 42 องศา อาการเราก็จะหนัก เฉกเช่นโลกในตอนนี้"

ผลกระทบทางทะล

ในฐานะทูตด้านฉลาม (WildAid) มารีญา บอกว่า ได้เห็นกับตาตัวเองเมื่อฉลามที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารสูงสุดของท้องทะเล มาหน้าที่ดูและประชากรในน้ำ แต่ปัจจุบันที่ปริมาณฉลามลดลงอย่างรวดเร็ว จากการถูกล่าและการใช้เครื่องมือจับปลาขนาดใหญ่ที่ทำให้ฉลามติดขึ้นมาด้วย ระบบห่วงโซ่อาหารเกิดความไม่สมดุลกัน ปลาหมอ ที่เป็นอาหารของฉลาม จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะกินสิ่งที่อยู่ใต้ห่วงโซ่อาหารเยอะขึ้น เช่น ปลานกแก้ว เมื่อปลานกแก้วเริ่มหายไป จะไม่มีเพียงพอทำความสะอาดปะการัง ปะการังก็จะเต็มไปด้วยสาหร่ายต่าง ส่งผลให้ตัวอ่อนปะการังไม่มีที่ลงเกาะ แล้วก็จะไม่มีปะการังตัวอ่อนมาทดแทนตัวเก่า สุดท้ายแล้วระบบนิเวศใต้ท้องทะเลก็จะล่มสลาย

..ถามว่าเราทำอะไรได้บ้าง ในฐานะประชาชนที่จะช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับมา..

คิดว่า สิ่งสำคัญ คือ การเริ่มต้นจากมุมมองความคิด ลองคุยเพื่อให้เข้าใจความต้องการของตัวเอง และเริ่มค่อย ๆ ทำจากสิ่งเล็ก ๆ จากการที่ต้องใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเดินทาง ไฟฟ้า หรือทุก ๆ กิจกรรม อาจจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แต่มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ต่อคนรอบข้าง และโลกใบนี้ของเรา แต่รัฐก็จะต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระบบไฟฟ้า ระบบพลังงาน ที่รัฐบาลไทยมีเป้าหมายจะหาพลังงานทดแทนนั่นก็คือโซล่าเซลล์ กลายเป็นว่าคนเข้าถึงได้น้อย เนื่องด้วยมีราคาแพง ปัจจุบันมีเพียงแค่ 3% เท่านั้น

ทำไมเราไม่มีโซล่าเซลล์บนโรงพยาบาลทุกที่ ทำไมไม่มีในทุกโรงเรียน จึงรู้สึกว่าคนไทยได้ผลกระทบจากสิ่งนี้ เพราะยังต้องจ่ายค่าไฟที่แพงและไม่เท่าที่ควรจะเป็น สำหรับคนไทยคนนึงรู้สึกว่ามันน่าอึดอัด เพราะว่าเราไม่มีทางเลือก

มาถึงเรื่อง "ระบบอาหาร" (Food Systems) มีความเชื่อมโยงไปถึงการใช้ที่ดิน สอดคล้องกับ 45% บนโลกใบนี้เป็นพื้นดินที่เราสามารถอยู่ได้ โดยในจำนวนนี้ 16% ถูกใช้สำหรับการปลูกพืชผักที่มนุษย์กินได้ ที่เหลือเกือบ 80% เป็นปศุสัตว์ กับสิ่งทอ ดังนั้นหากเราดู "Global calorie Supply" กับ "Global protein Supply" การให้พลังงาน – โปรตีน มากขนาดไหน จากสิ่งเหล่านี้ "การที่เราใช้พื้นที่ 80% สำหรับปศุสัตว์ เราได้โปรตีนไม่ถึง 20% พอเทียบกับ 16% ที่เราใช้สำหรับปลูกพืชผักที่มนุษย์กินได้ มีแคลอรี่ 80% และ โปรตีน กว่า 60% พอเทียบกับพื้นที่ที่เราใช้กับปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์เนื้อนมไข่ ได้แคลอรี่ ไม่ถึง 40% โปรตีน ไม่ถึง 40% แปลว่าเราใช้พื้นที่เล็กมาก ที่สามารถสร้างพลังให้มนุษย์ได้เยอะมาก"

เชื่อมโยงมาถึงการที่คนไทยต้องเผชิญกับวิกฤต PM 2.5 ส่วนใหญ่มาจากเผาไร่ที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์ ทั้งในเรื่องของการที่ต้องถางป่ากระตุ้นการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ยิ่งการใช้พลังงานเยอะก็ยิ่งเป็นการส่งผลกระทบต่อโลก และสิ่งมีชีวิต

"มารีญาได้ไปเห็นฟาร์มไก่สองที่ มีการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม ไก่เหล่านี้มีชีวิตที่ไม่สามารถแสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติได้เพราะเลี้ยงแบบขัง และชนิดไก่ที่ใช้เป็นชนิดที่โตเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับฟาร์มไก่ออแกนิคมีสวัสดิภาพที่ดีกว่า"

ถามว่า..ทำมาถึงตอนนี้ มีกำลังใจไหม…?

"มารีญา" บอกว่า มีกำลังใจมากเนื่องด้วยสิ่งที่ได้ทำมีประโยชน์ต่อคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด, พ.ร.บ. ช้างไทย ที่ตอนนี้ที่โลกมีผู้ลงชื่อสนับสนุนกว่า 170,000 รายชื่อจากทั่วโลก เพื่อให้เกิดการปฏิรูปเชิงกฎหมายและนโยบายอย่างจริงจังและยั่งยืนของสวัสดิการช้างไทย, ทั้งในเรื่องของฉลาม ที่ปีนี้ในประเทศไทยมีการรับประทานหูฉลามน้อยลงถึง 34% ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น

ปีนี้ มารีญา ไม่ได้บินเลย เราพยายามบินให้น้อยที่สุด ถ้าเราสามารถนั่งรถบัส รถตู้ รถไฟ จักรยาน หรือเดิน รวมถึงเรื่องแฟชั่นเหมือนกัน ก็จะเลือกใส่ซ้ำๆ และเลือกซื้อของที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนการรับประทานอาหารก็จะตักอาหารแค่พอกินไม่ตักเหลือทิ้ง

แล้วจะชักชวนคนไทยอย่างไร ให้ปรับวิธีคิด - วิถีชีวิตอย่างไร...

มารีญา เคยทำงานวิจัยเรื่องพลังงานสะอาด มีข้อที่ทำเรื่องของการมีครอบครัว.. ซึ่งในคำตอบมองว่า ครอบครัวสำคัญมาก หลายคนอยากจะมีลูก อยากมีครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ หลายคนดูแลพ่อแม่ ฉะนั้น ถ้าเรารู้ว่า ครอบครัวจะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ และต้องการให้ได้กินน้ำกินอาหารที่ดีปลอดสารพิษ สารเคมี ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ ปราศจากฝุ่น PM 2.5 ก็จะทำให้เรารู้สึกว่าได้ต้องปรับวิถีชีวิตตัวเองเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ อาจจะไม่ต้อง 100% แค่คนละนิดคนละหน่อยเชื่อว่าโลกของเราก็จะค่อยๆ กลับมาเหมือนเดิมได้

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ มีความตื่นตัวเรื่องนี้ นั่นก็เพราะว่าเขาไม่มีทางเลือกแล้ว เขาต้องเผชิญกับเวลาที่เหลืออยู่ของสิ่งแวดล้อมที่น้อยลงเรื่อย ๆ บางคนบอกสายไปด้วยซ้ำกัน บางคนคิดว่าสายไป แต่มารีญาคิดว่า ไม่มีอะไรสายเกินไป เพราะโลกนี้มีใบเดียว เพราะฉะนั้นเราต้องทำ ยิ่งทำเร็ว ยิ่งได้ประโยชน์

พบกับ :รายการคุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 21.30-22.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส

อ่านข่าว : "พล.อ.ประวิตร" ลาออกหัวหน้า พปชร. เปิดทางเลือก กก.บห.ชุดใหม่

"ชัยวุฒิ” รับ "ไพบูลย์" เหมาะนั่งเลขาฯ "พปชร." แทน "ธรรมนัส"

อัปเดตเส้นทางพายุ "ยางิ" กรมอุตุฯ เตือน "เหนือ-อีสาน" ฝนตกหนัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง