สถานการณ์ฝีดาษวานร (MPOX) ที่กำลังพบการระบาดจากทวีปแอฟริกามาในแถบประเทศเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งกรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ป่วยฝีดาษลิงต้องสงสัยสายพันธุ์ Clade 1 คนแรกในไทย เป็นชาวยุโรปเดินทางมาจากประเทศคองโก
- ไทยพบผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" รอผลตรวจยืนยันสายพันธุ์ Clade 1B
- สภากาชาดไทยเปิดฉีดวัคซีนฝีดาษลิง "ไม่ฟรี" ป้องกันได้ 80-85%
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ Mpox หรือโรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ที่ระบาดใน 10 ประเทศในทวีปแอฟริกาเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) หลังจากโรคแพร่กระจายจากการระบาดประเทศคองโก มีผู้เสียชีวิตกว่า 450 คน ไปตามประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันออก
สถานะ PHEIC คือระดับการเตือนภัยสูงสุดของ WHO เพื่อให้มีการเร่งวิจัย จัดระดมเงินทุน วางมาตรการด้านสาธารณสุข และประสานความร่วมมือระดับโลกเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดดังกล่าว
อ่านข่าว ผู้เชี่ยวชาญเตือน "ไทย" เตรียมรับมือ "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ใหม่
การระบาดของโรคฝีดาษลิงสายพันธุ์
ไทยยกระดับการป้องกันโรคฝีดาษลิง
เนื่องจากมี 6 ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีการระบาดในขณะนี้ ได้แก่ คองโก ยูกันดา รวันดา บุรุนดี เคนยา โกตดิวัวร์ อยู่ในพื้นที่เขตติดโรคไข้เหลือง ทางด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค จึงกำหนดให้ลงทะเบียนผ่านระบบ Thai Health Pass และต้องผ่านกระบวนการคัดกรองกับเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ผู้โดยสารที่เดินทางจาก 6 ประเทศข้างต้น จะได้รับการวัดอุณหภูมิร่างกาย สอบถามอาการ และสังเกตผื่นตามร่างกาย หากมีอาการเข้าได้กับโรคฝีดาษวานร จะมีการแยกกักผู้เดินทาง ซักประวัติ ตรวจร่างกายเพิ่มเติม พร้อมเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อส่งห้องปฏิบัติการของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศฯ และส่งผู้ป่วยต่อไปยังสถาบันบำราศนราดูร
- หากพบผู้เดินทางมีผื่น หรืออาการเข้าได้กับโรคฝีดาษลิง จะทำการแยกไว้ในห้องแยกโรคทันที และเก็บตัวอย่างจากผื่น และจากคอหอย ส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธี RT-PCR ณ ห้องปฏิบัติการของด่านควบคุมโรค รอผลตรวจในห้องแยก 70 นาที
- หากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเป็นโรคฝีดาษลิง จะส่งรับการรักษา ณ สถาบันบำราศนราดูร
- กรณีพบผู้เดินทางมีผื่นชัดเจนที่ด่าน หรือสนามบิน ให้พามาตรวจสอบอาการที่ ด่านควบคุมโรคติดต่อ ได้ทันที
อ่านข่าว สภากาชาดไทยเปิดฉีดวัคซีนฝีดาษลิง "ไม่ฟรี" ป้องกันได้ 80-85%
อาการของโรคฝีดาษลิง
ข้อแตกต่างของ Clade 1-Clade 2
พบอัตราการป่วยด้วยโรคฝีดาษวานร สายพันธุ์ Mpox Clade 1B สูงขึ้น ในปี 2565-2567 ผู้ป่วยสะสม 14,250 ราย เสียชีวิต 456 ราย
- ประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2565 พบผู้ป่วยยืนยัน 827 ราย
- เฉพาะปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-3 ส.ค.พบผู้ป่วยยืนยัน 140 คน ทุกรายเป็นสายพันธุ์ Clade 2 ไม่ใช่สายพันธุ์ที่ระบาดในแอฟริกาที่ WHO ประกาศ คือ สายพันธุ์ย่อย Clade 1B
สำหรับโรคฝีดาษลิงแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือสายพันธุ์แอฟริกากลาง (Clade 1) และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (Clade 1B ) การแพร่ระบาดเกิดจากการสัม ผัสใกล้ชิด การสัมผัสผิวหนัง พูดคุยหรือหายใจใกล้ชิดกัน รวมถึงเพศสัมพันธ์ ไวรัสจะทำให้มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด เกิดแผลพุพองตามร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
- เพศสัมพันธ์
- สัมผัสโดยตรงกับ ผื่น ตุ่มหนอง น้ำหนองของผู้ป่วย
- สัมผัสสิ่งของปนเปื้อนของผู้ป่วย
- ละอองฝอยทางการหายใจ เช่น ไอ จาม หรือการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร
- การสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิง หนู และกระรอก
พบการระบาดของ ฝีดาษลิงสายพันธุ์ใหม่ Clade 1B เพิ่มขึ้นในแถบแอฟริกา สายพันธุ์นี้ แพร่กระจายได้ง่ายและรุนแรงกว่าเดิม โดยสิ่งที่น่ากังวลและต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ ผู้ป่วยเด็กเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว โดยเป็นผู้ป่วยเด็กสูงถึง 70% และยังพบผู้ติดเชื้อนอกแอฟริกาเป็นครั้งแรก โรคนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ
- มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- มีตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนอง บนผิวหนัง
- บางรายอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน ไอ เจ็บคอ
จากสถิติ Clade 1B จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าโรคฝีดาษลิง สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสใกล้ชิด อาการมักไม่รุนแรง แต่ในบางกรณีอาจถึงแก่ชีวิตได้ โดยพบอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ 4 ใน 100 คน
อ่านข่าว อนามัยโลกชี้ "เอ็มพอกซ์" ไม่ระบาดรุนแรงเท่าโควิด-19
หลายประเทศยกระดับคุมเข้มมาตรการเดินทางจากประเทศที่พบการระบาดของฝีดาษลิง
ข้อสังเกตลักษณะอาการโรคฝีดาษวานร
- ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศแถบแอฟริกา ควรต้องติดตามว่าประเทศเหล่านั้นมีการระบาดหรือไม่ และควรระมัดระวังการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคล
- หมั่นสังเกตอาการตนเอง ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
- เริ่มสังเกตเห็นมีผื่นขึ้นตามร่างกายเป็นตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนอง ควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยรักษาตั้งแต่ต้น
ข้อเน้นย้ำการป้องกันโรคฝีดาษวานร - หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด หรือคนพลุกพล่าน หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดบุคคล และขอให้มีการทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวจุดสัมผัสร่วมสม่ำเสมอ
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- หากผู้ที่มีอาการสงสัยสามารถขอเข้ารับการตรวจหาเชื้อได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสายด่วน 1422 กรมควบคุมโรค
8 กลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงหากติดเชื้อ
โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อฝีดาษวานร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 กลุ่ม ดังนี้
- ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีภูมิคุ้มกันต่ำ
- ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด และโรคมะเร็งอวัยวะต่าง ๆ
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งอวัยวะต่างๆ
- ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสาร/ยา/รังสี ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
- ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกอวัยวะต่างๆ
- ผู้ป่วยกลุ่มโรคแพ้ภูมิตนเอง
- เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 8 ปี
หากมีความเสี่ยง หรือสงสัยว่าติดเชื้อโรคฝีดาษวานร สามารถเข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาล โดยแจ้งรายละเอียดอาการและประวัติเสี่ยงแก่เจ้าหน้าที่ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
อ่านข่าว WHO ประกาศ "ฝีดาษลิง" ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค
ไทม์ไลน์ยุโรปสงสัยติดสายพันธุ์ Clade 1
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค เร่งดำเนินการตรวจสอบกรณีพบผู้ป่วยฝีดาษวานรสงสัยสายพันธุ์ Clade 1 รายแรกในไทยที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา ไทม์ไลน์พบผู้ต้องสงสัยป่วยโรคฝีดาษวานร
- ได้รับรายงานจากกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และกองระบาดวิทยาว่าพบผู้ป่วยสงสัย ฝีดาษวานรสงสัยสายพันธุ์ Clade 1 เป็นเพศชายชาวยุโรป อายุ 66 ปี เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาด
- เดินทางมาถึงประเทศไทย วันที่ 14 ส.ค.2567 เวลา 18.00 น. และในวันที่ 15 ส.ค.2567 มีอาการป่วย มีไข้ เข้าได้กับโรคฝีดาษวานร จึงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
- ผลตรวจเชื้อโรคฝีดาษวานร สายพันธุ์ Clade 2 ให้ผลเป็นลบ ส่วนสายพันธุ์ Clade 1B ให้ผลไม่ชัดเจน จึงต้องตรวจใหม่ และอยู่ระหว่างรอผลตรวจยืนยัน
ขณะนี้ได้ส่งทีมสอบสวนโรคลงพื้นที่ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยมีผู้สัมผัสเสี่ยงใกล้ชิดกับผู้ป่วยในช่วงก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย 43 คน และขอให้ผู้ที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา สังเกตอาการภายใน 21 วัน หากมีอาการไข้ มีผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
อ่านข่าว รายแรก! "ฝีดาษลิง" ในฟิลิปปินส์ ไม่มีประวัติเดินทางนอกประเทศ
คนแห่ฉีดวัคซีน 30-40 โดสต่อวัน
สภากาชาดไทย ให้บริการวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มีความประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคมีการบริการฉีด 2 วิธี ดังนี้
- วิธีที่ 1 ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (ขนาดเต็มโดส 0.5 ML) ราคาเข็มละ 8,500 บาท ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 28 วัน
- วิธีที่ 2 ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (ครั้งละ 0.1 ML) ราคาจุดละ 2,200 บาท ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 28 วัน (ต้องมาพร้อมกัน 4 ท่าน)
พบว่าตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการ ตั้งแต่วัน 20 ส.ค.ที่ผ่านมา มีคนไทยและชาวต่างชาติเข้ารับบริการเฉลี่ยวันละ 30-40 โดส
อ่านข่าว