วันนี้ (6 ส.ค.2567) นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมฯให้ความสำคัญ กับการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เนื่องจากสินค้าปลอมประเภทนี้เป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและมีการใช้สารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อผู้บริโภค
นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
การบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดเป็นหนึ่งมาตรการที่จำเป็นต้องนำมาบังคับใช้กับการปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา นอกเหนือจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการในการนำสินค้าที่ถูกต้องมาจำหน่าย เพื่อลดปริมาณสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้าสู่ท้องตลาด
รองอธิบดีกล่าวอีกว่า เพื่อปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคจากอันตรายที่เกิดจากการบริโภคสินค้าปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน กรมฯได้ร่วมกับการปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรฐกิจ (บก.ปอศ.)ตัวแทนเจ้าของสิทธิและผู้รับมอบอำนาจในทรัพย์สินทางเนื่องจากมีการผลิตแชมพูปลอม
โดยการนำขวดแชมพูจริงมาบรรจุสารเคมีที่ผลิตขึ้นเองออกจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในราคาถูกกว่าท้องตลาดและการนำเข้าอะไหล่เครื่องยนต์ปลอมประเภท ตลับลูกปืน ก้านลูกสูบ สลักข้อเหวี่ยง กรองน้ำมัน กรองอากาศ มาจำหน่ายให้กับร้านจำหน่ายอะไหล่ยนต์ทั่วประเทศ ของกลางรวมทั้งสิ้น 12,183 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท
สินค้าปลอมเหล่านี้ลักษณะภายนอกใกล้เคียงของจริงแต่ไม่ได้มาตรฐานเป็นสินค้าที่อันตรายต่อผู้บริโภคอย่างมาก จึงฝากเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวัง ในการชื้อสินค้าราคาถูกมาใช้เพราะอาจเกิดอันตรายที่คาดไม่ถึง ควรเลือกซื้อสินค้าจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เลือกดูบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่มีตำหนิ ราคาเหมาะสมไม่ถูกกว่าท้องตลาดจนเกินไป
สำหรับ บทลงโทษของการจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้ามีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี ปรับสูงสุด 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับสูงสุด 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สถิติการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญหา ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และกรมศุลกากร ปี2567 พบว่า 6 เดือนแรกของปีนี้ ( ม.ค-มิ.ย.) มีการจับกุมผู้กระทำผิด 747 คดี มูลค่าความเสียหาย 1,723,914 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าจับกุม 936 คดี มูลค่าความเสียหาย 1,289,053 บาท และทั้งปี2566 พบว่าจับกุม 1,515 คดี มูลค่าความเสียหาย 2,157,434 บาท
โดยแยกเป็นความผิดตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พบว่ามีจำนวน 878,308 ชิ้น ,พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ จำนวน 527,605 ชิ้น และพ.ร.บ.สิทธิบัตร จำนวน 3,230 ชิ้น ทั้งนี้การทำผิดกฎหมายพ.ร.บ.สิทธิบัตร พบว่าขอกลางเพิ่มสูงกว่า 32,200% และจำนวนผู้ทำผิดเฉพาะพ.ร.บ.สิทธิบัตร เพิ่มขึ้น 200% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2566
อ่านข่าว:
"ราคาทอง" ลบ 50 บาท ทองรูปพรรณ” ขายออก 39,673บาท
Temu "สึนามิ"อีคอมเมิร์ซ รุกคืบกินเรียบสินค้าไทย
ทีทีบี ชี้ “ค่าเงินบาท” ผันผวนหนัก ทั้งปีเฉลี่ย 35-36 บาท/ดอลลาร์