ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วงเสวนา มธ.ถอดรหัส "ลุงเปี๊ยก" สะท้อนระบบยุติธรรม แนะ 4 แนวทางปฏิรูปตำรวจ

สังคม
22 ม.ค. 67
13:47
386
Logo Thai PBS
วงเสวนา มธ.ถอดรหัส "ลุงเปี๊ยก" สะท้อนระบบยุติธรรม แนะ 4 แนวทางปฏิรูปตำรวจ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสวนาประเด็น "ลุงเปี๊ยก" สะท้อนกระบวนการยุติธรรมไทย "อ.ปริญญา" ถาม ตร.การใช้ถุงดำคลุมหัว การทรมาน การจับคนบริสุทธิ์ ทำไมไม่หมดไปเสียที เสนอแนะ 4 แนวทางปฏิรูปตำรวจแบบทำน้อยได้มาก และเห็นผลเร็ว เริ่มต้นที่เคารพสิทธิพื้นฐาน

วันนี้ (22 ม.ค.2567) เวลา 09.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.ท่าพระจันทร์) คณะนิติศาสตร์ จัดเสวนา ในหัวข้อ การปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรมไทย แบบทำน้อยได้มาก และเห็นผลเร็ว 

จากกรณีการเสียชีวิตของป้าบัวผัน หรือ ป้ากบ ที่ถูกเยาวชนทำร้าย แต่ตำรวจ สภ.อรัญประเทศ จับกุมตัว ลุงเปี๊ยก ซึ่งเป็นสามีของป้าบัวปัน และมีการข่มขู่โดยใช้ถุงดำคลุมหัวลุงเปี๊ยกรับสารภาพว่าเป็นผู้ก่อเหตุ ทั้งที่ไม่ได้ทำผิด

ผศ.ศร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เป็นการสะท้อนให้เป็นปัญหาของตำรวจ และกระบวนการยุติธรรมว่า ตำรวจไม่เคารพสิทธิของประชาชนไม่เคารพกฎหมาย ซึ่งในกรณีนี้ผู้ก่อเหตุเชื่อว่าลุงเปี๊ยกเป็นคนลงมือก่อเหตุ ทำให้การสอบสวนมุ่งเป้าตามที่ตำรวจสันนิษฐานไว้จึงทำทุกอย่างให้สารภาพ รวมถึงการนำตัวลุงเปี๊ยกไปฝากขัง ทั้งที่รู้ว่าเป็นการจับผิดตัว

ผช.ศร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผช.ศร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผช.ศร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 มีมาตรการเชิงป้องกันหรือไม่ ไม่ใช้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ

พร้อมถามไปถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงมาตรการเชิงแก้ไขป้องกันซึ่งกรณีการใช้ถุงดำ เกิดขึ้นกรณี "ผกก.โจ้" มาแล้ว แต่ยังเกิดซ้ำอีก ซึ่งมีการดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 หรือไม่นอกเหนือจากมาตรา 157 ซึ่ง ตร.ต้องเอาจริงป้องกันการละเมิดกฎหมาย

อ่านข่าว : กสม. ชี้คดี “ป้าบัวผัน” ขัดหลักกระบวนการยุติธรรม จี้เอาผิดจนท.-เยียวยาผู้เสียหาย

4 แนวทางปฏิรูปตำรวจไทย

รศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรม ที่ดำเนินการได้โดยไม่ต้องแก้กฎหมาย

1.การเปลี่ยนตำรวจไทย โดยการทำหลักสูตรระยะสั้น เพื่อเปลี่ยนทัศนคติให้ตำรวจ ให้ตำรวจ และผู้บังคับใช้กฎหมายทุกคน เรียนรู้สิทธิขั้นพื้นฐาน มีการฝึกการใช้คำพูด การเจรจา เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง เชื่อการทำให้บังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามกฎหมาย และการปฏิบัติหน้าที่ในอนาคตเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนกฎหมาย

ทั้งนี้การบังคับใช้กฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องใช้กำลัง และให้การใช้กำลังเป็นทางเลือกสุดท้าย และลดการสูญเสีย

2.บุคคลที่เป็นผู้ต้องหาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 วรรค 2 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ซึ่งการปฏิบัติกับผู้ต้องหาอย่างกับนักโทษทั่วไปนั้นไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีสถานที่กักขังพิเศษให้กับผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการสอบสวน ที่ไม่ได้ปะปนกับนักโทษในเรือนจำ

ประเทศไทย กระบวนการออกหมายขังเร็วและง่าย ซึ่งหลังจากพนักงานสอบสวนจับตัวผู้ต้องหาได้ จะยื่นต่อศาลเพื่อขอหมายขัง สิทธิ 48 ชั่วโมงในการควบคุมตัวก่อนส่งศาลเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิ ที่จะให้ผู้ต้องหาได้เจอศาล โดยหลักจะปล่อยแบบมีเงื่อนไข โดยไม่ต้องยื่นคำร้องประกัน ซึ่งสิทธิผู้ต้องหาการเจอศาล ต้องแยกออกจากการฝากขัง การออกหมายขังต้องเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ไม่ใช่การขังอัตโนมัติ

รศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3.การกักขังแทนค่าปรับ ผู้ใดต้องโทษค่าปรับ ภายใน 30 วันนับแต่จับกุม ให้ถูกยึดทรัพย์ แทนค่าปรับแทนค่าปรับเป็นมาตรการสุดท้าย ถ้าดำเนินการตามขั้นตอน สามารถแก้สถานการณ์ผู้ถูกคุมขังได้ โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย

4.การทำงานบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ในการตรวจสอบ และประเมินผล

รศ.ดร.ปกป้อง ยังกล่าวถึงกรณีของ ลุงเปี๊ยก ที่มีประเด็นที่ตำรวจจับกุมตัวในคดีฆาตกรรมป้าบัวผัน และอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่กระทำการในลักษณะให้บังคับให้สารภาพ โดยให้แยกเป็น 2 กรณี ซึ่งข้อเท็จจริง เรื่องตำรวจทำอะไรกับผู้ต้องหา ไม่มีใครสามารถทราบได้ และเป็นเรื่องที่สังคมรอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้ความจริงปรากฏในกระบวนการยุติธรรม

สำหรับด้านข้อกฎหมาย ถ้าเจ้าหน้าที่ทำพฤติกรรม ใช้ถุงดำคลุมหัว ถือเป็นการกระทบสิทธิมนุษยชน และกระทบภาพลักษณ์ของตำรวจ นอกจากจะเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 แล้ว ยังเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. พ.ศ.2565 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี -15 ปี

ซึ่งเมื่อมีกฎหมายแต่ยังกระทำความผิด ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน คือ ตัวเจ้าหน้าที่ ต้องทำให้ผู้บังคับใช้กฎหมายเห็นว่าการทรมานเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องต้องเปลี่ยนทัศนคติ

ส่วนปัจจัยภายนอก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐบาล ต้องจัดหาเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่ทันสมัยในการติดตามผู้ตัวผู้ก่อเหตุตามหลักสิทธิมนุษยชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ฌาปนกิจ "ป้าบัวผัน" ผลชันสูตรระบุเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง

"ลุงเปี๊ยก" ถูกคลุมถุงดำ เข้าข่าย กม.อุ้มหายหรือไม่ - เยียวยา "ป้าบัวผัน" 2 แสน

"บิ๊กโจ๊ก" สอบ "ลุงเปี๊ยก" สางคดี "ป้าบัวผัน" ผบช.ภ.2 ยันไม่จับแพะ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง