ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

น้ำท่วม 5 จังหวัดภาคใต้ รพ.ปิด 10 แห่ง สธ.เตรียมยา เวชภัณฑ์ ทีมแพทย์รับมือ

ภัยพิบัติ
26 ธ.ค. 66
19:34
1,093
Logo Thai PBS
น้ำท่วม 5 จังหวัดภาคใต้ รพ.ปิด 10 แห่ง สธ.เตรียมยา เวชภัณฑ์ ทีมแพทย์รับมือ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รมว.สาธารณสุข ติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมภาคใต้อย่างใกล้ชิด เผย แนวโน้มลดลงทั้ง 5 จังหวัด มีผู้เสียชีวิตจากจมน้ำที่ยะลา 1 คน บาดเจ็บ 1 คน ส่วนกลางสนับสนุนยาช่วยเหลือแล้ว 4,200 ชุด ย้ำเฝ้าระวังต่อเนื่อง 28-29 ธ.ค.นี้

วันนี้ (26 ธ.ค.2566) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองสาธารณสุขฉุกเฉินถึงสถานการณ์วาตภัย อุทกภัย และดินโคลนถล่ม พื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 22-26 ธ.ค.2566 พบว่า

ยังคงมีสถานการณ์ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ สตูล โดยแนวโน้มลดลงทุกจังหวัด มีประชาชนได้รับผลกระทบรวม 18,402 ครัวเรือน

อ่านข่าว : "เศรษฐา" ลุยน้ำท่วม "ระแงะ" ชี้น้ำมาเร็ว-ยังวางใจไม่ได้

เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิต 1 คน จากการจมน้ำที่ จ.ยะลา และบาดเจ็บอีก 1 คน ส่วนสถานบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบสะสม 12 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาล 2 แห่ง สาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9 แห่ง กระจายอยู่ในนราธิวาส และ ยะลา จังหวัดละ 6 แห่ง ในจำนวนนี้ยังคงปิดให้บริการ 10 แห่ง

เบื้องต้นส่วนกลางสนับสนุนยาช่วยเหลือผู้ประสบภัย 8 รายการ จำนวน 4,200 ชุด ทั้งนี้ ได้กำชับให้ทั้ง 5 จังหวัดเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ในช่วงวันที่ 28 - 29 ธ.ค.นี้ด้วย

กระทรวงสาธารณสุข มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ใน 2 จังหวัด คือ ยะลา และ นราธิวาส แล้ว ซึ่งเราพร้อมให้ความช่วยเหลือและดูแลประชาชนที่ประสบอุทกภัยในมิติด้านสุขภาพอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วมด้วย

อ่านข่าว : พบ 2 ศพน้ำท่วมนราธิวาส-ปภ.สรุป 5 จังหวัดใต้อ่วม

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการรับมือในเรื่องนี้ ได้ย้ำกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้บริหารสถานบริการทุกแห่ง ในช่วงก่อนหรือขณะเกิดเหตุอุทกภัย ให้ติดตามสถานการณ์ จัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ เตรียมทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ให้บริการระหว่างเกิดสถานการณ์ และจัดทำแผนรองรับสถานการณ์ต่างๆ ไว้ให้พร้อม

ส่วนหลังอุทกภัยให้เร่งสำรวจประเมินความเสียหายของสถานพยาบาลที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสถานพยาบาลที่ปิดบริการและเปิดบริการบางส่วน เฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากการเกิดน้ำท่วมขัง เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคผิวหนังจากเชื้อรา และเฝ้าระวังฟื้นฟูด้านสภาพจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ เช่น อาการของโรคเครียดรุนแรง หรือโรค PTSD ความเครียดและวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

"ฝนนราธิวาส" ทุบสถิติรอบ 68 ปี 651 มม.อีก 2 วันเริ่มซา

ประมวลภาพ! น้ำท่วมตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส

ทหารเรือเร่งช่วยผู้ป่วยติดเตียงหนีน้ำท่วม ที่สุไหงโก-ลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง