วันนี้ (2 ก.พ.2567) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ดังนี้
- 8 กุมภาพันธ์ 2567
ดาวเคียงเดือน ดาวศุกร์ และดาวอังคาร เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เวลาประมาณ 05.30 น. จนถึงรุ่งเช้า
- 24 กุมภาพันธ์ 2567 (คืนวันมาฆบูชา)
ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) ระยะห่างประมาณ 405,909 กิโลเมตร
อ่าน เกาะกระแส "ดาราศาสตร์" 10 เรื่องห้ามพลาด ปี 2567
นอกจากนี้ ในปีนี้จะมีปรากฏการณ์ "ดาราศาสตร์" อะไรอีกบ้างที่น่าสนใจ
- 8 มีนาคม 2567 - ดาวอังคาร ดาวศุกร์ เคียงดวงจันทร์
- 22 มีนาคม 2567 - ดาวศุกร์เคียงดาวเสาร์
- 6 - 7 เมษายน 2567 - ดาวอังคาร ดาวเสาร์ ดาวศุกร์ เคียงดวงจันทร์
- 11 เมษายน 2567 - ดาวอังคารเคียงดาวเสาร์
ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ ครั้งที่ 1 วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 03.09 - 04.27 น. (เห็นทั่วไทย)
- 14 สิงหาคม 2567 - ดาวอังคารเคียงดาวพฤหัสบดี
- 8 กันยายน 2567 - ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ดวงจันทร์บังดาวเสาร์ ครั้งที่ 2 วันที่ 15 ตุลาคม 2567 เวลา 02.19 - 03.00 น. (เห็นในไทยบางส่วน เฉพาะประเทศไทยตอนบน)
- 17 ตุลาคม 2567 - ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี (Super Full Moon)
- 8 ธันวาคม 2567 - ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี
อ่านข่าวอื่น ๆ
นักวิจัยไทยค้นพบ "กาแล็กซีมวลน้อย" เพิ่มอีก 13 กาแล็กซี ด้วย "กล้องเจมส์ เว็บบ์"
NASA พบร่องรอยการเคลื่อนที่ของ “ธารน้ำแข็ง” บนดาวอังคาร
สำรวจ “ระบบสุริยะ” ของเรา ที่ใดบ้าง ? มีโอกาสพบ “สิ่งมีชีวิต”