ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สว.ปาดหน้า สส.ชิงเปิดอภิปราย มาตรา 153

การเมือง
9 ม.ค. 67
15:31
1,010
Logo Thai PBS
สว.ปาดหน้า สส.ชิงเปิดอภิปราย มาตรา 153
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชิงปาดหน้าจองกฐินขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล ตามมาตรา 153 ก่อน สส.จะขยับ สำหรับสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. ก่อนครบวาระ 11 พ.ค.2567

เป็นการทิ้งทวนครั้งสุดท้ายที่ถือว่ามีความสำคัญ และยังเป็นการล้างตาหรือแก้มือ จากเมื่อครั้งโหวตเลือกนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ 22 ส.ค.2566 จากการประชุมรัฐสภา ซึ่งช่วงเช้าเริ่มต้นอย่างเข้มข้นจาก สว.หลายคน

อ่านข่าว : ครม.เคาะร่างกม.อากาศสะอาด โทษผิดทางแพ่ง-ปรับพินัย

ทั้งเรื่องนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้อ้างจะไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 แต่กลับจะตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อยกร่าง กับเรื่องคุณสมบัติ เพราะการซื้อที่ดินที่มีปมเงื่อนงำโดยนายนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ทำให้ สว.บางส่วนค้างคาใจ และคนบอกไม่รู้จักนายเศรษฐาด้วยซ้ำว่าเหมาะสมกับการเป็นนายกฯ หรือไม่

แต่ผ่านไปไม่นาน หลังมีกระแสข่าวดีลลับลงตัว การอภิปรายอย่างเข้มข้นของ สว.ก็กลายเป็นหนังคนละม้วน จนสร้างความฉงนงงงวยให้กับคอการเมืองว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะสุดท้าย เสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา ทั้งจาก สส.พรรคร่วมรัฐบาลและ สว.ส่วนใหญ่ ก็โหวตหนุนนายเศรษฐาเป็นนายกฯ

อ่านข่าว : หอการค้าชี้ Easy E-Receipt เงินสะพัด 6 หมื่นล้าน ดันจีดีพีโต 3 %

ด้วยมติเห็นชอบ 482 เสียง ต่อ 165 เสียง งดออกเสียง 81 เสียง ไม่ลงคะแนน 19 เสียง ทั้งนี้ สว.ที่โหวตให้นายเศรษฐา ส่วนใหญ่เป็น สว.ในสาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รักษาการนายกฯ ในขณะนั้น

การออกโรงเปิดเกม สว.พร้อมเปิดอภิปรายรัฐบาลตามมาตรา 153 หนีไม่พ้นนายกิตติศักดิ์ รัตนวาหะ หนึ่งใน สว.ตัวตึง ที่ไม่ได้ไปร่วมโหวตเมื่อวันที่ 22 ส.ค. ประเด็นหลักคืออ้างว่า ไม่มีผลงานที่จับต้องได้เลยตลอด 4 เดือน

และเรื่องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในฐานะผู้ต้องขังเด็ดขาด ที่ยังนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลต่อเนื่องเกินกว่า 120 วันแล้ว

ก่อนมีเสียงขานรับด้วยกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา ที่เกาะกลุ่มเหนียวแน่นมาตลอด นำโดยนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกมธ.

ล่าสุดในการประชุม กมธ.ชุดดังกล่าว เห็นชอบให้ยื่นญัตติต่อประธานวุฒิสภา และจะเริ่มเปิดให้ สว.ร่วมลงชื่อรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 84 คน ตั้งแต่ 9 ม.ค.เป็นต้นไป

คาดว่าช่วงเหมาะสมเปิดอภิปรายคือเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2567 ส่วนหัวข้ออภิปรายรัฐบาลมีทั้งเรื่องกระบวนการยุติธรรมที่บังคับใช้กฎหมายไม่เท่าเทียม เรื่องดิจิทัลวอลเล็ตที่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ระบุว่า ได้รับคำตอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วว่า เป็นอำนาจของรัฐบาล เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงเรื่องเศรษฐกิจแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน ที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้

อ่านข่าว : เปิดประวัติ ว่าที่ เลขาฯ สมช. คนใหม่ "พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์"

ถือเป็นการอุ่นเครื่องของ สว. แต่ยังต้องลุ้นก่อนว่า จะทำสำเร็จ ได้เปิดอภิปรายจริงหรือไม่ เพราะปัจจัยสำคัญฯ คือต้องมี สว.ร่วมลงชื่อไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 หรือ 84 คน

ต้องถามใจ สว.ส่วนใหญ่ ซึ่งเดิมอยูในสายของ พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และมีส่วนสำคัญที่ทำให้การตั้งรัฐบาลของนายเศรษฐา ประสบความสำเร็จได้ และส่งพรรครวมไทยสร้างชาติ เข้าไปเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลเป็นพรรคแรกๆ

แล้วจะไฟเขียวให้มีการซักฟอกรัฐบาลนายเศรษฐาด้วยหรือไม่ ขณะที่ส.ว.อีกส่วนหนึ่งหวังจะได้ไปต่อบนเส้นทางสายการเมือง ก็อาจไม่สนับสนุนแนวทางนี้อาจจะมีอยู่ไม่น้อย

จึงเป็นเรื่องที่ต้องลุ้นกันต่ออีกหนึ่งยก

วิเคราะห์ : ประจักษ์ มะวงศ์สา

อ่านข่าวอื่น

ส่ง “รอย อิงคโรจน์” สู่ สมช. ดัน “ประจวบ วงศ์สุข” ชิง ผบ.ตร.คนใหม่

คิกออฟ "เงินดิจิทัล 10,000 บาท " กฤษฎีกาไฟเขียวให้กู้ 5 แสนล้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง