ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

สิ่งแวดล้อม
26 ก.ค. 67
10:49
3,997
Logo Thai PBS
จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วงเสวนาจี้ "เกษตรกร-ชาวบ้าน-รัฐ" เรียกค่าเสียหายคดีสิ่งแวดล้อม ปลาหมอคางดำระบาด 17 จังหวัด ชาวบ้านโวยกลางเวที กรมประมง เซ็นอนุญาตโดยชอบธรรม เอื้อเอกชนทำร้ายประชาชน

วันนี้ (26 ก.ค.2567) มูลนิธิชีววิถี (BioThai Foundation) ร่วมกับมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) สภาองค์กรของผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารหายนะสิ่งแวดล้อม จัดเสวนา กรณีปลาหมอคางดำ :การชดเชยเยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูระบบนิเวศ และปฏิรูประบบความปลอดภัยทางชีวภาพ 

อ่านข่าว อนุกมธ.เปิดเอกสารซีพีเอฟ ระบุชื่อ 2 ขรก.รับซาก "ปลาหมอคางดำ" ปี 2551

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ชาวประมงพื้นที่สมุทรสงคราม และประธาน สภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ชาวประมงพื้นที่สมุทรสงคราม และประธาน สภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ชาวประมงพื้นที่สมุทรสงคราม และประธาน สภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ชาวประมงพื้นที่สมุทรสงคราม และประธาน สภาองค์กรของผู้บริโภค ยืนยันว่าเกษตรกรได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำมาตั้งแต่ปี 2554 หลังจากบริษัทซีพี ขออนุญาตอย่างถูกต้องมาทดลอง เพาะเลี้ยงที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ซึ่งได้ร้องเรียนไปทุกที่แต่กฎหมายของไทยเหมือนใยแมงมุม จับได้แต่แมงหวี่แมงวัน แต่เจอพญาอินทรี กระพือปีกทีเดียวแมงมุมกระจาย ยกตัวอย่างเรื่องการจับยึดเรือประมงรายเล็ก แต่รายใหญ่กลับไม่กล้า

มุมมองส่วนตัวไม่คิดว่าใครผิดใครถูก แต่เชื่อว่าคนที่ผิดคือคนที่ถืออำนาจรัฐ ถ้าไม่มือไม้ไม่อ่อนเซ็นอนุญาต ถ้านโยบายรัฐไม่เอื้อ เอกชนทำร้ายประชาชนไม่ได้ 

น.ส.บุญยืน กล่าวอีกว่า สิ่งที่อยากได้คำตอบคือ วิธีการทำลายปลาหมอคางดำเพื่อไม่ให้ระบาด ไม่ใช่แค่จับมาทำอาหาร ทำอาหารสัตว์แต่เมื่อฉีดน้ำลงไปก็มีไข่หลุดรอดลงน้ำสาธารณะ และเห็นด้วยกับการปล่อยปลากระพงแต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ ตอนนี้ปล่อยน้ำ 30,000 ตัวจะเหลือรอดกี่ตัว

อ่านข่าว "นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอคางดำ

ชี้ปลาหมอคางดำระบาดรุนแรง-กินดุ

ส่วนนายวินิจ ตันสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กล่าวว่า สถานการณ์ตอนนี้ถือว่า ไทยเผชิญการระบาดของปลาหมอคางดำในระดับรุนแรง เพราะสภาพอากาศเหมาะสม โดยในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก. การแพร่กระจายของไข่ อาจไปโดยถูกนกโฉบพา หลุดเองลงแหล่งน้ำ และคนพาไป

ส่วนผลศึกษาของกรมประมง พบว่าปลาหมอคางดำกินดุ กินหมดบ่อได้ใน 3-4 ชั่วโมง จนเกิดความเสียหายมากใน 17 จังหวัด ข้อมูลสัตว์น้ำกุ้งขาวมากที่สุด 72% พบว่ากลุ่มชาวบ้านที่เลี้ยงระบบเปิดเกิดความเสียหายกว่าระบบปิด

อ่านข่าว หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน

การสำรวจปี 2561พบว่าพื้นที่ 48,000-50,000 ไร่ มีปลาหมอคางดำกว่า 1,573,000 ตัว สร้างความเสียหายเกือบ 350 ล้านบาทในพื้นที่ จ.สมุทร สงคราม และเพชรบุรี

เมื่อพบการระบาดรุนแรง เห็นว่ารัฐต้องจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากร การผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ อาจเกิดขึ้นได้ชาติหน้า เพราะตอนนี้ ยังไม่เห็นความชัดเจน รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย โดยรัฐเป็นผู้กำหนดแนวทางความเสียหาย รวมถึงต้องติดตามประเมินความเสียหายต่อเนื่อง ปลาหมอคางดำ เป็นตัวสร้างความเสียหายระบบนิเวศใหญ่หลวง

อ่านข่าว เปิดชื่อบอร์ด กยท.ทุ่มงบฯ ซื้อ “ปลาหมอคางดำ” ทำน้ำหมักชีวภาพ

"ปลาหมอบัตเตอร์" พบระบาดในเขื่อน

ดร.ชวลิต วิทยานันท์นักวิชาการอิสระด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำ และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ กล่าวว่า การนำเข้าวงการปลาสวยงาม เป็นหนึ่งจุดที่เริ่มพบการหลุดรอดของปลาที่ขอนำเข้าแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น ปลาหมอบัตเตอร์ ต่อมาพบในเขื่อนเขื่อนวชิราลงกรณ์ แม่น้ำแม่กลอง

กรณีนี้มีการนำทดลองทำให้ลูกปลานิลทนเค็ม เพื่อให้เป็นหมัน ไม่มีมีปลาออกลูก แต่ผิดกับปลานิลจิตรลดาของ กรมประมง เอาไปเพาะเลี้ยงต่อได้ 
นายอัคคพล เสนาณรงค์ อดีต ผอ.สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

นายอัคคพล เสนาณรงค์ อดีต ผอ.สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

นายอัคคพล เสนาณรงค์ อดีต ผอ.สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

นักกฎหมาย จี้ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย 

ด้านนายอัคคพล เสนาณรงค์ อดีต ผอ.สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เสนอว่าให้เกษตรกรและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำระบาดและได้รับความเสียหายให้รวมกลุ่มเรียกร้องค่าเสียหาย และนำเข้ากระบวนการยุติธรรม และเอกชนที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ควรใจกว้าง จะได้มีโอกาสชี้แจงต่อสาธารณชน เพื่อสร้างความปร่งใส

ขึ้นกับว่าใครจะหาหลักฐานมาสนับสนุนให้มากกว่ากัน จริงแค่ไหนที่พบการระบาดปี 2555 ในแถบสมุทรสงคราม และผู้เสียหายต้องฟ้องแพ่งและหาทนายดีในการต่อสู้ 

ด้านนายสุรชัย ตรงงาม กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) เสนอว่า สามารถใช้มาตรา 97 ของพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม มาฟ้องร้องค่าเสียหาย จากเอกชนที่เป็นผู้ก่อมลพิษ และเกิดคความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐโดยกรมประมง มีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะมีการละเว้นการบังคับใช้กฎหมายหรือไม่ 

อ่านข่าว

"ณัฐชา" เสนอญัตติด่วนตั้ง กมธ.วิสามัญแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง