ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ปลาหมอคางดำ” ใครพลาดอะไร ใครต้องรับผิดชอบ

สิ่งแวดล้อม
22 ก.ค. 67
13:43
2,335
Logo Thai PBS
“ปลาหมอคางดำ” ใครพลาดอะไร ใครต้องรับผิดชอบ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

จนถึงวันนี้ “ปลาหมอคางดำ” จะแพร่กระจายรุกราน ขยายเผ่าพันธุ์ ไปแล้วกี่จังหวัด แทบไม่ต้องไปควานหากันแล้ว เพราะกระจายขยายพันธุ์ ไปแล้ว ทั้งในน้ำกร่อย น้ำคลอง น้ำทะเลชายฝั่งอ่าวไทย ขึ้นอยู่กับว่าจะไปที่ชายฝั่งกัมพูชา มาเลเซีย หรือไม่ ซึ่งคาดการณ์ว่าอีกไม่นาน

“ปลาหมอคางดำ” หรือที่ใครยังเรียก “ปลาหมอสีคางดำ” อาจกลายเป็นวิกฤตหายนะ ด้านอาหาร อีกเรื่องหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอีกไม่นานเกินรอ

อ่านข่าว : เปิดกระบวนการเลี้ยงปลา “ฟาร์มยี่สาร” สมุทรสงคราม

ระยะเวลา 14 ปี ตั้งแต่เริ่มมีผู้นำเข้ารายแรก และเป็นรายเดียวที่ขออนุญาตอย่างเป็นทางการในเงื่อนไข ของการอนุญาตให้นำเข้า จากคณะกรรมการด้านความหลากหลาย และความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง หรือ IBC ที่มีต่อบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ CPF ระบุไว้หลายข้อ หลายมาตรการ เพื่อควบคุมการศึกษาวิจัย สัตว์ต่างถิ่น มีอะไรบ้าง และ CPF ได้ทำตามนั้นหรือไม่ ดังนี้

กำหนดให้ลักษณะพื้นที่วิจัย ต้องเป็นระบบปิด เช่น การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ หรือ “เลี้ยงในบ่อดิน” ก็ได้ แต่น้ำต้องเป็นระบบปิด คือ สูบน้ำเข้าจากคลองธรรมชาติได้ และการปล่อยน้ำออกต้องมีกระบวนการจัดการน้ำ ไม่ให้สายพันธุ์ปลาต่างถิ่น หลุดลงสู่คลองธรรมชาติ

กำหนดเงื่อนไขการวิจัยว่า ผู้วิจัยต้องเก็บครีบและตัวอย่างนำส่งกรมประมง และเมื่อวิจัยแล้วเสร็จต้องแจ้งผลวิจัย โดยระมัดระวังไม่ให้เกิดการระบาด หากวิจัยไม่สำเร็จจะต้องรายงานและเก็บซากปลาให้กับกรมประมง

ทั้ง 2 ประเด็นนี้ CPF ไม่ได้เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการอย่างไร มีเพียงชี้แจงต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่า ทำลายซาก ดองซากปลา 50 ตัว ใส่โหล ไปให้กรมประมง แล้ว รายงานด้วยวาจา

อ่านข่าว : จ่อเรียก CPF แจงปมปลาหมอคางดำระบาด 25 ก.ค.

มาดูฝ่าย “กรมประมง” บ้างว่า ได้ทำอะไรไปบ้าง ก็ไม่ปรากฎว่า ได้ดำเนินการใดบ้างระหว่าง ที่มีการศึกษาวิจัย เช่น ไปตรวจสอบฟาร์ม, ไปดูขั้นตอนการเลี้ยงว่าเป็นไปตามเงื่อนไขหรือไม่ หรือ ติดตามผลการเลี้ยงหรือไม่ และติดตามซากปลาหมอคางดำ

เมื่อยังไม่มีหลักฐานใด ๆ จากทั้ง 2 ฝ่าย เรื่องนี้ จึงควรมีผู้ต้องรับผิดชอบ เพื่อให้นำหลักฐานไปแสดงต่อศาล

และอาจเป็นหน้าที่ผู้เสียหาย ที่ต้องเรียกร้องการดำเนินคดีอาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อม และ การละเว้นปฏิบัติหน้าที่ หรือ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ของหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบในเรื่องนี้

ติดตาม คลิปรายงานข่าวจาก The EXIT

ไปแกะรอยเส้นทางนำเข้าปลาหมอคางดำ ผ่านรายงานฉบับเต็ม กสม.

ย้อนกลับไปที่ต้นทาง เพื่อตรวจสอบที่มาของ "ปลาหมอคางดำ" ว่ามาจากไหน ?

เทียบข้อมูลการนำเข้า พื้นที่ที่พบการหลุดรอดของปลาหมอคางดำ

ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ระหว่าง "กรมประมง" และบริษัท "CPF"
เปิดรายงานโครงสร้างพันธุกรรม หรือ DNA ปลาหมอคางดำ
ย้อนภาพถ่ายดาวเทียม หาต้นตอ การระบาดของ "ปลาหมอคางดำ"

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง