ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ใช้จ่ายไม่คึกคัก หวั่นเกิดเงินฝืด จี้รัฐกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน

เศรษฐกิจ
7 ธ.ค. 66
16:01
659
Logo Thai PBS
 ใช้จ่ายไม่คึกคัก หวั่นเกิดเงินฝืด จี้รัฐกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ม.หอการค้าฯ เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค พ.ย. ปรับตัวดีขึ้น สูงสุดในรอบ 45 เดือน แต่ยังมีปัจจัยลบรุม เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงคราม เงินเฟ้อ จับจ่ายใช้สอยไม่คึกคักซึมทั้งประเทศ หวั่นเกิดภาวะเงินฝืด เร่งรัฐต้องกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเร็ว

วันนี้ (7 ธ.ค.2566) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค พบว่าผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามในตะวันออกกลางที่อาจยืดเยื้อบานปลาย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่อาจเพิ่มแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก กระทบการส่งออกของไทย ทำให้การส่งออกในช่วงนี้หดตัวลงและมีผลกระทบในเชิงลบต่อกำลังซื้อของประชาชนในทุกภูมิภาค สะท้อนให้เห็นภาพว่าขณะนี้การจับจ่ายใช้สอยไม่คึกคัก ซึมทั้งประเทศ เพราะมันมีหลายปัจจัยลบ

GDP ปีนี้ โตอยู่ที่ 3-3.5% หากเรื่องลงทุน ท่องเที่ยวเป็นไปตามคาด และเบิกจ่ายของรัฐ ที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจในปี 2567 จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในทุกโครงการ ถ้างบประมาณมันเดินไปตามกรอบก็จะเป็นอีกปัจจัยที่อาจทำให้เศรษฐกิจโต กว่าที่คาดการณ์ไว้

อ่านข่าว:รัฐลดค่าครองชีพ ฉุดเงินเฟ้อ พ.ย. ลบ 0.44% ต่ำสุด 33 เดือน

นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า ถ้ามองตอนนี้ คือ เศรษฐกิจมีความน่ากังวล เห็นได้จากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคแม้จะไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังอยู่ในแดนลบต่อเนื่อง ผู้บริโภคระวังการจับจ่ายใช้สอย ดัชนีรายได้ในอนาคตก็ไม่ดี มันเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจซึม มีหลายอย่างกำลังบ่งชี้ว่าเงินกำลังฝืด รัฐต้องเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วที่สุดในช่วงปลายปี และไตรมาส 1/2567

ทั้งนี้ผลสำรวจในเดือนพ.ย. 2566 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่น หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาล และรัฐบาลจัดทำนโยบายลดค่าครองชีพ โดยลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมัน มีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ

นอกจากนี้ ผู้บริโภคเห็นว่าการเมืองไทยจะมีเสถียรภาพมากขึ้น ความขัดแย้งทางการเมืองน่าจะคลี่คลายลง จึงส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ

ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะกังวลการเมืองในประเทศ ราคาพลังงาน ค่าครองชีพที่ทรงตัว ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยง ซึ่งส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้า ทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง

อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้า ค่าครองชีพสูง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยและทั่วโลก ตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน และอิสราเอลกับฮามาสในปาเลสไตน์อาจยืดเยื้อส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังคงมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้

อ่านข่าว:

“เวียดนาม” แชมป์ข้าวโลกปี 66 ผู้ส่งออกข้าวเผยไทยไม่ส่งประกวด

ไทย “ส่งออกข้าว” พุ่ง หลังอินโดฯขาดแคลนข้าว-ภัยแล้งซ้ำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง