ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เตือนภัย เพจขาย "ลอตเตอรี่" ปลอม - เช็ก 7 ข้อก่อนซื้อออนไลน์

อาชญากรรม
6 พ.ย. 66
07:39
896
Logo Thai PBS
เตือนภัย เพจขาย "ลอตเตอรี่" ปลอม - เช็ก 7 ข้อก่อนซื้อออนไลน์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยเพจขาย "ลอตเตอรี่" ปลอมระบาดหนัก แนะ 7 ข้อควรรู้ก่อนซื้อของออนไลน์ เลี่ยงซื้อของไม่มีหน้าร้าน ดูยอดผู้ติดตาม ตรวจสอบประวัติก่อนโอนเงิน

วันนี้ (6 พ.ย.2566) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า กรณีข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผู้เสียหายถูกรางวัลจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือลอตเตอรี่ แต่ไม่ได้รับเงินรางวัล เนื่องจากภายหลังพบว่าถูกหลอกลวงให้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่านเพจเฟซบุ๊กปลอมของมิจฉาชีพ ซึ่งได้ถูกปลอมเป็นผู้ให้บริการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือลอตเตอรี่ออนไลน์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งนั้น

การหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นการหลอกลวงในรูปแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมามิจฉาชีพมักจะปลอมเพจเฟซบุ๊ก โดยใช้ชื่อเหมือน หรือใกล้เคียงกับเพจจริง แอบอ้างใช้สัญลักษณ์บริษัท หรือหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นเพจปลอมหลอกลวงขายสินค้า หรือบริการออนไลน์ เพจหน่วยงานราชการปลอม เพจบริษัทห้างร้านปลอม เพจสถาบันการเงินปลอม เพจที่พักปลอม

ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2565 – 25 ต.ค.66 มีประชาชนถูกหลอกลวงซื้อขายสินค้า และบริการออนไลน์ สูงเป็นลำดับที่ 1 กว่า 140,836 เรื่อง หรือ 40.27% ของจำนวนเรื่องการรับแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด และมีความเสียหายรวมกว่า 2,041 ล้านบาท

เช็ก 7 ข้อควรรู้ ก่อนซื้อของออนไลน์

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการใช้งาน หรือเข้าถึงบริการต่าง ๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างการติดต่อกับหน่วยงาน หรือร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ ควรตรวจสอบให้ดีว่าเป็นของหน่วยงาน หรือร้านค้านั้นจริงหรือไม่ และไม่หลงเชื่อง่าย ๆ โดยแนะนำแนวทางการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้

  • ระมัดระวังการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่ไม่มีหน้าร้าน ควรติดต่อซื้อจากบริษัท หรือตัวแทนจำหน่ายโดยตรง
  • หากจะซื้อสินค้าผ่านเพจเฟซบุ๊ก ต้องระมัดระวังเพจปลอม หรือเพจลอกเลียนแบบของมิจฉาชีพ โดยเพจจริงควรจะมีผู้ติดตามสูง บัญชีถูกสร้างขึ้นมานานแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนชื่อที่น่าสงสัย และมีรายละเอียดการติดต่อที่ชัดเจน สามารถโทรศัพท์ไปสอบถามได้
  • ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ ว่ามีการเปลี่ยนชื่อมาก่อนหรือไม่ ผู้จัดการเพจอยู่ในประเทศหรือไม่ หากไม่ได้อยู่ในประเทศอาจจะเป็นมิจฉาชีพ
  • ก่อนโอนชำระเงินค่าสินค้า ให้ตรวจสอบชื่อบัญชี และหมายเลขบัญชีธนาคารที่รับโอนเงิน ว่ามีประวัติไม่ดีหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ Google, Blacklistseller เป็นต้น ในกรณีนี้ควรโอนเงินชำระค่าสลากผ่านบัญชีบริษัทเท่านั้น หากเป็นชื่อบุคคลธรรมดาให้สันนิษฐานว่าเป็นบัญชีม้าของมิจฉาชีพ
  • หากให้โอนเงินไปเพิ่มเติม โดยอ้างว่าเป็นค่าธรรมเนียม ค่าภาษี หรือค่าใด ๆ ก็ตามให้สันนิษฐานว่าเป็นมิจฉาชีพ
  • ช่วยกันกดรายงานบัญชี หรือเพจในเฟซบุ๊กปลอม เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นหลงเชื่อ และตกเป็นผู้เสียหาย
  • หมั่นติดตามข่าวสารของทางราชการอยู่เสมอ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง