ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก “ศูนย์วิจัย CPF” ไม่มีบ่อปิด-ฝังกลบ “ซากปลา” ที่ไหน

สิ่งแวดล้อม
23 ก.ค. 67
13:21
2,141
Logo Thai PBS
รู้จัก “ศูนย์วิจัย CPF” ไม่มีบ่อปิด-ฝังกลบ “ซากปลา” ที่ไหน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มาดูกันว่า ในปี 2553-2554 ศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ CPF ในขณะนั้น มีสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร และเป็นสถานที่ที่ CPF นำปลาหมอคางดำเข้ามาเลี้ยง

ที่นี่ใช้ชื่อว่า “ศูนย์วิจัยการเลี้ยงกุ้งและเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์วิจัยสัตว์น้ำเค็ม”

เมื่อดูจากภาพแผนที่ ที่นี่ล้อมรอบไปด้วยคลอง 3 แห่ง คือ

1.คลองหลวง ซึ่งเชื่อมต่อมาจากคลองยี่สาร ซึ่งจะต่อไปที่ คลองบางตะบูน จ.สมุทรสงคราม และปากแม่น้ำ อ่าวไทย เพชรบุรี
2.คลองหลวง เชื่อมต่อไปที่ คลองโคน และดอนหอยหลอด คลองอัมพวา และไปต่อได้ที่ จังหวัดสมุทรสาคร
3.คลองบางยาว เป็นอีกคลองที่ไปเชื่อมต่อกันที่ คลองโคน และอัมพวา

ข้อมูลเพิ่มเติม พื้นที่รุกรานของปลาหมอคางดำ หนักที่สุด ในช่วงปี 2555-2560 คือ จ.สมุทรสงคราม ผลกระทบ 501 ฟาร์ม คิดเป็นเนื้อที่เลี้ยงรวมกว่า 48,000 ไร่ ปริมาณปลาที่ประเมินได้มากกว่า 1,400,000 กิโลกรัม

ต่อด้วย จ.เพชรบุรี ได้รับผลกระทบ 74 ฟาร์ม เนื้อที่เลี้ยงรวม 4,000 ไร่ รวมน้ำหนัก 150,000 กิโลกรัม

ชาวบ้านที่เคยไปรับจ้างทำงาน ในบ่อเลี้ยงกุ้งย่านนั้น เล่าถึงโซนต่าง ๆ ในศูนย์วิจัยฯ ว่า มีทั้ง บ่อพักน้ำ ซึ่งต่อน้ำมาจากคลองหลวง ก่อนส่งต่อน้ำเข้าไปยังบ่อเลี้ยงต่าง ๆ เช่น บ่อผสมพันธุ์ , บ่ออนุบาล และบ่อเลี้ยงปลาชนิดต่าง ๆ ซึ่งบ่อเลี้ยงมีขนาดบ่อละ 5 ไร่ และบ่อพักน้ำ มีขนาดบ่อละ ประมาณ 15-20 ไร่

เป็นที่สังเกตว่า ในบริเวณนี้ไม่มี “บ่อปิด” เพราะบ่อส่วนใหญ่เป็นบ่อดินแทบทั้งสิ้น

(ที่มา : ข้อมูลจากการเปิดเผยผ่านดาวเทียม google map)

สิ่งที่สังคมตั้งคำถามคือ อยากเห็นข้อมูลที่ CPF จะเปิดเผย ว่า เลี้ยงปลาหมอคางดำ บริเวณไหน ฝังซากปลาที่ตายแล้วตรงไหน ใช้ปูนขาว โรยตรงไหน สร้างตึกตรงไหนปิดทับ

และจริง ๆ แล้วมาตรฐานระดับการทำงานของ CPF ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานที่รัดกุม มีมาตรฐานสูง และกระบวนการศึกษาวิจัยที่ทันสมัย จึงน่าจะมีภาพถ่ายและเอกสารผลการศึกษาวิจัย บันทึกความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของการเลี้ยง แต่ละช่วงของการเลี้ยงปลา ไปจนถึงการทำลายซากปลา

อ่านข่าว : เปิดกระบวนการเลี้ยงปลา “ฟาร์มยี่สาร” สมุทรสงคราม

“ปลาหมอคางดำ” ใครพลาดอะไร ใครต้องรับผิดชอบ

ปลัดเกษตรฯให้เวลา 7 วัน สอบข้อเท็จจริง "ปลาหมอคางดำ" ระบาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง