ส่อง "คุกบางขวาง" เรือนจำความมั่นคงสูง ขัง "แป้ง นาโหนด"

อาชญากรรม
5 มิ.ย. 67
13:40
1,054
Logo Thai PBS
ส่อง "คุกบางขวาง"  เรือนจำความมั่นคงสูง ขัง "แป้ง นาโหนด"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"เรือนจำกลางบางขวาง" คุกเก่าแก่ 1 ในเรือนจำความมั่นคงสูง สถานที่คุมขังอดีตผู้ต้องหาคนดัง ก่อคดีอุกฉกรรจ์ นับไม่ถ้วน ล่าสุด "แป้ง นาโหนด" ได้ถูกส่งเข้ามาคุมขังในสถานที่แห่งนี้

กว่า 7 เดือนที่ "แป้ง นาโหนด" หรือ นายเชาวลิต ทองด้วง ผู้ต้องขังคดีอุกฉกรรจ์ ซึ่งหลบหนีจาก รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ขณะเข้ารับการรักษาตัว นอกเรือนจำฯ ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค.2566 รวมระยะเวลา 219 วัน

คดีนี้ในช่วงแรกเจ้าหน้าที่ต้องแกะรอยเส้นทางหลบหนี ก่อนพบเบาะแส พิกัดซ้อนตัวของ แป้ง นาโหนด ที่ บนเทือกเขาบรรทัด บ้านตระ ต.ปะเหลียน จ.ตรัง ครั้งนั้น ตำรวจและเจ้าหน้าที่นับร้อยคนระดมปิดเทือกเขาบรรทัดล่า แต่ไม่เจอตัว ท่ามกลางกระแสข่าวการหลบหนีออกนอกประเทศ

แป้ง นาโหนด

แป้ง นาโหนด

แป้ง นาโหนด

จากนั้นแป้ง นาโหนด มีการปล่อยคลิปออกมา 3 ครั้งทักท้วงกระบวนการยุติธรรม จนข่าวเงียบหาย ก่อนทางการไทยได้รับการประสานจากอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 30 พ.ค.2567 ยืนยันจับกุมตัวได้ที่ เกาะบาหลี 

กระทั่งวันที่ 4 มิ.ย. ทางการอินโดนีเซีย ส่งตัวนายเชาวลิต กลับประเทศไทย และส่งตัวให้พนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครศรีธรรมราช ดำเนินคดีตามขั้นตอน ก่อนวันถัดมา วันที่ 5 มิ.ย. ได้มีการส่งตัวแป้ง นาโหนด เข้าควบคุมที่เรือนจำกลางบางขวาง ซึ่งเป็นเรือนจำความมั่นคงสูง

เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว แป้ง นาโหนด จาก จ.นครศรีธรรมราช เข้า เรือนจำกลางบางขวาง (5 มิ.ย.67)

เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว แป้ง นาโหนด จาก จ.นครศรีธรรมราช เข้า เรือนจำกลางบางขวาง (5 มิ.ย.67)

เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว แป้ง นาโหนด จาก จ.นครศรีธรรมราช เข้า เรือนจำกลางบางขวาง (5 มิ.ย.67)

พ.ต.ท.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม  เปิดเผยถึงกระบวนการสอบสวนและการฝากขัง แป้ง นาโหนด ซึ่งหลังเสร็จกระบวนการ จะคุมตัวมาควบคุมที่ เรือนจำกลางบางขวาง ซึ่งเป็นเรือนจำความมั่นคงสูง โดยขั้นตอนการ ดำเนินการ 10 วันแรก จะเป็นการกักโรค หลังจากนั้นจะเป็นการแยกขัง (อ่าน : ส่ง "แป้ง นาโหนด" จากนครศรีฯ เข้า "บางขวาง")

อ่านข่าว :  เศรษฐา" ยืนยันจับ "แป้ง นาโหนด" จนมุมที่อินโดนีเซีย

ส่อง "เรือนจำกลางบางขวาง"ที่คุมขัง "แป้ง นาโหนด"

"เรือนจำกลางบางขวาง" หรือชื่อเดิม "เรือนจำกองมหันตโทษ" เป็นหนึ่งในเรือนจำความมั่นคงสูงในไทย ขึ้นชื่อเรื่องความเข้มงวด เพราะต้องควบคุมผู้ต้องขังที่มีอัตราโทษสูง เป็นเรือนจำที่ใช้ควบคุมผู้ต้องขังชายที่คดีเสร็จเด็ดขาดหรืออยู่ระหว่าง อุทธรณ์ ฎีกาที่มีกำหนดโทษตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปถึงประหารชีวิต 

เรือนจำกลางบางขวาง

เรือนจำกลางบางขวาง

เรือนจำกลางบางขวาง

เรือนจำกลางบางขวาง ในอดีต

เรือนจำเเห่งนี้ก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำริเห็นว่า บ้านเมืองกำลังเดินเข้าสู่ความเจริญ ควรย้ายเรือนจำกองมหันตโทษ (คุก) ออกไปจากพระนคร และให้จัดซื้อที่ดิน ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ ต.บางขวาง อ.ตลาดขวัญ จ.นนทบุรี เป็นเนื้อที่ 60,776 ตารางวา แต่ยังไม่ทันที่จะลงมือก่อสร้าง มีการเปลี่ยนเสนาบดีฯ นโยบายการสร้างเรือนจำก็เปลี่ยนไป

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ.2470 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ได้ทรงดำริจะตั้ง "กรมราชทัณฑ์" จึงได้ทรงแต่งตั้ง มหาอำมาตย์โทพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิต) อำมาตย์เอก พระยาศิริชัยบุรินทร ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี อำมาตย์โทพระทัรฑการประชานุชิตเป็นเจ้าพนักงานซื้อที่ดินต่อไปอีก จนมีเนื้อที่จำนวน 84,981 ตารางวา ได้เริ่มก่อสร้างเรือนจำ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา 

อ่านข่าว : วินาที "แป้ง นาโหนด" ถึงไทย ใส่เสื้อเกราะ ผ้าปิดหน้า คุมสอบ สภ.เมืองนครศรีฯ

สำหรับ การก่อสร้างเรือนจำกลางบางขวาง ต้องการให้เป็นเรือนจำแข็งแรงมั่นคงในระดับสูง หรือ Maximum security โดยได้นำแบบก่อสร้างเรือนจำต่างๆทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มาเปรียบเทียบกับความประสงค์ของการราชทัณฑ์ไทย ได้พยายามขจัดอุปสรรคที่เคยเกิดขึ้นตามเรือนจำแต่ก่อน เช่น สร้างหอคอยสูง 30 เมตรตรงกลาง

ให้เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ได้รอบเรือนจำ กำแพงคอนกรีตรอบนอกสูง 6 เมตร ยาว 2,406 เมตร ลึกลงไปในดินอีก 1 เมตร พร้อมทั้งป้อมรักษาการณ์เป็นระยะรวม 20 ป้อม เหนือกำแพงโดยรอบขึงไฟฟ้าแรงสูงอีกชั้นหนึ่ง กั้นกำแพงภายในให้แยกเป็นแดน ๆ ยาว 1,298 เมตร

มีประตูแต่ละแดนดุจเป็นเรือนจำเล็ก ๆ รวมกันด้วย 14 แดน อาคารนอนของผู้ต้องขังเป็นตึกสองชั้น พื้นคอนกรีตแบ่งเป็นห้องสองข้างมีทางเดินกลาง มีลูกรงเหล็กปิดกั้นหัวท้าย และกึ่งกลางตึกกั้นมิให้คนรวมกันแห่งเดียวได้

ปี พ.ศ.2474 การก่อสร้างได้เสร็จเป็นส่วนมาก ทางราชการจึงได้สั่งย้ายเรือนจำกองมหันตโทษไปอยู่ที่บางขวาง ในเดือนก.ค. พ.ศ.2474 เรือนจำกลางบางขวางจึงได้ชื่อว่า เรือนจำกองมหันตโทษ โดยมี "อำมาตย์เอกพระยาอาญาจักร์" เป็น "ผู้บัญชาการเรือนจำคนแรก"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 กระทรวงมหาดไทย ได้ออกกฎกระทรวงฯ ความตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2479 (ฉบับที่ 3 )เปลี่ยนชื่อเรือนจำกองมหันตโทษเห็นเรือนจำกลางบางขวาง ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จนถึงปัจจุบัน

เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว แป้ง นาโหนด จาก จ.นครศรีธรรมราช เข้า เรือนจำกลางบางขวาง (5 มิ.ย.67)

เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว แป้ง นาโหนด จาก จ.นครศรีธรรมราช เข้า เรือนจำกลางบางขวาง (5 มิ.ย.67)

เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว แป้ง นาโหนด จาก จ.นครศรีธรรมราช เข้า เรือนจำกลางบางขวาง (5 มิ.ย.67)

เรือนจำกลางบางขวาง ใน ปัจจุบัน 

ปัจจุบัน เรือนจำกลางบางขวาง ตั้งอยู่ เลขที่ 117 หมู่ 3 ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี อัตราความจุปกติสามารถรองรับผู้ต้องขังได้ประมาณ 5,000 คน  พื้นที่ภายในกำแพงเรือนจำเป็นกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 6 เมตร ยาวโดยรอบ 2,406 เมตร มีสายไฟฟ้าแรงสูงอยู่บนสันกำแพง มีป้อมรักษาการณ์รอบกำแพง 21 ป้อม

ปัจจุบันมีนายยุทธนา นาคเรืองศรี เป็น ผบ.เรือนจำกลางบางขวาง จากข้อมูล ณ วันที่ 1 มิ.ย.67 เรือนจำกลางบางขวาง ควบคุมผู้ต้องขังรวม 4,748 คน ทั้งหมดเป็นผู้ต้องขังชาย ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นนักโทษเด็ดขาด 4,319 คน อีก 429 คน เป็นผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณา

สถานที่คุมขังบุคคลที่มีชื่อเสียง - คดีอุกฉกรรจ์

ทั้งนี้ เรือนจำบางขวาง เป็นสถานที่คุมขังบุคคลที่มีชื่อเสียงและคดีอุกฉกรรจ์หลายคน ทั้ง นายประสิทธิชัย เขาแก้ว หรือ ผอ.กอล์ฟ ผู้ต้องขัง คดีโจรกรรมร้านทองใน จ.ลพบุรี พ.ศ.2563 ซึ่งศาลตัดสินประหารชีวิต, นายบรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมช.พาณิชย์ และ อดีต สส.นครสวรรค์ คดีฆาตกรรมชูวงษ์ แซ่ตั๊ง และวีรชัย ศกุนตะประเสริฐ ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิต

นายวันชัย เเสงขาว ผู้ต้องขังคดีข่มขืนและฆาตกรรม ด.ญ.อายุ 13 ปี ถูกตัดสินประหารชีวิตแต่ก็ได้รับการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตจากการพระราชทานอภัยโทษ รวมถึง ซอ ลิน และ เว พิว ผู้ต้องขังชาวเมียนมา คดีฆาตกรรม นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เกาะเต่า เมื่อปี พ.ศ.2557 ถูกตัดสินประหารชีวิตแต่มีการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต เป็นต้น

อ่านข่าว : ไทม์ไลน์ "เสี่ยแป้ง นาโหนด" หลบหนี ปิดล้อมป่าไล่ล่า

ลดโลกร้อน เริ่มต้นจาก "จานอาหาร" ของเรา

"เศรษฐา" เคลียร์ปมตั้ง "วิษณุ" เจอคลื่นใต้น้ำเพื่อไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง