วันนี้ (5 ก.พ.2567) กรมการปกครอง จัดทำหน่วยเคลื่อนที่ทำทะเบียนประวัติ และบัตรประจำตัวให้แก่นักเรียนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ให้สามารถเข้าถึงสิทธิการศึกษาในระดับสูง สิทธิบัตรทอง สิทธิการเดินทางข้ามจังหวัด สิทธิการอยู่ในประเทศไทย รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ควรจะได้รับ
กรมการปกครอง ร่วมกับ สพฐ. เดินหน้าจัดทำทะเบียนประวัติเด็กชายขอบ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี หวังให้เด็กเข้าถึงการศึกษา และสิทธิการรักษาพยาบาล
อ่านข่าว : ถอดบทเรียนพื้นที่นำร่องแก้ปัญหาเด็กนักเรียนรหัส G
กรมการปกครอง ร่วมกับ สพฐ. เดินหน้าจัดทำทะเบียนประวัติเด็กชายขอบ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี หวังให้เด็กเข้าถึงการศึกษา และสิทธิการรักษาพยาบาล
กลุ่มนักเรียนรหัส G (นักเรียนที่ยังไม่มีบัตรประชาชนคนไทย) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 108 คน เข้าทำทะเบียนประวัติ ที่วัดปรังกาสี อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
นายชาคริต ตันพิรุฬห์ นายอำเภอทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
นายชาคริต ตันพิรุฬห์ นายอำเภอทองผาภูมิ เปิดเผยว่า เด็กกลุ่มรหัส G เป็นกลุ่มแรกที่จะต้องเร่งจัดทำทะเบียนประวัติให้ก่อนเพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ ส่วนต่อมาก็จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เพื่อให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลของรัฐ
อ่านข่าว : "ศูนย์ฯโพธิยาลัย" ความหวังแก้สถานะ-การศึกษา สามเณรกลุ่มตกหล่น-ไร้รัฐ-ไร้สัญชาติ
นายชัยนนท์ นิลพัฒน์ ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 3 (คนซ้าย)
ขณะที่นายชัยนนท์ นิลพัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 (ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 3) เปิดเผยว่า ปัญหาของเด็กรหัส G ในสังกัด สพป.กาญจนบุรี เขต 3 ในขณะนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่ในไทยอยู่แล้ว กับกลุ่มที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งกลุ่มแนวตะเข็บชายแดนจะข้ามไป-มา ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน หรือ อพยพตามพ่อแม่ไปเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่คลอดโดยหมอตำแย
จริง ๆ แล้ว เด็กก็พร้อมเข้าสู่ระบบการศึกษา ต้องการได้รับการศึกษา ซึ่งเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะรับเด็กทุกคนให้เข้าถึงระบบการศึกษา เราไม่ปฏิเสธการรับนักเรียนคนใด ยกตัวอย่างเช่น เด็กนักเรียนจากโรงเรียนบ้านหนองเจริญ วันนี้เดินทางมาทำบัตร ศึกษาอยู่ชั้น ป.1 แต่มีอายุถึง 16 ปีแล้ว
อ่านข่าว : เร่งแก้ปัญหานักเรียนรหัส G ขจัดความไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
กรมการปกครอง ร่วมกับ สพฐ. เดินหน้าจัดทำทะเบียนประวัติเด็กชายขอบ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี หวังให้เด็กเข้าถึงการศึกษา และสิทธิการรักษาพยาบาล
อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของครูและโรงเรียนคือต้องสอนให้เด็กเหล่านี้อ่านออกเขียนได้ ให้จบการศึกษาภาคบังคับ และการที่เด็กนักเรียนได้ทำบัตรเลข 0 หรือ บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน ก็จะทำให้เด็กเหล่านี้สามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ ได้รับสิทธิในการออกนอกพื้นที่ฯ และได้สิทธิในการรักษาพยาบาล มีอาชีพ มีงานทำในอนาคตต่อไป
อ่านข่าวอื่น ๆ
"ท้องในวัยเรียน" อีกบทพิสูจน์ความเป็นแม่ของวัยรุ่น
คนแห่เที่ยว "สะพานมอญ" ช่วงปีใหม่คึกคัก คาดเงินสะพัด 100 ล้าน