ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ประเทศไหนบ้างขับเคลื่อนการบริหารด้วย "ทายาททางการเมือง"

การเมือง
21 ส.ค. 67
14:49
860
Logo Thai PBS
ประเทศไหนบ้างขับเคลื่อนการบริหารด้วย "ทายาททางการเมือง"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ออสการ์ ไวลด์ กวีชาวไอริชได้กล่าวว่า "ในโลกนี้มีสิ่งหนึ่งที่แย่กว่าการถูกพูดถึง นั่นคือการไม่ถูกพูดถึง" ดูแล้วน่าจะเหมาะกับ "นักการเมือง" ที่ยิ่งถูกพูดถึงมากเท่าไร ยิ่งเป็นผลดีมากเท่านั้น โดยเฉพาะทายาททางการเมืองที่ต้องอาศัยปูมหลังของ "ครอบครัว"

มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ ในรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า "การจดจำชื่อ" ส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จหรือได้รับการสนับสนุนมากขึ้น ตามหลักการ "ความคุ้นเคย" ในทางจิตวิทยา ปรากฏการณ์ที่ได้รับการยืนยันแล้วว่า ยิ่งผู้คนเห็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งบ่อยเท่าไร พวกเขาก็จะพบว่าบุคคลนั้นน่าพอใจและน่าดึงดูดมากขึ้นเท่านั้น

Hereditary politicians "ทายาททางการเมือง"

บุคคลที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองและดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานจากครอบครัวและสายเลือด มากกว่าความสำเร็จหรือคุณสมบัติส่วนตัวของพวกเขาเอง สิ่งนี้มักเกิดขึ้นในครอบครัวที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองที่ถูกส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง และสร้างสิ่งที่เรียกว่า "ราชวงศ์ทางการเมือง หรือ Political Dynasty" ขึ้นมาอีกที

ความสัมพันธ์ทางการเมืองที่รุ่นพ่อแม่ได้สร้างขึ้นในอดีตนั้นยังมีประโยชน์ต่อลูกหลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเรื่องของการหาเสียงการจัดตั้งพรรคการเมืองและการระดมทุน ตัวอย่างเช่น ในญี่ปุ่น "ระบบ อุปถัมภ์" นั้นแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของ "กลุ่มสนับสนุน" หรือโคเอ็นไก

ส่วนเพื่อน (บ้าน) ข้างเคียงอย่าง "เกาหลีเหนือ" ที่บริหารประเทศด้วยระบอบเผด็จการที่ประชาชนไม่มีเสียงอย่างแท้จริงในการเลือกผู้นำของรัฐ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้สืบทอดตำแหน่งจะเป็นเพียงทายาทของ "ตระกูลคิม" เท่านั้น ผู้นำคนแรก "คิม อิล ซุง" ได้พัฒนาลัทธิบูชาบุคคลและครอบครัว เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมทางการเมือง ประชาชนต้องแสดงความเคารพและจงรักภักดี "ที่เหมาะสม" กับความสำเร็จต่าง ๆ ที่ตระกูลคิมทำ แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตตนเองก็ตาม

เกาหลีเหนือ ตระกูลคิม

เกาหลีเหนือ ตระกูลคิม

เกาหลีเหนือ ตระกูลคิม

ตัวอย่าง "ตระกูลการเมือง" บนโลกใบนี้

อินเดีย ตระกูลเนห์รู–คานธี "ชวาหะร์ลาล เนห์รู" นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ซึ่งเป็นบุตรชายของ โมติลาล เนห์รู ประธานพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย ต่อมา "อินทิรา คานธี" บุตรสาวของนายกฯ คนแรก ก็ก้าวสู่ตำแหน่งนายกฯ คนที่ 3 ของประเทศ และส่งต่ออำนาจการบริหารประเทศสู่บุตรชายของตนเอง นายกฯ คนที่ 6 ของอินเดีย "ราชีพ คานธี"

อินเดีย ตระกูลเนห์รู–คานธี

อินเดีย ตระกูลเนห์รู–คานธี

อินเดีย ตระกูลเนห์รู–คานธี

อินโดนีเซีย ตระกูลซูการ์โน "เมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี" ประธานาธิบดีหญิงคนแรกและคนเดียวจนถึงปัจจุบันของอินโดนีเซีย แม้จะก้าวลงจากตำแหน่งผู้นำประเทศแล้ว แต่เธอยังเป็นอดีตประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่ยังคงอิทธิพลในรัฐบาล และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกมากมาย ซึ่งพื้นฐานทางการเมืองของเธอ ถูกปูพรมจาก "ซูฮาร์โต" บิดาและประธานาธิบดีคนแรกของหมู่เกาะชวา 

อินโดนีเซีย ตระกูลซูการ์โน

อินโดนีเซีย ตระกูลซูการ์โน

อินโดนีเซีย ตระกูลซูการ์โน

สิงคโปร์ ตระกูลลี "ลี กวน ยู" นายกฯ คนแรกผู้เป็นทั้งบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์และบิดาของ "ลี เซียนลุง" หลังสิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย ลีผู้พ่อ ได้พัฒนาเกาะเล็ก ๆ จากโลกที่ 3 ก้าวสู่โลกที่ 1 ในชั่วอายุคน จากนั้นส่งต่อตำแหน่งผู้นำประเทศให้ "โก๊ะ จ๊ก ตง" ผู้ช่วยของตัวเองที่แม้ไม่ได้มาจากตระกูลลี แต่ได้ถูกวางตัวสานต่อการบริหารประเทศ เพื่อส่งไม้ต่อให้ลูกชายคนโต "ลี เซียนลุง" ที่รู้ตัวมาตั้งแต่อายุยังน้อยว่า เส้นทางชีวิตถูกกำหนดให้เป็น "นายกฯ คนที่ 3 ของสิงคโปร์"  

สิงคโปร์ ตระกูลลี

สิงคโปร์ ตระกูลลี

สิงคโปร์ ตระกูลลี

สหรัฐอเมริกา ตระกูลเคนเนดี  หรือราชวงศ์การเมืองเคนเนดี เริ่มต้นจาก "แพทริก โจเซฟ เคนเนดี" ที่เข้าสู่เส้นทางการเมืองของสหรัฐฯ ด้วยการดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้นำประเทศ และบุคคลสำคัญมากมาย เคนเนดีทุกคนจะได้รับเลือกตำแหน่งใหญ่ ๆ จากพรรคเดโมแครต หรือเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของเดโมแครต

ในปี 2503 หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี "จอห์น เอฟ. เคนเนดี" หลานชายของ แพทริก โจเซฟ เคนเนดี ได้แต่งตั้งน้องชาย โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี เป็นอัยการสูงสุดของประเทศ และ เท็ด เคนเนดี ที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐนานกว่า 46 ปี 

สหรัฐอเมริกา ตระกูลเคนเนดี

สหรัฐอเมริกา ตระกูลเคนเนดี

สหรัฐอเมริกา ตระกูลเคนเนดี

สหรัฐอเมริกา ตระกูลบุช ถูกนับเป็นราชวงศ์การเมืองของสหรัฐฯ อีกตระกูลหนึ่ง เป็น 1 ใน 4 ครอบครัวที่มีประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ ที่มีนามสกุลเดียวกันถึง 2 คนคือ "จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช" และ "จอร์จ ดับเบิลยู บุช" (อีก 3 ตระกูลคือ อดัมส์, รูสเวลต์ และ แฮร์ริสัน) 

สหรัฐอเมริกา ตระกูลบุช

สหรัฐอเมริกา ตระกูลบุช

สหรัฐอเมริกา ตระกูลบุช

ญี่ปุ่น ตระกูลอาเบะ ตระกูลการเมืองอาเบะเริ่มต้นจาก "โนบุซึเกะ คิชิ" นายกฯ คนที่ 37 ลูกสาวของเขาแต่งงานกับ "ชินทาโระ อาเบะ" อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และมีลูกชายคือ "ชินโซ อาเบะ" นายกฯ คนที่ 57 ของญี่ปุ่นผู้ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด โดยดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2549 นาน 1 ปี ก่อนจะดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง 2 สมัย จากปี 2555-2563 ก่อนจะประกาศลงจากตำแหน่งจากโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง และถึงแก่อสัญกรรมจากการถูกยิงระหว่างขึ้นปราศรัยในเมืองนารา  

ญี่ปุ่น ตระกูลอาเบะ

ญี่ปุ่น ตระกูลอาเบะ

ญี่ปุ่น ตระกูลอาเบะ

"ฟิลิปปินส์" ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วย "ตระกูลการเมือง"

ครอบครัวการเมือง เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในเวทีการเมืองระดับชาติหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นการเมืองแบบสืบทอดสายเลือดในระดับท้องถิ่น ในปี 2557 มีการพูดคุยเกี่ยวกับร่างกฎหมายต่อต้าน "ราชวงศ์การเมือง" แต่ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน เนื่องจากถูกมองว่าเป็นร่างกฎหมายที่ผ่อนปรนลง แต่ก็ไม่สามารถขจัดการผูกขาดของชนชั้นสูงบนเวทีการเมืองได้

ตระกูลอากีโน 

ในอดีต "เบนิกโน อากีโน ที่ 3" เขาไม่ได้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากชาวฟิลิปปินส์สักเท่าไร แต่เมื่อเกิดเหตุเศร้า "โคราซอน อากีโน" ผู้เป็นแม่และเป็น ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของฟิลิปปินส์เสียชีวิตกะทันหัน ต่อมาไม่นาน พ่อของเขา "เบนิกโน อากีโน จูเนียร์" อดีตสมาชิกวุฒิสภาฟิลิปปินส์ถูกลอบสังหาร "นอยนอย" หรือ เบนิกโน อากีโน ที่ 3 ก็สามารถคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 15 ไปได้

ไม่ใช่เพราะบุคลิกหรือความสำเร็จในทางการเมือง แต่เพราะเขาเป็นลูกชายของบุคคลสำคัญทางการเมือง 2 คนของประเทศ
ฟิลิปปินส์ ตระกูลอากีโน

ฟิลิปปินส์ ตระกูลอากีโน

ฟิลิปปินส์ ตระกูลอากีโน

ตระกูลดูเตอร์เต้

ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 16 "โรดริโก ดูเตอร์เต" เข้ารับตำแหน่งเมื่ออายุ 71 ปี ถือเป็นดูเตอร์เตที่อายุมากที่สุดที่ได้รับตำแหน่งใหญ่ทางการเมือง ครอบครัวเขาอยู่ในแวดวงข้าราชการการเมืองตั้งแต่ บิดาของเขา วิเซนเต กอนซาเลส ดูเตอร์เต นายกเทศมนตรีเมืองดาเนา และผู้ว่าราชการจังหวัดดาเวา รวมถึงดูเตอร์เตคนอื่น ๆ ที่รับตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นเช่นกัน

ปัจจุบันเขาได้วางเส้นทางในทายาททางการเมืองของตัวเองทั้ง 3 คนเป็นที่เรียบร้อย "ซารา ดูเตอร์เต" บุตรสาวเป็นนายกเทศมนตรีเมืองดาเวา, "เปาโล ดูเตอร์เต" บุตรชายเป็นผู้แทนเขตที่ 1 ของเมืองดาเวา และ "เซบาสเตียน ดูเตอร์เต" บุตรชายเป็นรองนายกเทศมนตรีเมืองดาเวา

ฟิลิปปินส์ ตระกูลดูเตอร์เต้

ฟิลิปปินส์ ตระกูลดูเตอร์เต้

ฟิลิปปินส์ ตระกูลดูเตอร์เต้

ตระกูลเอสตราดา

จากความโด่งดังในฐานะนักแสดงภาพยนตร์ "โจเซฟ เอสตราดา" ก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมือง ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรี และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของประเทศในฐานะ ปธน.คนที่ 13 ของฟิลิปปินส์ในปี 2541 แต่เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อถูกกล่าวหาว่าทุจริต ถูกคุมขังเป็นเวลา 6 ปี โจเซฟได้รับการอภัยโทษจาก ปธน.กลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย แลกกับคำมั่นสัญญาว่าเขาจะไม่ดำรงตำแหน่งสาธารณะอีกต่อไป แต่สุดท้ายเขาก็ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในปี 2553 และพ่ายแพ้ให้กับ นอยนอย อากีโน

"จิงกอย เอสตราดา" ทายาททางการเมืองของ ปธน.คนที่ 13 ฟิลิปปินส์ ผู้เดินตามรอยเท้า เอสตราดาผู้พ่อแทบทุกอย่าง จากนักแสดงสู่การเมือง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาชั่วคราว รวมถึงการเคยถูกปลดจากตำแหน่งและจำคุกในข้อหาทุจริตเช่นกัน

ฟิลิปปินส์ ตระกูลเอสตราดา

ฟิลิปปินส์ ตระกูลเอสตราดา

ฟิลิปปินส์ ตระกูลเอสตราดา

ตระกูลมาคาปากัล-อาร์โรโย

"ดิโอสดาโด มาคาปากัล" เป็น ปธน.ฟิลิปปินส์คนที่ 9 รัฐบาลของเขาพยายามป้องกันการทุจริต แต่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องแปลกในสมัยที่ "กลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย" บุตรสาวเข้ารับตำแหน่ง ปธน. คนที่ 14 รัฐบาลของเธอกลับเต็มไปด้วยเรื่องอื้อฉาวข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต และการฉ้อโกงการเลือกตั้ง  

ฟิลิปปินส์ ตระกูลมาคาปากัล-อาร์โรโย

ฟิลิปปินส์ ตระกูลมาคาปากัล-อาร์โรโย

ฟิลิปปินส์ ตระกูลมาคาปากัล-อาร์โรโย

ตระกูลมาร์กอส

เป็นตระกูลการเมืองที่ย้อนจุดเริ่มต้นการเลือกตั้งในปี 2468 "มาริอาโน มาร์กอส" สามารถเปิดประตูสภาผู้แทนราษฎรของฟิลิปปินส์ ในฐานะ สส. และจุดสูงสุดของตระกูลคือ ช่วงการปกครองประเทศแบบเผด็จการยาวนาน 21 ปีของ "เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส" ในฐานะ ปธน.ฟิลิปปินส์ คนที่ 10 ที่เริ่มต้นด้วยการประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ

ตระกูลมาร์กอส ยังวางตัวทายาทการเมืองไว้อีกมาก ทั้ง "อิเมลดา มาร์กอส" มารดาของ "อิมี มาร์กอส" บุตรสาวอีกคนของเฟอร์ดินานด์ ที่ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกในปัจจุบัน และ "บองบอง มาร์กอส" ปธน.คนที่ 17 ที่ถูกจับตาว่าการกลับมาครองบัลลังก์ผู้นำประเทศครั้งนี้ จะลบล้างภาพผู้นำเผด็จการในอดีตลงได้ 

ส่วนรุ่นลูกหรือมาร์กอสรุ่นที่ 4 ที่ถูกวางตัวไว้คือ "ซานโดร มาร์กอส" ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองสูงสุดตระกูลมาร์กอสยุคปัจจุบัน เขาเคยออกมาโต้แย้งว่าราชวงศ์ทางการเมืองเป็นเพียง "ความก้าวหน้าตามธรรมชาติ" สำหรับสมาชิกของตระกูลการเมืองที่มีอำนาจ

ฟิลิปปินส์ ตระกูลมาร์กอส

ฟิลิปปินส์ ตระกูลมาร์กอส

ฟิลิปปินส์ ตระกูลมาร์กอส

การเมืองแบบสืบทอดอำนาจผ่าน "ทายาททางการเมือง" มักได้รับการวิจารณ์ว่า เป็นการบั่นทอนหลักการประชาธิปไตย โดยเปิดโอกาสให้มีการกระจุกตัวของอำนาจทางการเมืองอยู่ในครอบครัวเพียงไม่กี่ครอบครัว แทนที่จะกระจายไปตามความสามารถและความต้องการของประชาชน อย่างไรก็ตาม ผู้สนับสนุนอาจโต้แย้งว่านักการเมืองเหล่านี้มีการเตรียมตัวและประสบการณ์ที่ดีเนื่องจากพื้นฐานทางครอบครัวของพวกเขามาอย่างยาวนาน

อ่านข่าวเพิ่ม :

"พปชร." ออกแถลงการณ์ แจง "ประวิตร" ส่งชื่อ 4 รมต. ให้ นายกฯแล้ว

"ธรรมนัส" ส่ง 3 ชื่อ รมต. "อัครา-นฤมล-อรรถกร" ให้เพื่อไทยแล้ว

30 บาทรักษาทุกที่ ขยายดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อยเพิ่มเป็น "32 กลุ่มอาการ"

"ไผ่ ลิกค์" ท้าขับพ้น พปชร. "กลุ่มธรรมนัส" ส่งชื่อ รมต.แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง