ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"โจ๋" ก่อคดีพุ่ง ข้อมูลคุกเด็ก "ผิดชีวิตร่างกาย-ยาเสพติด" มาแรง

อาชญากรรม
19 ม.ค. 67
15:39
1,971
Logo Thai PBS
"โจ๋" ก่อคดีพุ่ง ข้อมูลคุกเด็ก "ผิดชีวิตร่างกาย-ยาเสพติด" มาแรง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

คดีฆาตกรรม "ป้ากบ" น.ส.บัวผัน ตันสุ วัย 46 ปี ของวัยโจ๋สระแก้ว "กลุ่มตังค์ไม่ออก" ไม่เพียงส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตำรวจที่มัวหมองอยู่แล้ว หม่นมืดเข้าไปอีก แต่ยังสร้างความสั่นสะเทือนต่อวงการสีกากี กระทบชิ่งจาก สภ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว มาถึงกรมปทุมวัน

ปัญหาไม่ได้จบเท่านี้ แต่ยังมีคำถามถึงการดำเนินคดีกับ 5 เยาวชนที่ก่อเหตุอุกฉกรรจ์ โดยเฉพาะโทษทางอาญาที่ควรจะได้รับ หลังจากเมื่อปี 2551 มีการปรับปรุงแก้ไขประมวลอาญา จากเดิมกำหนดเอาผิดเด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอายุตั้งแต่ 7 ปี ปรับเพิ่มมาเป็นอายุ 10 ปี

กล่าวคือ กฎหมายกำหนดไว้ว่า ถ้าอายุไม่เกิน 10 ปี ก็จะได้รับการยกเว้นโทษ แต่กฎหมายใหม่เปลี่ยนช่วงอายุเป็น 12 ปี ซึ่งเกณฑ์นี้เพิ่งถูกบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ผ่าน พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2565 โดยส่วนที่ต้องปรับจาก 10 ปี เป็น 12 ปี ก็ต้องการให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ หรือข้อแนะนำทั่วไปของสหประชาชาติ ฉบับที่ 10 ที่ออกตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

แม้สถิติเด็กกระทำความผิด ไม่ได้เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ สิ่งที่น่าตกใจ คือ การก่อเหตุแต่ละครั้ง สร้างความสูญเสียมากขึ้น

ข้อมูลจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 77 แห่งทั่วประเทศ ระบุว่า ในปี 2565 มีเด็กและเยาวชนทำผิดถึง 12,203 คดี โดยเป็นคดียาเสพติดสูงสุดกว่า 4,300 คดี รองลงมาคือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์กว่า 2,200 คดี และความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายกว่า 2,000 คดี ทั้งหมดเป็นคดีอาญาที่ศาลมีคำสั่งพิพากษาปี 2566

หากจำแนกระดับการศึกษาของเด็กที่ทำความผิด พบว่า เกินครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 51.5 ยังอยู่ช่วงมัธยมศึกษาตอนต้น รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา และระดับ ปวช.ตามลำดับ สำหรับจังหวัดที่มีการกระทำผิดสูงสุด ยังอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 259 คดี ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย 258 คดี และความผิดยาเสพติด 59 คดี

ผู้กระทําความผิดเป็นเพศชาย จํานวน 11,032 คดี เพศหญิง จํานวน 1,160 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้กระทําความผิด มีสัญชาติไทย และสัญชาติไทยที่ไม่ได้แจ้งเกิด จํานวน 11,775 คดี ที่เหลือเป็นคดีที่ผู้กระทําความผิดมีสัญชาติอื่นๆ เช่น เมียนมา จํานวน 289 คดี ลาว จํานวน 28 คดี กัมพูชา จํานวน 17คดี จีน จํานวน 5 คดี อินโดนีเซีย จํานวน 3 คดี เวียดนาม 4 คดี มาเลเซีย 4 คดี ,สัญชาติอื่นๆ และไม่ระบุสัญชาติ

หากดูระดับการศึกษา พบว่า คดีส่วนใหญ่ เป็นคดีที่ผู้กระทําความผิดมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด จํานวน 6,306 คดี รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา จํานวน 2,142 คดี นอกจากนั้นเป็นคดีที่ผู้กระทําความผิดมีการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1,591 คดี เป็นคดีที่ผู้กระทําความผิดระดับการศึกษานอกระบบจํานวน 1,218 คดี และเป็นผู้มีการศึกษประเภทอื่น ๆ จํานวน 932 คดี

อาชีพนักเรียน/ผู้ฝึกงานมาก ก่อคดีมากที่สุด จํานวน 4,036 คดี รองลงมา เป็นผู้ว่างงานจํานวน 3,752 คดี ที่เหลือคือผู้กระทําความผิดที่ไม่มีอาชีพไม่เป็นกิจจะลักษณะ ถึง 2,860 คดี รวมทั้งอื่นๆ

สำหรับจำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดําเนินคดี โดยสถานพินิจฯ ทั่วประเทศ โดยดูตามลักษณะการอยู่อาศัย พบว่า ผู้กระทําความผิดมิได้อยู่กับบิดา มารดา หรือบิดา มารดาแยกกันอยู่ มากกว่าผู้กระทําความผิดที่อยู่ร่วมกับครอบครัว คือ คดีที่ผู้กระทําความผิดที่มิได้อยู่กับบิดามารดาหรือบิดามารดาแยกกัน มีจํานวน 9,239 คดี

คดีที่ผู้กระทําความผิดที่อยู่ร่วมกันกับครอบครัว มีจํานวน 3,820 คดี เมื่อพิจารณาจํานวนและร้อยละของคดีที่ผู้กระทําความผิดที่ครอบครัวแยกกันอยู่ จํานวน 9,239 คดี แบ่งเป็นลักษณะต่างๆ 5 ลักษณะคือ เด็กและเยาวชนผู้กระทําความผิดที่ครอบครัวแยกกันอยู่ อาศัยอยู่กับมารดา มีจํานวนมากที่สุดคือ 3,257คดี รองลงมาเป็นคดีที่ผู้กระทําความผิดอาศัยอยู่กับบิดา จํานวน 1,282คดี

ส่วนคดีที่ผู้กระทําความผิดอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง มีจํานวน 531 และ คดีที่ผู้กระทําความผิดอาศัยอยู่กับเพื่อนหรือคู่ครอง มีจํานวน 263 คดี คดีที่ผู้กระทําความผิดอาศัยอยู่กับนายจ้าง มีจํานวน 202 คดี และคดีที่ผู้กระทําความผิดอาศัยอยู่ ลักษณะอื่นๆ มีจํานวน 3,704 คดี

ทั้งนี้ คดีส่วนใหญ่ในปี 2565 เป็นคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมากที่สุดจํานวน 4,885 คดี รองลงมาคือ คดี พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 นอกจากนั้นเป็นคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มีจํานวน 1,828 คดี

คดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย จํานวน 1,695 คดี คดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับเพศ จํานวน 612 คดี และเป็นเป็นคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ความสงบสุข เสรีภาพและการปกครอง จํานวน 407 คดี

ในปี 2566 พบเด็กและเยาวชนก่อคดีใน 5 ฐานความผิด คือ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย 3,328 คดี ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน ความผิดเกี่ยวกับเพศ

ในปี 2567 มีข้อมูลระบุว่า มีเด็กและเยาวชนที่ทำความผิด 3 อันดับแรก คือ คดีการกระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย มีจำนวน 148 คดี, ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 144 คดี และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 131 คดี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"กัน จอมพลัง" นำเยาวชนหญิงแจ้งความ ตร. อ้างถูกกลุ่ม "ตังค์ไม่ออก" ล่วงละเมิดทางเพศ

ตร.เชิญผู้ปกครอง 5 เยาวชน สอบปากคำคดีทำร้าย "ป้าบัวผัน" จนเสียชีวิต

ผู้เสียหายทวงถามความคืบหน้าคดี อ้างถูก "กลุ่มตังค์ไม่ออก" ทำร้าย-เผารถจยย.

เด้ง รอง ผกก.สืบสวนอรัญประเทศ ตั้ง คกก.สอบปมคลิปเสียงคดี "ป้าบัวผัน"

ผบช.ภ.2 สั่งสอบปมถุงดำคลุมหัว "ลุงเปี๊ยก" ขีดเส้น 3 วันรู้ผล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง