ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ซีพีเอฟ" แจงอนุ กมธ.ปมนำเข้า "ปลาหมอคางดำ"

สิ่งแวดล้อม
16 ก.ค. 67
18:29
5,157
Logo Thai PBS
"ซีพีเอฟ" แจงอนุ กมธ.ปมนำเข้า "ปลาหมอคางดำ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ซีพีเอฟ" ทำหนังสือชี้แจงอนุ กมธ. ปมนำเข้า "ปลาหมอคางดำ" ยันทำลายปลา-ส่งตัวอย่างซากดองฟอร์มาลีนให้กรมประมงตั้งแต่ปี 2564 ยืนยันไม่ใช่สาเหตุแพร่ระบาด

วันนี้ (16 ก.ค.2567) ในการประชุมคณะกรรมาธิการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กมธ.) ศูนย์วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ปลา ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้ชี้แจงกรณีการนำเข้าปลาหมอคางดำ โดยมีรายละเอียดว่า

ในปี 2553 บริษัทได้นำเข้าปลา 2,000 ตัว พบว่าปลาสุขภาพไม่แข็งแรงและตายจำนวนมากระหว่างทาง ทำให้เหลือปลามีชีวิตแต่อยู่ในสภาพอ่อนแอเพียง 600 ตัว ซึ่งได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านกักกันโดยกรมประมง ทั้งนี้ เนื่องจากปลาสุขภาพไม่ดีและตายต่อเนื่องจนเหลือเพียง 50 ตัว

บริษัทจึงตัดสินใจหยุดการวิจัยเรื่องนี้ โดยทำลายซากปลาตามมาตรฐานและแจ้งต่อกรมประมง พร้อมส่งตัวอย่างซากปลา ซึ่งดองในฟอร์มาลีนทั้งหมดไปยังกรมประมงในปี 2554

นอกจากนี้ ในปี 2560 ที่เริ่มพบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ คณะผู้ตรวจเยี่ยมจากกรมประมง เข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มของบริษัท ที่ จ.สมุทรสงคราม เพื่อขอข้อมูลจำนวนลูกปลาหมอคางดำที่นำเข้าเมื่อปี 2553 และการบริหารจัดการ ซึ่งนักวิจัยของบริษัทได้รายงานข้อเท็จจริงทั้งหมด ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุยชนแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมฟาร์มอีกครั้ง ซึ่งนักวิจัยของบริษัทได้ชี้แจงวิธีการทำลายปลาทั้งหมดดยใช้สารคลอรีนเข้มข้นและฝังกลบซากปลาโรยด้วยปูนขาว และยืนยันว่าไม่ใช่สาเหตุการแพร่ระบาดดังกล่าว

กทม.-ปริมณฑล ร่วมแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ

ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการความร่วมมือการทำงาน กทม. และจังหวัดปริมณฑล ครั้งที่ 2/2567 โดย กทม.ขอความร่วมมือจังหวัดปริมณฑล ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ โดยได้ประสานกรมประมงร่วมดำเนินการตามมาตรการ 6 มาตรการ ประกอบด้วย

การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด และมีการพัฒนาเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดปลาหมอคางดำ, กำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่า เช่น ปลากะพง, การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์, การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน ลงพื้นที่สำรวจจังหวัดที่มีลำน้ำเชื่อมต่อกับจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง, การสร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการกำจัดปลาหมอคางดำ เพื่อป้องกันและพร้อมรับมือการแพร่ระบาด และการติดตาม ประเมินผล

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือทุกจังหวัดดำเนินการสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติตามพื้นที่กันชนต่าง ๆ ลำน้ำที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ที่มีการระบาด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและเกษตรกรรู้จักปลาหมอคางดำ พร้อมทั้งห้ามจับมาเลี้ยง

อ่านข่าว : เคาะค่าหัวปลาหมอคางดำโลละ 15 บาท ห้ามเพาะแลกเงินเยียวยา  

เปิดรายงานฉบับเต็ม "คณะกรรมการสิทธิฯ" ใครทำ "ปลาหมอคางดำ" ระบาด? 

เข้าใจใหม่! ปลากะพงขาวใช้กินลูก ไม่ได้กินปลาหมอคางดำตัวใหญ่ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง