ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รายแรก! "ฝีดาษลิง" ในฟิลิปปินส์ ไม่มีประวัติเดินทางนอกประเทศ

ต่างประเทศ
19 ส.ค. 67
16:56
1,782
Logo Thai PBS
รายแรก! "ฝีดาษลิง" ในฟิลิปปินส์ ไม่มีประวัติเดินทางนอกประเทศ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ฟิลิปปินส์" ยืนยันรายแรกผู้ป่วยชายวัย 33 ปีติดเชื้อไวรัส "ฝีดาษลิง" (mpox) ไม่มีประวัติเดินทางนอกประเทศมาก่อน หลัง WHO ประกาศภาวะฉุกเฉินยกระดับหลังมีการระบาดในทวีปแอฟริกา 15,000 คน เสียชีวิต 461 คน

วันนี้ (19 ส.ค.2567) สำนักข่าว Rappler ของประเทศฟิลิปปินส์ รายงานว่ากระทรวงสาธารณสุข ประเทศฟิลิปปินส์ออกแถลงการณ์ ยืนยันการพบผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิง หรือเอ็มพ็อกซ์ คนแรกของประเทศในปีนี้ เป็นชายชาวฟิลิปปินส์วัย 33 ปี ซึ่งไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ และไม่ได้เดินทางมาจากแอฟริกาหรือประเทศอื่น 

การยืนยันกรณีใหม่นี้ เกิดขึ้นไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์หลังจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่า mpox เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลกเป็นครั้งที่สองในรอบ 2 ปี โดยผู้ป่วยรายนี้เป็น 1 ใน 5 ผู้ต้องสงสัยป่วยไวรัสฝีดาษลิง โดยฟิลิปปินส์เคยมีรายงานผู้ป่วยรายสุดท้ายในเดือนธ.ค.2566 

อ่านข่าว ผู้เชี่ยวชาญเตือน "ไทย" เตรียมรับมือ "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ใหม่

สำหรับผู้ป่วยคนล่าสุด เข้ารับการรักษาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมี "ผื่นชัดเจน" ที่ใบหน้า หลังท้ายทอย ลำตัว ขาหนีบ และแม้กระทั่งที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า อาการเหล่านี้เป็นหนึ่งในอาการทั่วไปของโรคเอ็มพ็อกซ์ ซึ่งตามที่กระทรวงสาธารณสุขระบุว่ามีผื่นผิวหนังหรือรอยโรคบนเยื่อเมือกที่อาจปรากฏให้เห็นนานสองถึงสี่สัปดาห์

สถานการณ์โรคฝีดาษลิงในทวีปแอฟริกามากกว่า 15,000 คน เสียชีวิต 461 คน

สถานการณ์โรคฝีดาษลิงในทวีปแอฟริกามากกว่า 15,000 คน เสียชีวิต 461 คน

สถานการณ์โรคฝีดาษลิงในทวีปแอฟริกามากกว่า 15,000 คน เสียชีวิต 461 คน

ก่อนหน้านี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา เปิดเผยว่ามีรายงานผู้ป่วยโรคเอ็มพอกซ์มากกว่า 15,000 คน และเสียชีวิต 461 คนในทวีปแอฟริกาในปี 2567 ซึ่งเพิ่มขึ้น 160% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

กระทั่งเมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา หน่วยงานสาธารณสุขชั้นนำของแอฟริกาประกาศเหตุการณ์ที่เรียกว่า “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขต่อความมั่นคงของทวีป” เนื่องจากโรคเอ็มพอกซ์ระบาดที่แพร่กระจายจากคองโกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

อ่านข่าว "สวีเดน" พบคนแรกติดเชื้อ "เอ็มพอกซ์" นอกแอฟริกา

การระบาดในคองโกเริ่มต้นด้วยการแพร่กระจายของสายพันธุ์ประจำถิ่นที่เรียกว่า Clade I แต่สายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า Clade Ib ดูเหมือนว่าจะแพร่กระจายได้ง่ายกว่าผ่านการสัมผัสใกล้ชิดเป็นประจำ โดยเฉพาะในเด็ก

และต่อมาเมื่อวันที่ 16 ส.ค.หน่วยงานด้านสาธารณสุขสวีเดน แถลงยืนยันการพบผู้ติดเชื้อไวรัสเอ็มพอกซ์ (Mpox) หรือชื่อเดิมคือ "ฝีดาษลิง" เป็นคนแรก โดยระบุว่าเป็นไวรัสประเภท Clade 1b ที่อันตรายมากกว่าและกำลังเดินหน้าป้องกันการระบาด โดยประสานงานในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น

อ่านข่าว WHO ประกาศ "ฝีดาษลิง" ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก

ต่อมาวันที่ 17 ส.ค.ยังมียืนยันติดฝีดาษลิงในผู้ป่วย 3 คนที่ประเทศปากีสถานโดยทั้ง 3 คนถูกกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดแล้ว

อ่านข่าว 

ยอดสะสม 787 คน "ฝีดาษลิง" ไทยตัวเลขขยับหลังสงกรานต์

 
 
 
 
 
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง