ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คนไทยบริโภคน้ำตาลลดลง เหลือ 23 ช้อนชาต่อวัน

สังคม
12 ก.พ. 67
10:58
1,159
Logo Thai PBS
คนไทยบริโภคน้ำตาลลดลง เหลือ 23 ช้อนชาต่อวัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สสส.เผย คนไทยบริโภคน้ำตาลลดลง จาก 27 ช้อนชาต่อวัน เหลือ 23 ช้อนชาต่อวัน หลังมีการขับเคลื่อนมาตรการทางภาษีน้ำตาลในอาหาร-เครื่องดื่ม โดยพบสัดสัวนของผลิตภัณฑ์อาหารปรับสูตรลดน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 35

วันนี้ (12 ก.พ.2567) นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงสถานการณ์การบริโภคน้ำตาลของคนไทย ว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ประมาณ 400,000 คน ต่อปี คิดเป็น ร้อยละ 77 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด

ในจำนวนนี้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ถึงร้อยละ 14 จากข้อมูลภาระโรคในไทยปี 2562 พบ การบริโภคอาหารไม่เพียงพอ หรือมากเกินไป เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง มะเร็ง และเบาหวาน

การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย มาจากเครื่องดื่มมากที่สุด รองลงมาคืออาหาร และขนม จึงจำเป็นต้องมีการผลักดันให้ผู้ประกอบการปรับปรุงสูตรเครื่องดื่มที่ลดปริมาณน้ำตาล เพื่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค

นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า หลังจากมีการผลักดันมาตรการทางภาษีความหวาน ภายใต้ พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2560 ได้จัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพื่อให้ประชาชนลดการบริโภคสินค้าเสี่ยงต่อสุขภาพ สนับสนุนให้ผู้ผลิตปรับสูตรเครื่องดื่มที่หวานน้อย

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือ ตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มปรับสูตรลดน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ขณะที่ข้อมูลจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล พบการบริโภคน้ำตาลลดลงจากปี 2560 จาก 27 ช้อนชา/วัน เหลือ 23 ช้อนชา/วัน

ในปี 2564 พบว่า คนไทยช่วงอายุ 15-29 ปี มีแนวโน้มการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลลดลง แม้ว่าแนวโน้มจะลดลง แต่ยังสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน จึงยังต้องเน้น การสื่อสารรณรงค์สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 

นางเคท แมนเดวิล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอาวุโส จากธนาคารโลก (World Bank) กล่าวว่า แม้ว่าจะมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า มาตรการทางภาษีความหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค และลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้

เช่น ในเม็กซิโก ภาษีเครื่องดื่มที่มีความหวานส่งผลให้การบริโภคน้ำตาลลดลงถึงร้อยละ 7.5 ตอกย้ำถึงประสิทธิภาพของการเก็บภาษีความหวาน โดยออกแบบโครงสร้างภาษีตามบริบทของประเทศนั้น ๆ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับมาตรการติดฉลากอาหาร เครื่องดื่ม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : "จีน" รุกตลาดพระเครื่อง ทำธุรกิจขายหน้าร้าน-ออนไลน์มากขึ้น

ประกาศแล้ว กฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติด ยาบ้า 5 เม็ดเป็นผู้เสพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง