วันนี้ (4 ก.พ.2567) พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดกิจกรรมการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากการเพาะเลี้ยงคืนสู่ธรรมชาติ ครั้งที่ 12 เพิ่มอีก 10 ตัวที่ศูนย์เรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จ.บุรีรัมย์
พล.ต.อ.พัชรวาท ตั้งชื่อให้กับนกกระเรียน 2 ตัวที่มีอายุ 20 ปี แต่ยังไม่มีชื่อ โดยตั้งชื่อตัวผู้ว่า “เฉิดโฉม” ส่วนตัวเมียชื่อ “แจ๋วแหวว”
พร้อมขอบคุณหน่วยงานรัฐภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ที่ร่วมมือกันอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทย สัตว์หายากของไทยกลับสู่ถิ่นกำเนิดหลังจากเคยหายจากพื้นที่ธรรมชาติไปนาน 30 ปี
อยากให้มีการจัดงานแบบนี้เป็นประจำทุกปี จะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ด้านการท่องเที่ยว ส่วนจะเสนอให้มีการตั้งเป็นวันรักนกกระเรียนหรือไม่ กำลังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาหาวันที่เหมาะสม
อ่านข่าว เปิดภาพ "นกกระเรียนพันธุ์ไทย" จับคู่ทำรังวางไข่ 5 คู่
"บิ๊กป๊อด"ร่วมปล่ยนกกระเรียนคืนถืนอีก 10 ตัว
"ใจฟู" 3 นกหายากไทยทำรังวางไข่
สำหรับนกกระเรียนพันธุ์ไทย เพจ Save Gurney Pitta ระบุว่า ข่าวดี “ระดับใจฟู” ในวงการอนุรักษ์สัตว์ป่าหายากของไทยออกมารัวๆ อย่างต่อเนื่อง
เริ่มต้นจาก “นกกระเรียนไทย” ที่เมื่อปี 2554 องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศ ไทย โดยสวนสัตว์นครราชสีมา ปล่อยนกกลับคืนสู่ธรรมชาติเป็นครั้งแรก 10 ตัว หลังจากสูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินประเทศไทยยาวนานกว่า 50 ปี ณ อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก และอ่างเก็บน้ำสนามบิน จ.บุรีรัมย์
ในปัจจุบันลูกที่เกิดมาในธรรมชาติ “รุ่นแรก (F1)” ได้ผลิตนกกระเรียนพันธุ์ไทย “สัญชาติไทย รุ่นที่สอง (F2)” ออกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ครอบครัว ถือเป็น “การปลูกสร้างประชากรแบบลงหลักปักฐานในธรรมชาติอย่างน่าพอใจ และเป็นตัวอย่างงานอนุรักษ์ที่ดีงามในระดับโลก” โดยความร่วมไม้ร่วมมือของหลายภาคส่วน ทั้งรัฐและเอกชน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
พญาแร้งในสวนสัตว์นครราชสีมาวางไข่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (ภาพจาก Save Gurney Pitta)
ต่อมา “นกพญาแร้ง” นกที่สูญพันธุ์ไปจากผืนป่าประเทศไทยยาวนานกว่า 30 ปี โดย "ป๊อก" พญาแร้งตัวผู้จากสวนสัตว์โคราช และ "มิ่ง" พญาแร้งตัวเมียจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นคู่ที่นำไปเพาะขยายพันธุ์ในผืนป่ามรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2565 ก็ได้ออกไข่เป็นครั้งแรกในวันที่ 17 ธ.ค.2566
อ่านข่าว "ไชยา" ตรวจเหตุไฟไหม้ห้องคณะทำงาน ยืนยันไม่มีเอกสารสำคัญถูกเผา
หลังจากทีมงานได้พยายามทุกวิถีที่จะเตรียมตัวนกพ่อ-แม่พันธุ์ ให้พร้อมสำหรับภารกิจสำคัญนี้ยาวนานถึง 4 ปี เราก็ต้องมาลุ้นกันต่อไปว่า “ไข่มีเชื้อหรือไม่” หลังจากมีพฤติกรรมขึ้นผสมพันธุ์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 23 พ.ย.2566
และอีกข่าวดีก็ตามาติด ๆ เมื่อนกพญาแร้ง ในสวนสัตว์นครราชสีมา ได้ออกไข่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เมื่อวันที่ 16 ม.ค.2567 และเคยให้ “ลูกนกพญาแร้งตัวแรกของทวีปเอเชีย” มาแล้ว งานนี้เป็นความร่วมไม้ร่วมมือของ 4 องค์กรหลัก ได้แก่ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
นกกระสาคอขาววางไข่ 4 ฟองในธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ (ภาพ Save Gurney Pitta)
ตื่นเต้นพบนกกระสาคอขาววางไข่ 4 ฟอง
สุดท้าย “นกกระสาคอขาว” นกป่าหายากระดับเพชรยอดมงกุฎ ที่เชื่อว่าเหลือเพียง 2 ตัวในประเทศไทยแล้วเป็นเพศเดียวกัน ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา ส่วนนกโสดตัวสุดท้ายของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ก็ตายไปอย่างเดียวดายแบบเงียบเชียบเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ที่สำคัญไม่มีข่าวการทำรังวางไข่ในประเทศไทยมากกว่า 40 ปี
ในที่สุดข่าวดี ก็มาถึงเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2567 โดยทีมนักวิจัยจากองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี ค้นพบนกกระสาคอขาว ออกไข่ในธรรมชาติ จำนวน 4 ฟอง จากนกในโครงการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 ก.ค.2564 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์
อ่านข่าวอื่นๆ
"เชียงใหม่" สั่งปิดอาคารระเบียงพังเจ็บ 12 พบจุดทรุดต่อเติม
เปิดภาพ “นกกระเรียนพันธุ์ไทย” คืนทุ่งประโคนชัย จ.บุรีรัมย์