ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โบราณวัตถุสะท้อนความสำคัญและรุ่งเรืองในอดีต “ล้านนา”

ภูมิภาค
6 พ.ย. 66
09:58
2,892
Logo Thai PBS
โบราณวัตถุสะท้อนความสำคัญและรุ่งเรืองในอดีต “ล้านนา”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“ล้านนา” ดินแดนภาคเหนือมีเคยศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ “เมืองฮอด” ในอดีต หนึ่งเมืองชุมทางการค้าสำคัญ หลังการขุดค้นโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. 2502 ทำให้พบโบราณวัตถุจำนวนมากสะท้อนความสำคัญและรุ่งเรืองในอดีต

ในล้านนาปรากฏหลักฐานโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีศรัทธาอันแรงกล้าสร้างอุทิศสิ่งของไว้เป็นพุทธบูชาและค้ำจุนพระพุทธศาสนา

การสร้างวัดมีมาตลอดเวลา ส่งผลต่อมรดกวัฒนธรรม เช่น จิตรกรรม, ประติมากรรม, สถาปัตยกรรม, ภาษา, วรรณกรรม เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นคติความเชื่อที่มีต่อพระพุทธศาสนาและมุ่งสู่พระนิพพาน

การกัลปนาสิ่งของต่างๆ ไปให้ผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วมีหลายประเภท เช่น กัลปนาข้าทาสบริวารและผู้คนรับใช้พุทธศาสนา หรือ กัลปนาที่ดิน การกัลปนาสิ่งของมีค่าต่างๆ

ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อของอัตรธาตุด้วย คือ ความเชื่อเรื่องพระธาตุที่อุทิศให้พระพุทธศาสนาจะอยู่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อสิ้นพระพุทธศาสนา ทุกอย่างจะสิ้นสูญจนกว่าจะมีการเกิดขึ้นใหม่ของพุทธศาสนาอีกครั้ง

โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการขุดพบการขุดค้นทางโบราณคดีเหนือเขื่อนภูมิพล อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เมื่อปี 2502-2504

ทีมข่าวศูนย์ภาคเหนือจะพาชมโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ขุดค้นพบและจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร

“เสาตุงและตุง” ทำจากตุงเหล็กและตุงทอง ชาวล้านนาเชื่อว่า การถวายตุงได้รับอานิสงส์หลุดพ้นทุกขเวทนา และไปจุติบนสวรรค์

“เสาตุงและตุง” ทำจากตุงเหล็กและตุงทอง ชาวล้านนาเชื่อว่า การถวายตุงได้รับอานิสงส์หลุดพ้นทุกขเวทนา และไปจุติบนสวรรค์

“เสาตุงและตุง” ทำจากตุงเหล็กและตุงทอง ชาวล้านนาเชื่อว่า การถวายตุงได้รับอานิสงส์หลุดพ้นทุกขเวทนา และไปจุติบนสวรรค์

เครื่องราชูปโภคจำลองสร้างขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา พระพุทธเจ้าทรงมีเชื่อสายกษัตริย์ หากมิได้เสด็จผนวชก็จะเป็นมหาจักรพรรดิราชา จึงสร้างเครื่องราชูปโภคใช้กับกษัตริย์ไว้ในเจดีย์

บัลลังก์จำลอง หรือ อาสนะ หรือ ราชอาสน์ พร้อมเครื่องสูงสำหรับกษัตริย์เป็นเครื่องสักการะ ประกอบด้วยบัลลังก์ หรือพระแท่นบรรทม ฉัตร แส้ บังสูรย์ พัดใบตาล มีรองพระบาท (รองเท้า)

พุ่มเครื่องบูชาจำลอง ทำจากชินชุบทอง ส่วนล่างเป็นพาน ฉลุโปร่งลายบรรณพฤกษา ด้านบนมีวัตถุกลมครึ่งซีกคล้ายดอกไม้ หรือหมากเรียงซ้อนกัน

พุ่มเครื่องบูชาจำลอง ทำจากชินชุบทอง ส่วนล่างเป็นพาน ฉลุโปร่งลายบรรณพฤกษา ด้านบนมีวัตถุกลมครึ่งซีกคล้ายดอกไม้ หรือหมากเรียงซ้อนกัน

พุ่มเครื่องบูชาจำลอง ทำจากชินชุบทอง ส่วนล่างเป็นพาน ฉลุโปร่งลายบรรณพฤกษา ด้านบนมีวัตถุกลมครึ่งซีกคล้ายดอกไม้ หรือหมากเรียงซ้อนกัน

พุ่มเครื่องบูชาจำลอง ทำจากชินชุบทอง ส่วนล่างเป็นพาน ฉลุโปร่งลายบรรณพฤกษา ด้านบนมีวัตถุกลมครึ่งซีกคล้ายดอกไม้ หรือหมากเรียงซ้อนกัน

กลองสะบัดชัย เป็นกลองพื้นบ้านล้านนา เป็นกลอง 2 ลูก ผูกครึงติดอยู่ร่วมกับฆ้องโหม่งและไม้ตีกลอง ซึ่งกลองสะบัดชัยมี 3 ลูก จะเป็นผู้ใช้สามัญทั่วไป ส่วน 2 ใบจะเป็นของใช้ในพระราชในพระราชฐานใช้สำหรับบรรเลงประกอบสำอวด “เชิง”ในการประลองอาวุธกันบางครั้งเรียกว่า “สมัตถชัย”

เครื่องใช้จำลอง ทำจากเงิน ย่อให้มีขนาดเล็ก เช่น ถ้วย ถาด โถ แจกัน น้ำเต้า

เครื่องใช้จำลอง ทำจากเงิน ย่อให้มีขนาดเล็ก เช่น ถ้วย ถาด โถ แจกัน น้ำเต้า

เครื่องใช้จำลอง ทำจากเงิน ย่อให้มีขนาดเล็ก เช่น ถ้วย ถาด โถ แจกัน น้ำเต้า

ภาชนะสำหรับใส่พระธาตุ เช่น ผอบเงิน ตลับเงิน

ภาชนะสำหรับใส่พระธาตุ เช่น ผอบเงิน ตลับเงิน

ภาชนะสำหรับใส่พระธาตุ เช่น ผอบเงิน ตลับเงิน

ภายในโถงจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ห้องล้านนา ยังมีการจัดแสดงพระพุทธรูปศิลปะสกุลช่างในล้านนา เช่น เศียรพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พระพักต์กลม ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย ไม่มีพระรัศมี

เศียรพระพุทธรูป ศิลปะสกุลช่างพะเยา พระพักต์รูปไข่ ไม่มีขอบๆรพระศกเซาะพระเนตร และพระโอษฐ์เป็นร่อง พระขนงเป็นสันต่อเป็นรูปปีกกาแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย เม็ดพระศกเป็นรูปสี่เหลี่ยม ศิลปะพะเยาผสานล้านนา สุโขทัย อยุธยา จนเป็นศิลปะเฉพาะตัว

รวมถึงการจัดแสดงเส้นทางการค้า แหล่งเตาเผาในล้านนาให้ศึกษาด้วย

สำหรับใครอยากชมโบราณวัตถุล้านนาชิ้นสำคัญ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร เปิดเวลา 09.00-16.00 น. วันพุธ-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ยกเว้นเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์)

อัตราค่าเข้าชม คนไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป พระภิกษุ สามเณร นักบวชทุกศาสนาไม่เสียค่าเข้าชม

โกวิทย์ บุญธรรม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง