ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปัจจัยน้ำท่วมภาคเหนือ "ฝน-ป่าหาย-ที่ดินเปลี่ยน"

ภัยพิบัติ
22 ส.ค. 67
20:26
11,548
Logo Thai PBS
ปัจจัยน้ำท่วมภาคเหนือ "ฝน-ป่าหาย-ที่ดินเปลี่ยน"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

การแจ้งเตือนให้ประชาชนบางจังหวัด เช่น จ.แพร่ เตรียมรับมือน้ำท่วม เทียบเท่าระดับน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทำให้ประชาชนกังวลใจว่า น้ำทั้งหมดจากภาคเหนือมีโอกาสที่จะไหลมายังภาคกลางหรือไม่  

จากการตรวจสอบสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา รวมทั้งกทม.ยังไม่มีอะไรน่ากังวล เพราะน้ำจากภาคเหนือมากก็จริง แต่จะท่วมเฉพาะบางพื้นที่ สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในคืนนี้คือมวลน้ำสูงสุดจะไหลผ่านจ.แพร่ และจะต้องจัดจราจรน้ำอย่างไร เพื่อควบคุมน้ำไม่ให้ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัย เกิน 500 ลบ ม.ต่อวินาที

อ่านข่าว เอาอยู่! รัฐบาลการันตีคุม "น้ำเหนือ" ไม่ท่วมกทม.จุดพีคสุโขทัย

จัดจราจรน้ำป้องกัน"แพร่-สุโขทัย"   

ปัจจุบันนี้ภาคเหนือมีมวลน้ำ 3 ก้อน ด้วยกัน มวลน้ำก้อนแรก คือน้ำฝนตกในพื้นที่จังหวัดน่าน จะไหลไปลงเขื่อนสิริกิติ์ ขณะนี้ยังสามารถรับน้ำได้อีกร้อยละ 43

มวลน้ำก้อนที่ 2 เป็นฝนที่ตกในพื้นที่เชียงราย และพะเยา มวลน้ำก้อนนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง แต่ฝนตกหนักที่ลาวจะยิ่งทำให้ แม่น้ำโขง จ.หนองคาย และ นครพนมสูงขึ้น

เช่น เดียวกับที่สามเหลี่ยมทองคำ ฝั่งลาว ตกหนักไม่แพ้ไทย ทำให้น้ำท่วมรถยนตร์ที่จอดไว้ภายในคอนโดแห่งนี้ถูกน้ำท่วมเสียหาย

มวลน้ำก้อนที่ 3 มาจาก จ.แพร่ และยังรับน้ำจากพะเยาด้วย น้ำทั้งหมดจะไหลงลงสู่แม่น้ำยม และเป็นพื้นที่สีแดงเฝ้าระวังมากที่สุดในเวลานี้

เวลานี้จังหวัดแพร่ มวลน้ำจะมารวมที่ อ.สอง มีปริมาณน้ำสูงสุด 1,700 ลบ ม.ต่อวินาที เกินความจุของลำน้ำยมที่ไหลผ่านเมือง รับน้ำได้เพียง 900 ลบ. ม.ต่อวินาที

ศูนย์บริหารจัดการน้ำ จ.แพร่ จึงเตือนระดับน้ำท่วมเท่าปี 2554 ให้ยกของขึ้นที่สูง ดังนั้นแพร่ เป็นพื้นที่วิกฤตสีแดง มีโอกาสน้ำเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ

"สุโขทัย" จุดพีคน้ำท่วมเมือง 

ต่อมาต้องจับตา จ.สุโขทัย คือพื้นที่เสี่ยงรับน้ำต่อ คาดว่า 2 วัน น้ำจะจากแพร่จะไหลลงมายัง อ.ศรีสัชนาลัย ประมาณ 1,300 ลบ.ม.ต่อวินาที และจะมีการผันน้ำไปเก็บไว้ ที่ทุ่งบางระกำ ผันออกเเม่น้ำน่าน จะมีการลดการระบายน้ำของเขื่อนสิริกิตติ์ลงมา เพื่อควบคุมการระบายน้ำที่จะผ่านตัวเมืองสุโขทัย ให้ไม่เกิน 500 ลบ.ม.ต่อวินาที เพราะตอนนี้อยู่ในขั้นวิกฤติเลย

เมื่อถามว่าภาคกลางยังไหวไหม? คำตอบคือ "ยังไม่ได้รับผลกระทบ" ตามแผนบริหารจัดการจราจรน้ำจะมีการหน่วงน้ำไว้ เมื่อมาดูปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน สถานีวัดน้ำ C2 จังหวัดนครสวรรค์ จุดชี้เป็นชี้ตายว่าน้ำจะท่วมกรุงฯ หรือไม่ รับน้ำได้ 3,360 ลบ.ม.ต่อวินาที เวลานี้มีน้ำไหลผ่าน เพียง 704 ลบ.ม.ต่อวินาที

ส่วนท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเวลานี้ มีน้ำระบายน้ำเพียง 400 ลบ.ม.วินาที ยังเป็นอัตราการระบายน้ำปกติ ไม่ส่งผลต่อพื้นที่ภาคกลาง ที่จะทำให้น้ำท่วมลุ่มต่ำเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับการประเมินสถานการณ์น้ำผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ทีมกรุ๊ป

แนะเร่งตัดยอดน้ำ

นายชวลิต จันทรรัตน์  กรรมการและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ทีมกรุ๊ป กล่าวว่า ฝนที่ตกในแพร่หากเกิน 1,000 ลบ.ต่อวินาที และมาถึงสุโขทัยจะแย่ น้ำจะล้นตล่งใน อ.เมืองสุโขทัย ถ้ามาถึงตัวเมืองสุโขทัย ต้องเร่งอัดน้ำเข้าพื้นที่ชลประทานของแพร่ ฝั่งตะวันออกเก็บน้ำเข้าแก้มลิงดึงน้ำไว้ และส่วนที่เหลืออีกเกือบ 1,000 ลบ.บริหาณหาดสะพานจันทร์ ต้องผันเข้าทางพิษณุโลกฝั่งตะวันตก

สำหรับภาพความเสียหายรุนแรง ทั้งใน จ.เชียงราย พะเยา และน่านที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากแค่ฝนตกหนัก สะสมจากร่องมรสุม และโลกร้อน เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนว่าที่ผ่านมา การใช้ประโยชน์ที่ดินได้เปลี่ยนแปลงไป ต้นไม้กัดเซาะสะพานขาดล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ทั้งสิ้น 

คาดว่าสถานการณ์จะคลี่คลายภายใน 7 วัน หลังจากนั้นเดือน ก.ย.ภาคกลางเตรียมพร้อมรับมือกับฝนตกหนัก จากร่องมรสุมที่เคลื่อนต่ำลงมา ย้ำว่าปี 54 เราเจอพายุ 5 ลูก แต่ปีนี้คาดว่าเราจะเจอพายุเพียง 1-2 ลูกเท่านั้น ดังนั้นแม้ปีนี้ปริมาณน้ำจะไม่มากเท่าปี 2554 แต่อย่าลืมว่าคันกั้นน้ำที่จะยกน้ำขึ้นสูง จะยกน้ำให้เพิ่มสูงขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง