รัฐบาลเตรียมปลุกผีโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

Logo Thai PBS
รัฐบาลเตรียมปลุกผีโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชาวสะเอียบหวั่น ป่าสักทองสูญและชุมชนถูกอพยพ ประกาศสู้ เตรียมปิดหมู่บ้าน ข้อมูลผลศึกษากลายเป็นปัญหาการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไม่ได้มีอยู่แล้ว แต่นักการเมืองไม่สนใจ ดันสร้างโครงการขนาดใหญ่โดยอาศัยกระแสน้ำท่วม ชาวสะเอียบวุ่นหนักเรียกแกนนำประชุม

รัฐบาลเตรียมปลุกผีโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ล่าสุดชาวสะเอียบกว่า 2,000 ครอบครัว ต่างเสียใจกับการตัดสินใจของนักการเมือง ที่จะกลับมาสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นอีกครั้ง

แกนนำคัดค้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชุมถึงการตัดสินใจของรัฐบาล หลายกลุ่มชาวบ้านทั้งบ้านแม่เต้น, บ้านดอนแก้ว, บ้านดอนชัย และบ้านดอนชัยสักทอง ต่างพากันออกมาพูดกันในตลาดถึงกรณีที่รัฐบาลตัดสินใจ ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาลในขณะนี้

เส็ง  ขวัญยืน  อดีตกำนันตำบลสะเอียบ

เส็ง ขวัญยืน อดีตกำนันตำบลสะเอียบ

เส็ง ขวัญยืน อดีตกำนันตำบลสะเอียบ

นายเส็ง ขวัญยืน อดีตกำนันตำบลสะเอียบ และแกนนำต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นแกนนำต้านเขื่อน ในสมัยที่มีกระแสรุนแรงกว่า 20 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้าน กล่าวว่า คิดไว้ในใจแล้วว่า ต้องมีคนปลุกผีแก่งเสือเต้นขึ้นมาจากนักการเมือง การต่อสู้เรื่องแก่งเสือเต้นสู้มาหลายยุค หลายรัฐบาล พบว่ามีการอนุมัติงบประมาณศึกษาโครงการสร้างเขื่อน ใช้เงินงบประมาณครั้งละ 100-200 ล้าน แล้วก็ไม่เกิดอะไร

ถ้ารัฐบาลเอางบประมาณที่ไปศึกษา มาแก้ปัญหาน้ำสร้างโครงการขนาดเล็ก ขนาดกลาง บล็อกน้ำแต่ต้นทางป่านนี้คงจะบรรเทาไปได้มากแล้ว

น้ำท่วมครั้งนี้ยังถือว่าโชคดี ที่น้ำสาขาแม่น้ำยมไม่มีน้ำป่าออก มีเพียงต้นน้ำที่ อ.ปง ถ้าล็อคน้ำตามโครงการกิ่วผาวอก โครงการน้ำเม่า, โครงการน้ำลู ถ้าบล็อกได้น้ำยมก็จะไม่ท่วม และแทบจะไม่มีน้ำไหลลงแม่น้ำยม น้ำปี๊ในเขต อ.เชียงม่วน จ.พะเยา

มีโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำปี้นานแล้ว แต่ไม่เสร็จผู้รับเหมาทิ้งงาน น้ำปี๊เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้น้ำท่วมแพร่ สุโขทัยในครั้งนี้ คือ น้ำที่ไหลมาจาก อ.บ้านหลวง จ.น่าน อยากให้นักวิชาการทำวิจัย ถ้าบล็อกน้ำปี๊ได้ทั้งหมดจะมีความรุนแรงเมื่อน้ำหลากซักกี่เซ็นต์ กี่เมตร ศึกษาให้รู้ชัดเจน

การต่อสู้ของชาวสะเอียบ สู้มานานกว่า 30 ปี นับแต่ปี พ.ศ.2532 เป็นต้นมา มีแกนนำต่อต้านเขื่อน สิบกว่าคนแล้ว บางคนอายุมาก แก่ เสียชีวิตไปก็มาก โดยเฉพาะกำนันชุม สะเอียบคง ที่เสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้ว เรื่องนี้ไม่รู้จบเพราะรัฐบาลเลี้ยงไข้มากกว่า ประชากรใน 4 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากปี 2538 เป็นต้นมา

สะเอียบมีเศรษฐกิจที่ดีเก็บภาษีได้ปีละ 500 ล้านเศษ ถือว่าไม่ธรรมดาแล้ว สะเอียบเป็นชุมชนที่อยู่รวมกันหนาแน่น ถ้าเป็นไปตามรัฐบาลว่า จะเป็นเรื่องใหญ่สร้างความวุ่นวายมีความเดือดร้อนกับประชาชนในพื้นที่ ที่ได้รับบาปจากภัยธรรมชาติ

ชาวสะเอียบคงต้องกลับไปใช้วิธีเดิมๆ มาแบบเดิมเราก็ไปแบบเดิม ฟังจากการประชุมสรุปว่า ไม่มีวิธีไหนที่จะดีกว่าวิธีที่เคยปฏิบัติมา แบบนุ่มนวลก็เคยทำมาแล้วแต่อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่ง ต่อไปก็คงต้องใช้ระบบเหมือนปี 2538 คงจะมีการประกาศปิดพื้นที่ ห้ามผู้เกี่ยวข้องเข้ามาหาข้อมูลต่างๆ อย่าง เช่น กรมชลประทานที่ทำโครงการค้างๆ ไว้ ต้องมาพูดกันอีกครั้งว่ามีความจริงใจมากแค่ไหน

ณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ

ณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ

ณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ

นายณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ ในฐานะ แกนนำต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น กล่าวว่า ได้ติดตามข่าวจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี คือจะเอาป่า 100,000 ไร่ ที่แพร่ไปแลกกับที่ทับลาน

เรื่องนี้ทำไม่ถูกต้อง รัฐบาลไม่เคยคิดศึกษาผลกระทบในแต่ละจังหวัดก่อน จะเอาป่าของชาวแพร่ไปแลกกับทับลาน ชาวสะเอียบไม่ยอม การต่อสู้ต่อต้านเขื่อนขาวชาวสะเอียบ แกนนำสำคัญๆ หลายคนเสียชีวิตไปโดยเฉพาะกำนันชุม สะเอียบคง แต่ชาวสะเอียบมีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำหน้าที่

อย่าคิดว่า นายชุม สะเอียบคง นายก อบต.สะเอียบ หมดไปแล้วคิดว่าจะไม่มีคนไหนขึ้นมาอีกอย่าหวังเลย คนรุ่นใหม่ยืนยันจะขอสู้ต่อไปจะปกป้องผืนป่าสักทองที่เป็นป่าสำคัญแห่งสุดท้ายของประเทศให้ได้

และโครงการที่ชุมชนเสนอ คือ “โครงการจัดการน้ำแบบสะเอียบโมเดล” มีปัจจัยหลายอย่างที่ภาครัฐทำไม่เสร็จหรือไม่ให้ความสำคัญ ถ้าทำตามปกติจะแล้วเสร็จจะสามารถบรรเทาภัยพิบัติได้อย่างสมบูรณ์ การที่ยังดำเนินการล่าช้าเพื่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่หรือเปล่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความตั้งใจของชุมชนสะเอียบครั้งนี้ มีกระแสแรง แม้แต่ผู้อาวุโสของหมู่บ้านยังเชื่อว่า ชาวสะเอียบต้องใช้วิธีรุนแรง เช่น ในอดีต มีการปิดถนน, ปิดหมู่บ้าน, ประณามการกระทำของภาครัฐ

อย่างไรก็ตามหลังจากตกเป็นกระแสทำให้มีผู้สนใจกล่าวถึงเรื่องราวของชาวสะเอียบอย่างมาก กลายเป็นกระแสสร้างไม่สร้างเริ่มเกิดความขัดแย้งทางความคิดในตัวเมืองแพร่ และอาจบานปลายไปถึงการสร้างความเกียจชังแบ่งแยก

อย่างไรก็ตามทางราชการใน จ.แพร่ ยังไม่มีกระแสออกมาดำเนินการใดใดในเรื่องนี้ แต่ชาวบ้านในชุมชนสะเอียบ กำลังประชุมเตรียมการและจำกัดคนเข้าออกในหมู่บ้าน มีการนำรายชื่อนักการเมืองทั้ง 3 คน คือ นายภูมิธรรม เวชยชัย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน และนายปลอดประสพ สุรัสวดี ไปให้ผีเจ้าบ้านที่บริเวณศาลผีเจ้าบ้านหอแดงดู

และขอคำแนะนำว่า จะจัดการกับนักการเมืองทั้ง 3 คนอย่างไร ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 7 ก.ย. ชาวบ้านสี่หมู่บ้านแห่โลงศพของนักการเมืองไปทำพิธีสาปแช่งที่หอแดง หน้า รพ.สต.สะเอียบ

อ่านข่าว : ปลุกผี "แก่งเสือเต้น" 30 ปี แก้น้ำท่วมสุโขทัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง