...ผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์และคำเบิกความของพยานผู้เชี่ยวชาญปรากฏว่า เส้นผม 1 เส้น ที่ตกอยู่ในรถยนต์ของจำเลยที่ 1 องศาของรอยตัด หน้าตัด และพื้นผิวด้านข้าง ตรงกันกับเส้นผมผู้ตาย 2 เส้น ซึ่งตรวจเก็บได้จากบริเวณที่พบศพผู้ตาย เส้นผมทั้ง 3 เส้น ดังกล่าว จึงถูกตัดในคราวเดียวกัน ด้วยวัตถุของแข็งมีคมชนิดเดียวกัน
...เชื่อว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ของแข็งมีคมตัดเส้นผมผู้ตาย แต่ด้วยเหตุที่เส้นผมมีขนาดเล็กมาก จำเลยที่ 1 จึงไม่สังเกตว่ามีเส้นผมผู้ตายเส้นหนึ่งตกอยู่ในรถยนต์ของตน...ตอนหนึ่งของคำพิพากษาศาลจังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2566
น้องชมพู่
คดีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 หลังเกิดเหตุตำรวจและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สืบหาพยานหลักฐานในคดีจนสามารถนำไปสู่การส่งฟ้องผู้ต้องหา คือ "ลุงพล" จำเลยที่ 1 และ "ป้าแต๋น" น.ส. สมพร หลาบโพธิ์ จำเลยที่ 2 โดยใช้เวลาในการพิจารณานานถึง 3 ปี
อ่านข่าว : คำพิพากษาฉบับเต็ม เส้นผม-มือถือ มัดคุก 20 ปี "ลุงพล" คดี "ชมพู่"
แต่สุดทางของคดีฆาตกรรม "น้องชมพู่" วันนี้ คือ ศาลมีคำสั่งจำคุก "ลุงพล" หรือ ไชย์พล 20 ปี และยกฟ้อง "ป้าแต๋น" หรือ น.ส.สมพร เนื่องจากตรวจหาดีเอ็นเอจากเส้นผมไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ แต่ชี้ได้เพียงว่าเป็นเส้นผมที่อยู่ในสายมารดาเดียวกับผู้ตาย จึงไม่จำเป็นว่าจะเป็นเส้นผมของ "ป้าแต๋น" หรือ น.ส.สมพร เพียงผู้เดียว
นายไชย์พล วิภา วันที่ 20 ธ.ค.66
รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล รองอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต อธิบายว่า คดีดังกล่าวเป็นการฆาตกรรมที่มีลักษณะเหมือนฆาตกรรมอำพราง โดยเสียชีวิตเป็นเด็กอายุเพียง 3 ขวบ ประกอบกับถูกกระทำโดยบุคคลใกล้ชิด และจุดที่พบศพอยู่ในป่า ซึ่งยากมากที่จะมีพยานบุคคลรู้เห็นการจะอาศัยเทคโนโลยีที่ใช้บ่อยๆ คือ กล้องวงจรปิดก็ยาก ตั้งแต่จุดจากบ้านที่เด็กหายไปจนถึงบริเวณที่มีการพบศพ
ดังนั้นจึงต้องอาศัยหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ คือ พยานบุคคล พยานแวดล้อมเท่าที่มี อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าคดีนี้เป็นอีก 1 คดี ทางตำรวจและพนักงานอัยการทำงานกันอย่างหนักมาก และหลักฐานในประทุกประเด็น ซึ่งอยู่ในมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีค่อนข้างจะครอบคลุมในทุกประเด็นอยู่พอสมควร
ภาพจำลองจุดพบศพ น้องชมพู่
เส้นผมที่พบ ถือว่า เป็นพยานหลักฐานสำคัญ เพราะหากคนทั่วไปมอง เส้นผมทั่วไปด้วยตาเปล่าอาจจะไม่ได้สังเกต เพราะมองไม่เห็นว่าลักษณะการตัด หรือหน้าตัดของผมเป็นอย่างไร แต่ทางผู้เชี่ยวชาญจะมีอุปกรณ์และมีเทคนิคในการตรวจพิสูจน์ลักษณะการตัดของเส้นผมที่พบในจุดที่เกิดเหตุจากศพ และเส้นผมที่พบในรถของลุงพล จำเลยในคดีนี้
คำพิพากษาของศาลชี้ว่า ลักษณะการตัดและหน้าตัดสอดคล้องกับเส้นผมที่ตัดจากศพ ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เพราะหากคนเราไม่เกี่ยวข้องกัน อยู่ดีๆ ผมของเด็กจะไปอยู่บนรถได้อย่างไร แม้จำเลยอาจจะอ้างว่าเป็นลุง เป็นคนใกล้ชิด แต่เส้นผมที่ถูกตัดออกไป โดยเฉพาะลักษณะหน้าตัดอย่างนี้ คือ พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการไขคดี
ศาลให้ประกัน "ลุงพล" 780,000 บาท-อุทธรณ์ภายใน 30 วัน
ศาลสั่งจำคุก "ลุงพล" 20 ปี คดี "น้องชมพู่" ยกฟ้อง "ป้าแต๋น"
คำพิพากษาฉบับเต็ม เส้นผม-มือถือ มัดคุก 20 ปี "ลุงพล" คดี "ชมพู่"
บ้านกกกอก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวว่า เหตุที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้เวลานานเกือบ 3 ปี ในการคลี่คลายคดีน้องชมพู่ เนื่องจากพยานมีหลายปาก และเป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจ และสื่อได้มีการติดตามมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสืบพยานต้องใช้เวลา ผู้พิพากษาต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาสำนวนคดี โดยมีผู้พิพากษาผู้ใหญ่ระดับอธิบดีภาคเข้ามาช่วยในการตรวจสำนวน จึงทำให้คำพิพากษามีความรัดกุมมาก จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า จำเลยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีดังกล่าวตามข้อกล่าวหาที่โจทก์ตั้งมามากน้อยเพียงใด
แน่นอน ไม่มีใครเห็นว่า มีการนำและมีการทำร้ายน้องชมพู่ ไปเสียชีวิตหรือไม่ ดังนั้นการทำคดีของตำรวจจึงต้องอาศัยพยานหลักฐานทั้งหมดเท่าที่มี
นักวิชาการด้านอาชญาวิทยา ตั้งข้อสังเกตว่า คดีการเสียชีวิตของน้องชมพู่ ต่างจากคดีทั่วไป คือ มีปรากฏการณ์สร้างผู้ต้องหาให้กลายเป็นคนดัง จึงอยากให้สังคมควรแยกแยะระหว่างคนที่ทำในสิ่งไม่ถูกต้อง แม้ว่าจะอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นตำรวจ อัยการและศาล
ดังนั้นควรให้ความสนใจว่า เขาคือ จำเลยและผู้ต้องหา ไม่ใช่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ ฮีโร จะเห็นว่าคดีน้องชมพู่ อาจมีคนส่วนหนึ่งนำมาสร้างกระแส ด้วยการนำผู้ต้องหาหรือจำเลย ไปเป็นนักแสดง นักร้อง หรืออะไรตาม ซึ่งสังคมไทยควรหันมาทบทวนในประเด็นเหล่านี้ว่ากำลังจะสร้างตัวตน ให้ผู้ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาให้กลายเป็นฮีโร ซึ่งผิดจากหลักความจริง
อ่านข่าว : "ผู้การแต้ม" ฟันธง "ลุงพล" ถูกมัดด้วยเส้นผม "น้องชมพู่"
นายไชย์พล วิภา วันที่ 20 ธ.ค.66
"ไม่เช่นนั้น เด็ก เยาวชน จะเห็นว่า การที่มีคนกระทำในลักษณะนี้หรือทำอะไรก็ตาม แต่วันหนึ่งหากสื่อหรือสังคมให้ความสนใจ จะทำอะไรก็ได้ สามารถสร้างรายได้ก็ได้ ทั้งที่มีเบื้องหลังพัวพันกับสิ่งไม่ถูกต้อง จึงต้องแยกกัน แล้วอย่าอาศัยผลประโยชน์หรือสร้างกระแสเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง"
แม้คดีดังกล่าวผู้ต้องหามีสิทธิยื่นประกันตัว และตามขั้นตอนกว่าคดีจะสิ้นสุดยังต้องรอพิสูจน์ในชั้นศาลอุทธรณ์และชั้นฎีกา ซึ่งพยานหลักฐานของตำรวจและการนำสืบในศาลชั้นต้นเชื่อว่าการทำคดีมีความรัดกุมอยู่พอสมควร จึงต้องติดตามกันต่อไป
อ่านข่าวอื่น ๆ
"สมศักดิ์" แจงชัด "ทักษิณ" เข้าข่ายขังนอกคุก ชี้ไม่ใช่นักโทษอุกฉกรรจ์
"ดีเอสไอ" บุกโกดังขายสินค้าออนไลน์ พบเครื่องใช้ไฟฟ้า 18 รายการ ไม่มี มอก.
"บิ๊กต่อ" เผย "วิน" รับสารภาพยิง "นศ.อุเทนฯ-ครูเจี๊ยบ" เดินหน้าทำลายทั้งเครือข่าย